fbpx
Homeการเลี้ยงลูกการดูแลสุขภาพเด็กยาลดไข้สำหรับเด็ก พ่อแม่ควรทำความเข้าใจและใช้อย่างถูกวิธี

ยาลดไข้สำหรับเด็ก พ่อแม่ควรทำความเข้าใจและใช้อย่างถูกวิธี

เด็ก ๆ เมื่อป่วยขึ้นมามักจะมีอาการตัวร้อน หน้าแดง ตัวแดง เนื่องจากเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังขยายตัวเพื่อระบายความร้อน แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปลายมือปลายเท้าเย็นและซีด ซึ่งในบางครั้งการที่คุณพ่อคุณแม่เอามือแตะหน้าผากจึงไม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กกำลังมีไข้สูง ดังนั้น การวัดไข้เด็ก ควรใช้ปรอทวัดไข้เท่านั้น

วิธีลดไข้เด็ก

จุดประสงค์สำคัญของการลดไข้ คือ ทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวขึ้น อาการปวดศีรษะบรรเทาเบาบางลง ทำให้ลูกงอแงน้อยลง และสามารถนอนหลับพักผ่อนได้  และหากมีไข้สูงการลดไข้จะช่วยป้องกันการชักได้อีกทางหนึ่ง

การเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกวิธี

1.ลดไข้โดยการเช็ดผิวหนังโดยใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดา ห้ามใช้น้ำเย็นหรือแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่ผิวหนังหดตัว ระบายความร้อนออกไม่ได้

2.หากลูกมีอาการหนาวสั่นและไข้สูงมาก เวลาเช็ดตัวให้ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด แล้วคลุมส่วนที่ยังไม่ได้เช็ดด้วยผ้าห่มบาง ๆ

3.เช็ดย้อนทิศทางการไหลเวียนของเลือด ไม่จำเป็นต้องเช็ดผิวหนังแรง ๆ นะคะ เพราะการเช็ดตัวแรง ๆ ทำให้ลูกเจ็บและแสบผิวหนังอีกทั้งไม่ช่วยลดไข้แต่อย่างใด

4.เน้นเช็ดตามซอกคอ  ใบหน้า  ท้อง  ข้อพับแขน  ขาหนีบ  จะช่วยดึงความร้อนออกจากเส้นเลือดได้มาก

5.การใช้ผ้าเย็น หรือ เจลลดไข้ ไม่ได้ช่วยให้ไข้ลดลงแต่อย่างใด เพียงแต่ช่วยระบายความร้อนจากร่างกายเท่านั้น แต่มีประโยชน์ในเรื่องการบรรเทาอาการปวดศีรษะได้

ทำเข้าใจและใช้อย่างถูกวิธี ยาลดไข้สำหรับเด็ก

การทานยาลดไข้สำหรับเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจเพื่อจะใช้ได้อย่างถูกต้อง  ปกติแล้วในท้องตลาดยาลดไข้สำหรับเด็กมีหลากหลายยี่ห้อ แต่ตัวยาไม่แตกต่างกันมากนัก  ยาลดไข้มี 3 ประเภท คือ

1.พาราเซตามอล 

ขนาดยา 10 – 20 มิลลิกรัม / กิโลกรัม / ครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง  ไม่มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหารจึงรับประทานได้ขณะท้องว่าง ขนาดยาที่มากเกินไปเป็นพิษต่อตับ คำแนะนำที่เตือนว่าไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องเกิน 5 วัน เป็นการเตือนให้ผู้ใช้ยาควรพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของอาการไข้ จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

2.ไอบูโปรเฟน

หรือยาลดไข้สูง  ใช้ได้ในเด็กที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ขนาดยา 5 -10 มิลลิกรัม / กิโลกรัม / ครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง หากให้ยาพาราเซตามอลแล้วไข้ยังไม่ลด อาจเสริมยาไอบูโปรเฟนชนิดนี้ได้ในระหว่างมื้อยาของพาราเซตามอลในกรณีที่ยังไม่ครบ 4 ชั่วโมง จากการให้ยาพาราเซตามอลครั้งสุดท้าย  แต่ยาชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร ดังนั้น ไม่ควรให้ลูกกินยาในขณะที่ท้องว่าง และทำให้เลือดออกง่าย

3.แอสไพริน

มีผลข้างเคียงทำให้มีเลือดออกง่ายเหมือนยาไอบูโปรเฟน  และห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นโรคอีสุกอีใสหรือไข้หวัดใหญ่กินยาชนิดนี้ เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นกับระบบประสาทส่วนกลาง เช่น  สมองบวม  ไม่รู้สึกตัว ชัก และเกิดความผิดปกติของตับ  เซลล์ตับอักเสบเฉียบพลันและอาจเกิดตับวาย ทำให้เสียชีวิตได้

เมื่อทราบถึงวิธีการใช้ยาทั้ง 3 ชนิดแล้ว  ควรใช้ให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยนะคะ  ถึงอย่างไรหากลูกมีอาการเจ็บป่วย เป็นไข้  ทางที่ดีไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเพราะอาจเกิดการแพ้ยาบางชนิดได้

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular