fbpx
Homeการเลี้ยงลูกการดูแลสุขภาพเด็ก5 วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด ทำยังไงให้ไข้ลดเร็ว ไม่เสี่ยงช็อค

5 วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด ทำยังไงให้ไข้ลดเร็ว ไม่เสี่ยงช็อค

การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องที่ทุกท่านไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง และคนที่ตนรักอย่างแน่นอน และยิ่งไม่อยากให้เกิดกับลูกน้อยของตน แต่หากเกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยในลูกน้อยขึ้นแล้วก็คงจะนำมาซึ่งความไม่สบายกายของลูกน้อยและความไม่สบายใจของคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก โดยในส่วนของบทความนี้เราก็จะมาขอเจาะลึกกันกับอาการไข้ที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิด รวมไปถึง 5 วิธีลดไข้ทารกแรกเกิดที่ได้ผลเร็ว ไม่เสี่ยงต่อสภาวะช็อคที่จะเกิดขึ้นในลูกน้อยได้

แนะนำ 5 วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด ให้หายป่วยเร็วขึ้น

เราขอเริ่มต้นบทความด้วย 5 วิธีลดไข้ทารกแรกเกิดที่ทุกครอบครัวสามารถนำไปปรับใช้ได้

1.การให้ลูกน้อยรับประทานหรือดื่มยาลดไข้เข้าไป วิธีแรกนี้จะเป็นวิธีลดไข้ เร็วที่สุดซึ่งได้ผลดีเป็นอย่างมาก โดยยาลดไข้ที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกน้อยรับประทานหรือดื่มนี้ก็สามารถให้ยาได้โดยตรงหรือให้ยาผสมกับนมได้ด้วย อีกจุดสำคัญสำหรับวิธีลดไข้ เร็วที่สุดวิธีนี้ก็คือยาลดไข้ที่ใช้ต้องเป็นยาลดไข้สำหรับทารกเท่านั้น ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากปริมาณยาที่ใช้ในเด็กและผู้ใหญ่จะไม่เท่ากัน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนำยาลดไข้ของผู้ใหญ่ไปป้อนให้กับเด็กทารกเป็นอันขาด

2.การหมั่นเช็ดตัวให้กับลูกน้อย ซึ่งเป็นวิธีลดไข้ทารกแรกเกิดที่คุณพ่อคุณแม่ในเกือบทุกครอบครัวเลือกใช้เพราะวิธีการลดไข้ทารกวิธีนี้เป็นวิธีลดไข้ เร็วที่สุดเป็นอันดับสองเลยก็ว่าได้ โดยน้ำที่ใช้ในการเช็ดตัวให้กับลูกน้อยควรเป็นน้ำอุ่น ๆ ไม่ใช่น้ำเย็น เพราะน้ำเย็นจะทำให้ทารกหนาวสั่นแล้วทำให้อาการไข้ที่เกิดขึ้นทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก

3.จัดเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายให้กับลูกน้อย ซึ่งป็นวิธีลดไข้ทารกแรกเกิดที่คุณแม่ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนลูกน้อยเกิดความอึดอัด หรือ เป็นเสื้อผ้าที่มีความบางหรือหลวมจนเกินไปเพราะจะทำให้ผิวของทารกสัมผัสกับอากาศรอบ ๆ ตัว ซึ่งในบางครั้งก็ทำให้อาการไข้ของทารกมีอุณหภูมิสูงขึ้นไปอีก ส่วนของเสื้อผ้านี้ควรเป็นแบบผูกเชือกเพื่อประหยัดเวลาในการผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ส่วนนี้ก็จะช่วยให้ทารกสัมผัสกับอากาศภายนอกขณะเปลี่ยนเสื้อผ้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รวมไปถึงการต้องเลือกเนื้อผ้าสำหรับทารกที่มีความนุ่มละมุนพร้อมการระบายอากาศ เพราะเมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ร่างกายย่อมต้องลดอุณหภูมิด้วยการหลั่งเหงื่อด้วยกันทั้งสิ้น หากเหงื่อไม่สามารถระบายออกไปนอกเสื้อผ้าได้ก็จะทำให้ทารกเกิดอาการเหนียวตัวได้อีกด้วย

4.การจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวของลูกน้อยให้มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีลดไข้ทารกแรกเกิดที่คุณแม่ต้องปรับทั้งส่วนของแสงและส่วนของอุณหภูมิ ซึ่งล้วนมีผลต่ออุณหภูมิของร่างกายไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือทารกก็ตาม

5.การให้ทารกดื่มน้ำหรือน้ำนมแม่ในปริมาณที่มากหน่อย กับวิธีลดไข้ทารกแรกเกิดด้วยการแทนที่น้ำ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเมื่อร่างกายมีอุณภูมิที่สูงขึ้น ย่อมมีการขับอุณหภูมิเหล่านั้นออกมาในรูปแบบของเหงื่อซึ่งเป็นน้ำ คุณแม่จึงต้องเติมน้ำให้กับร่างกายของลูกน้อยซึ่งสูญเสียไปในรูปแบบของเหงื่อ

ลูกไข้สูงแค่ไหนต้องระวัง

เมื่อเราได้ทราบกันแล้วว่าวิธีลดไข้ทารกแรกเกิดสามารถทำได้อย่างไรบ้างจากหัวข้อก่อนหน้า ถัดมาเราก็ขอพาคุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่สามารถนิยามคำว่าไข้สูงของลูกน้อยมาไขข้อข้องใจตรงจุดนี้กัน โดยไข้สูงในเด็กนั้นจะมีอุณหภูมิของร่างกายที่มากกว่า 38.5 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นจุดที่ต้องระวังนั่นเอง

อาการแบบไหนเสี่ยงช็อก รีบหาหมอด่วน

ร่างกายเด็กทารกจะมีความแตกต่างกับร่างกายของผู้ใหญ่ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเด็กทารกจะมีความบอบบาง รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ของร่างกายก็ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นในส่วนของการเป็นไข้เองนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเฝ้าระวังด้วย เพราะอาการไข้ของเด็กทารกเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการช็อคได้ โดยอาการที่เสี่ยงต่อการช็อคในเด็กทารกมีดังนี้

  • ลูกน้อยมีอาการชักเกร็งที่เกิดขณะที่เป็นไข้ร่วมด้วย
  • ลูกน้อยเป็นไข้ ร่วมด้วยการมีอาการอาเจียนหรืออาการอุจจาระ
  • ลูกน้อยมีริมฝีปากที่เขียวคล้ำ มีหน้าผากที่ร้อน (มีอุณหภูมิที่สูง) แต่มีมือและเท้าที่เย็นจัด
  • ลูกน้อยมีอาการร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ลูกน้อยมีน้ำลายฟูมปาก ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายอย่างมากหากเกิดขึ้นกับเด็กทารก

จากบทความข้างต้นคงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ในทุกครอบครัวมีวิธีรับมือกับอาการไข้ของลูกน้อยจากเทคนิคเคล็ดลับถึง 5 วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด ที่เราได้แนะนำไว้ในบทความ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ยังสามารถแยกในส่วนของอาการไข้ธรรมดาและอาการไข้ที่เสี่ยงต่อสภาวะช็อคซึ่งนับเป็นสภาวะที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก เมื่อคุณพ่อคุณแม่สามารถแยกอาการไข้ธรรมดากับอาการไข้ที่มีอันตรายสูงได้ก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปหาคุณหมอได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular