fbpx
Homeการตั้งครรภ์6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์ คุณแม่ต้องรู้ มาเทียบอายุครรภ์กันเลย

6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์ คุณแม่ต้องรู้ มาเทียบอายุครรภ์กันเลย

การตั้งครรภ์อีกหนึ่งขั้นของการก้าวไปสู่การเป็นคุณแม่เต็มตัว ว่าที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านมีการเปลี่ยนแปลงทั้งส่วนของร่างกายและส่วนของจิตใจในแต่ละช่วงเดือนของการตั้งครรภ์ที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ดังนั้นทั้งว่าที่คุณแม่ว่าที่คุณพ่อและคนรอบ ๆ ตัวของคุณแม่ก็จะต้องดูแลทั้งส่วนของร่างกายและส่วนของจิตใจของว่าที่คุณแม่ให้อยู่ในสภาวะอารมณ์ที่เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ และ ให้อยู่ในสภาวะร่างกายที่อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเดือนของการตั้งครรภ์ ส่วนหนึ่งที่มักเกิดความสับสนในว่าที่คุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่ที่เคยให้กำเนิดลูกน้อยบางท่านก็ยังคงมีความสับสนกันอยู่ก็คือ การนับอายุครรภ์ ส่วนที่เกิดความสับสนกันอย่างมากก็คือ อายุครรภ์กี่เดือนเท่ากับกี่สัปดาห์นั่นเอง โดยเฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของครรภ์คุณแม่มากที่สุดอย่างช่วง 6 เดือน บทความนี้เราจึงขอพาว่าที่คุณแม่ไปร่วมไขข้อสงสัยกันว่า 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์

เทียบอายุครรภ์ 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์

การเทียบ อายุครรภ์ หรือการนับอายุครรภ์ของคุณแม่ว่าอายุครรภ์ 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์นั้น คุณหมอหรือแพทย์ที่คุณแม่ทำการฝากครรภ์มักทำการเทียบอายุครรภ์โดยนับจากวันที่ทราบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่วมกับการตรวจการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของว่าที่คุณแม่ จากนั้นคุณหมอหรือแพทย์ที่ทำการฝากครรภ์จะทราบว่าคุณแม่มีอายุครรภ์เท่าไร โดยมากจึงมักเป็นการเทียบเคียงอายุครรภ์เป็นเดือนกับช่วงสัปดาห์อย่างช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์นั้น คุณหมอหรือแพทย์ที่ทำการฝากครรภ์ก็จะสามารถระบุหรือประมาณการณ์ได้เป็นช่วง คือ อายุครรภ์ 6 เดือนนั้นมักจะเท่ากับอายุครรภ์ 27 – 30 สัปดาห์นั่นเอง ซึ่งก็นับเป็นช่วงที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (ช่วงที่ 1 ของการตั้งครรภ์ คือ อายุครรภ์ 1 – 4 เดือน, ช่วงที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คือ อายุครรภ์ 5 – 7 เดือน และ ช่วงที่ 3 ของการตั้งครรภ์ คือ อายุครรภ์ 8 – 9 เดือน)

พัฒนาการทารกในครรภ์

เมื่อว่าที่คุณแม่ทราบแล้วว่า ช่วงอายุครรภ์ 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์แล้ว ถัดมาเราขอพาว่าที่คุณแม่ไปพบกับพัฒนาการของทารกน้อยในครรภ์ว่ามีพัฒนาการอย่างไรกันบ้าง

  • ทารกน้อยในครรภ์ที่สมบูรณ์จะมีความยาวของร่างกายตั้งแต่ 25 เซนติเมตร จนกระทั่งถึง 33 เซนติเมตร
  • ทารกน้อยในครรภ์ที่สมบูรณ์จะมีน้ำหนักของร่างกายตั้งแต่ 300 กรัม จนกระทั่งถึง 600 กรัม
  • ทารกน้อยในครรภ์เริ่มปรากฎขนอ่อนชนิดที่เรียกว่า Lanugo ขึ้นตามร่างกาย โดยขนอ่อนชนิดนี้ของทารกจะมีลักษณะอ่อนนุ่มตามชื่อ และมีสีจาง ขนอ่อนที่เรียกว่า Lanugo นี้เป็นขนอ่อนชนิดแรกที่เกิดขึ้นจากรากขนของทารกในครรภ์ของคุณแม่ และขนอ่อนชนิดนี้จะหลุดร่วงหายไปเองเมื่อทารกมีอายุ 7 – 8 เดือน แต่ในทารกบางรายขนอ่อนก็มักติดตัวทารกออกมาตอนคลอดด้วยหรือในทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็จะมีเส้นขนชนิดนี้ติดตามร่างกายของทารกออกมาตอนคลอด
  • ทารกจะปรากฏอย่างชัดเจนเมื่อตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง

การดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่

ในช่วงเดือน 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์ที่ได้คำตอบกันไปแล้วนั้นว่าเท่ากับ 27 – 30 สัปดาห์ ว่าที่คุณแม่เองก็ต้องมีการดูแลตัวเองที่เฉพาะไม่ว่าจะเป็น

  1. การรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามโภชนาการเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ในช่วง 6 เดือนนี้ว่าคุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากถึงสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัมกันเลยทีเดียว
  2. การดื่มนมหรือรับประทานอาหารเสริมประเภทแคลเซียม เพราะในช่วงของการตั้งครรภ์ 6 เดือนคุณแม่จะเป็นตะคริวได้ง่าย การมีแคลเซียมในร่างกายที่เพียงพอจะช่วยลดโอกาสการเกิดตะคริวในว่าที่คุณแม่ได้ด้วย
  3. การฝึกการขับถ่ายและการรับประทานอาหารหรือการดื่มเครื่องดื่มประเภทกากใยไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ เพราะช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนนี้ น้ำหนักลูกน้อยในครรภ์จะเพิ่มขึ้นแล้วไปกดทับในส่วนของอวัยวะภายในช่องท้อง หนึ่งในนั้นก็คืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่าย ทำให้คุณแม่ขับถ่ายได้ยากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นโรคริดสีดวงทวารได้
  4. การเปลี่ยนอิริยาบทไม่ว่าจะเป็นการนั่ง เดิน นอน คุณแม่ควรค่อย ๆ เปลี่ยนแบบไม่เร่งรีบจนเกินไป อย่างการเปลี่ยนอิริยาบทจากนอนไปเป็นเดินก็ควรพักด้วยการนั่งก่อน ทั้งนี้การเปลี่ยนอิริยาบทในช่วง 6 เดือน อาจเกิดการเสียดท้องในว่าที่คุณแม่ได้

เราจะพบว่าในทุกช่วงของการตั้งครรภ์นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องค่อย ๆ เรียนรู้และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านจึงยังคงมีคำถามเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นี้ไม่ว่าจะเป็น การนับอายุครรภ์ในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์ และเมื่อว่าที่คุณแม่ทราบแล้วว่าอายุครรภ์ 6 เดือน เท่ากับกี่สัปดาห์แล้ว คุณแม่ก็จะทราบได้ถึงพัฒนาการของทารกน้อยในครรภ์และสามารถดูแลตนเองได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ในส่วนนี้ไม่ว่าจะเป็นว่าที่คุณแม่หรือคนรอบข้างคุณแม่ก็ควรดูแลคุณแม่ให้อยู่ในสภาพอารมณ์ จิตใจ และร่างกายที่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์เป็นอย่างมาก

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular