สวัสดีคุณแม่ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ทุกคนนะคะ เชื่อว่าคุณแม่ที่มี อายุครรภ์ 3 เดือน คงกำลังพยายามหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ แน่นอนว่าสำหรับบทความนี้เราจะมาพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์แรก ๆ พร้อมกับวิธีการดูแลตัวเอง คุณแม่จะได้ทราบอย่างละเอียดและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกวิธี ถ้าพร้อมแล้วก่อนอื่นเรามาดูการเปลี่ยนแปลงกันก่อนเลยค่ะ
การเปลี่ยนแปลงเมื่อ อายุครรภ์ 3 เดือน
สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ดังกล่าว จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นบ้างแล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ให้ดี หากมีอาการผิดปกติจะได้รับมือได้ทันที
1.มีอาการวิงเวียนศีรษะ
ในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ 3 เดือน จะเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะ ซึ่งเป็นเพราะความดันโลหิตเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงทำให้มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น โดยให้คุณแม่นอนพักสักครู่อาการวิงเวียนจะเริ่มดีขึ้น แต่ถ้าหากพักแล้วยังไม่ดีขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเผื่อเป็นอะไรร้ายแรงจะได้แก้ไขได้ทันเวลา เราขอแนะนำหนึ่งสิ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะให้ดีขึ้นได้ นั่นก็คือให้คุณแม่ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ นั่นเอง
2.เริ่มมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
เราจะสังเกตเห็นได้ว่าคุณแม่ที่เริ่มมีอายุครรภ์ตามที่เราได้กล่าวไว้ จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ในช่วงนี้ เนื่องจากลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์เริ่มมีการเจริญเติบโตขึ้นทุกวัน กรณีที่คุณแม่มีน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเลยอาจเสี่ยงต่อความผิดปกติบางอย่างได้ ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
3.หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น
คุณแม่ในช่วงที่มีอายุครรภ์ 3 เดือน จะเริ่มรู้สึกว่ามีหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นและจะมีรอยแตกลายบริเวณหน้าท้อง แนะนำให้หาครีมบำรุงมาทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวบริเวณนั้น ซึ่งครีมบำรุงที่ใช้จะต้องมีมาตรฐานและปลอดภัยต่อคนท้องด้วย
4.มีตกขาวเพิ่มมากขึ้น
แน่นอนว่าตกขาวมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ในช่วงที่คุณแม่เริ่มมีอายุครรภ์ เข้าเดือนที่ 3 จะมีตกขาวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นการป้องกันไม่ให้ช่องคลอดของคุณแม่เกิดการติดเชื้อนั่นเอง สิ่งที่สำคัญคือคุณแม่ต้องสังเกตสีของตกขาวให้ดี หากมีสีผิดปกติ เช่น สีน้ำตาล สีเหลือง สีชมพู ให้ปรึกษาแพทย์ทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยได้
5.มีฝ้าขึ้นที่หน้า
เราจะสังเกตเห็นได้ว่าคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือน ขึ้นไปจะเริ่มมีฝ้าขึ้นที่หน้าบริเวณโหนกแก้มเป็นส่วนใหญ่ นั่นเป็นเพราะว่าฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใดเพราะฝ้าที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ หายไปหลังจากที่คลอดลูกน้อยออกมาแล้ว ให้คุณแม่หาตัวช่วยดี ๆ มาบำรุงผิวหน้าด้วย
คำแนะนำการดูแลตัวเองในช่วงนี้
สำหรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองของคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือน บอกเลยว่าเป็นการดูแลตัวเองที่ง่ายมาก เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนต้องทำได้แน่นอน จะมีวิธีการดูแล ตัวเองอย่างไรบ้างนั้นตามมาดูกันเลยค่ะ
1.บำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ
สิ่งที่สำคัญอย่างแรกในการดูแลตัวเอง เราคิดว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมากและควรให้ความสำคัญนั่นคือการดูแลผิวอย่างสม่ำ19เสมอ อย่างที่เราทราบกันดีว่าช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ 3 เดือน ฮอร์โมนของร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบไปยังผิวคุณแม่ด้วยไม่ว่าจะเป็น ผิวแตกลาย ฝ้าขึ้นหน้า ผิวแห้ง ปัญหาเหล่านี้จะไม่มากวนใจหากคุณแม่มีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี
2.พยายามขมิบช่องคลอดบ่อย ๆ
การที่คุณแม่ฝึกขมิบช่องคลอดเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้กล้ามเนื้อช่วงนั้นแข็งแรงขึ้น แต่ก่อนที่จะฝึกขมิบนั้นคุณแม่จะต้องปรึกษาคุณหมอก่อนว่าควรทำในท่าไหนถึงจะถูกต้อง
3.ทานวิตามินเสริม
คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือน ขึ้นไปให้ลองหาวิตามินเสริมมารับประทาน เพื่อจะได้ช่วยเสริมสร้างร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรง วิตามินจะเข้าไปช่วยเสริมสร้างสิ่งที่ขาดให้กลับมาสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนหาวิตามินเสริมมารับประทานด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้ไม่เกิดอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์
4.ทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้คุณแม่และทารกที่อยู่ในครรภ์ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ยิ่งคุณแม่คนไหนที่รับประทานอาหารแต่ของที่มีประโยชน์ จะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อทารกคลอดออกมาจะมีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งและมีสุขภาพแข็งแรง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและวิธีการดูแลตัวเองของคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือน หวังว่าคุณแม่ทุกคนจะได้รับสาระความรู้ดี ๆ จากการอ่านบทความนี้ไปไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้เราอยากจะฝากให้คุณแม่มือใหม่ ทุกคนดูแลตัวเองและทารกที่อยู่ในครรภ์ให้ดีที่สุด อย่าทำงานหนักและหักโหมมากเกินไปเพราะคุณไม่ได้อยู่เพียงลำพังอีกต่อไป ยังมีลูกน้อยที่พร้อมจะออกมาลืมตาดูโลกในเวลาเพียงอีกไม่กี่เดือนเท่านั้น
เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- ทำไมคุณถึงไม่ควรแคะหูให้ลูกด้วย คอตตอนบัด
- โรคไข้เลือดออก(Dengue Fever) สังเกตยังไงว่าลูกเป็นไข้เลือดออก
- ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นทอนซิลอักเสบ วิธีดูแลป้องกัน