การมาของประจำเดือนอีกหนึ่งก้าวที่บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสตรีเพศว่าพร้อมสำหรับช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยส่วนของการมาของประจำเดือนนี้ก็สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของสตรีเพศได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการมาอย่างต่อเนื่องไม่เคยขาด หรือ การมาแบบขาด ๆ หาย ๆ ในส่วนของปริมาณประจำเดือนในแต่ละครั้งที่มาก็สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพได้เช่นกันไม่ว่าปริมาณที่ปกติ ปริมาณที่มาก หรือ ประจำเดือนมานิดเดียว ซึ่งในบทความนี้เราจะขอพาสาว ๆ ทุกท่านไปร่วมสังเกตส่วนของปริมาณประจำเดือนว่าหากประจำเดือนมาน้อยนับเป็นสิ่งผิดปกติหรือไม่ หรือแบบไหนที่นับว่ามาน้อยแบบปกติ แบบไหนที่เรียกว่ามาน้อยแบบไม่ผิดปกติ
ประจำเดือนมานิดเดียว ผิดปกติหรือไม่
เริ่มแรกเราก็ขอพาสาว ๆ ไปทำความเข้าใจในส่วนของรอบเดือนกันก่อนเลย ซึ่งในปกติแล้วประจำเดือนของสาว ๆ จะมาครั้งละ 3 – 5 วัน และจะมีรอบการมาในทุก ๆ 21 – 35 วัน ในส่วนนี้นับเป็นสิ่งปกติที่พึงเกิดขึ้นกับสาว ๆ ทุกคน และในส่วนของปริมาณก็ควรเหมาะสมเท่า ๆ กันทุกเดือน ในส่วนนี้เราก็มีจุดสังเกตได้ว่าหากประจำเดือนมานิดเดียวจะหมายถึงการที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 2 วัน รวมถึงมีปริมาณของประจำเดือนที่ออกมาน้อยมาก ๆ อาจมาเพียงหยดเท่านั้น ในส่วนนี้สาว ๆ ควรศึกษาพฤติกรรมการมาประจำเดือนของตนก่อน จากนั้นหากพบว่าเข้าข่ายประจำเดือนมานิดเดียวก็ควรไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสำหรับสตรีเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย รวมถึงการรักษาที่ถูกต้อง โดยอาการประจำเดือนมาน้อยที่ผิดปกตินี้อาจเป็นการบ่งบอกส่วนของสุขภาพได้ ทั้งส่วนของความสมบูรณ์แข็งแรงของมดลูก สมดุลของระดับฮอร์โมนภายในร่างกายหรืออาจจะบ่งชี้ถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอก หรือ ก้อนซีส เป็นต้น
เพราะอะไรประจำเดือนจึงมานิดเดียว
ถัดมาเราก็มาพบกับสาเหตุของประจำเดือนมานิดเดียวที่เราได้รวบรวมไว้ให้แล้วในบทความ ดังนี้
- ช่วงวัยซึ่งเป็นสาเหตุแรก ๆ ของปริมาณประจำเดือนที่มาน้อยเลยก็ว่าได้ ในส่วนนี้จะพบมากในเพศหญิงในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือนคือช่วงวัย 55 – 60 ปี ที่มีปริมาณประจำเดือนลดลงจนถึงขั้นน้อยส่วนอีกช่วงวัยที่มีปริมาณประจำเดือนน้อยอีกเช่นกันก็คือ ช่วงวัยเริ่มมีประจำเดือนเพราะระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายยังไม่สมดุล ซึ่งก็รวมถึงระดับฮอร์โมนที่ควบคุมส่วนของประจำเดือนด้วย จึงทำให้ประจำเดือนมีปริมาณน้อยได้
- ความเครียดอีกหนึ่งปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก แต่ความเครียดจะมีผลโดยตรงต่อระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งควบคุมส่วนของการมาประจำเดือนแล้วทำให้ประจำเดือนมานิดเดียวได้
- การมีน้ำหนักที่มากหรือน้อยจนเกินไป ทำให้เกิดความผิดปกติภายในร่างกายส่งผลต่อปริมาณประจำเดือนได้
- การคุมกำเนิดซึ่งบางครั้งไปมีผลกระทบกับระดับฮอร์โมนภายในร่างกายของสาว ๆ จึงไปมีผลต่อปริมาณประจำเดือน
- การออกกำลังกายที่หักโหมภายในระยะเวลาที่น้อยจนเกินไป ทำให้ปริมาณประจำเดือนที่มามีความผิดปกติได้
- การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งยาที่รับประทานเข้าไปอาจไปส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศหญิง และส่งผลต่อความสมบูณณ์แข็งแรงของร่างกายได้
- การมีโรคประจำตัวบางชนิด อาทิเช่น โรคโลหิตจาง หรือ โรคเม็ดเลือดไม่สมบูรณ์ ซึ่งล้วนส่งผลให้ประจำเดือนมีปริมาณน้อยทั้งสิ้น
- การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานซึ่งสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่ล้วนส่งผลให้ปริมาณประจำเดือนน้อยกว่าปกติ
- การมีถุงน้ำในรังไข่ซึ่งมักพบว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของการมีประจำเดือนในปริมาณน้อยในส่วนของสาว ๆ ในช่วงวัยทำงาน
อาการประจำเดือนผิดปกติที่ไม่ควรมองข้าม
นอกจากอาการประจำเดือนมานิดเดียวแล้วนั้น ก็ยังมีอาการประจำเดือนที่ผิดปกติต่าง ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งหากสาว ๆ มีอาการเหล่านี้ก็ควรไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน ดังนี้
- มีปริมาณประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยในทุก ๆ ชั่วโมง
- ประจำเดือนที่ไหลออกมามีปริมาณลิ่มเลือดปะปนออกมาด้วยค่อนข้างเยอะ
- มาประจำเดือนมากกว่า 7 วันต่อครั้ง
- รอบการมาประจำเดือนสั้นหรือยาวกว่าปกติ
- มีอาการปวดท้องรุนแรงทุกครั้งที่มาประจำเดือน
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ประจำเดือนมาปกติ
ถัดมาเราก็ขอพาสาว ๆ ไปพบกับวิธีดูแลตัวเองเพื่อให้มีประจำเดือนที่มาอย่างปกติ ดังนี้
- นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดสุขภาพที่สมบูรณ์
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่หักโหมจนเกินไป
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน
- ควบคุมน้ำหนักของร่างกายให้มีน้ำหนักที่เหมาะสมไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป
- ร่วมเพศอย่างปลอดภัย
- พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่ก่อความคิดที่จะนำไปสู่ความเครียดในตัวเอง
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดอันตรายไม่ว่าจะเป็น SLS, SLES ,Alcohol หรือ Paraben เป็นต้น
เมื่อสาว ๆ อ่านบทความมาจนถึงช่วงท้ายนี้ก็คงจะสามารถแยกได้ว่าอาการประจำเดือนมานิดเดียวแบบใดที่จัดว่าเป็นปัญหาไม่ควรมองข้าม รวมถึงมีวิธีการดูแลตัวเองเพื่อสุขอนามัยที่ดีของร่างกาย เพราะส่วนประจำเดือนไม่ใช่เพียงการบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตในเพศหญิงเท่านั้น ประจำเดือนยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของสุขภาพ รวมถึงความพร้อมในการให้กำเนิดลูกน้อยอีกด้วย
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- ลูกผมบางและยาวช้าเหรอ.. ลอง 3 วิธีนี้ดูสิ!!
- ตั้งครรภ์กินอะไรลูกจะผิวขาว กินเผ็ดลูกจะผมบางจริงหรือ ฯลฯ
- กินอะไรให้ผมลูกดกดำตั้งแต่อยู่ในท้อง