fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้ของลูกน้อยกระหม่อมทารก คุณแม่ควรรู้ แบบนี้ถือว่า กระหม่อมลูกปิดช้า หรือปิดเร็วนะ

กระหม่อมทารก คุณแม่ควรรู้ แบบนี้ถือว่า กระหม่อมลูกปิดช้า หรือปิดเร็วนะ

กระหม่อมทารก ศีรษะทารกแรกเกิด คุณแม่ควรรู้

กระหม่อม เป็นคำราชาศัพท์ที่เอาไว้ใช้เรียกสิ่งที่สูงที่สุดในตัวเรา เราจึงเรียกรอยยุบตรงศีรษะของลูกว่ากระหม่อมนั่นเองค่ะ ถ้าคุณแม่อยากรู้ว่า กระหม่อมของลูกอยู่ตรงไหน ก็ใช้มือคลำไปที่ศีรษะของลูกได้ค่ะ จะพบส่วนนิ่ม 2 ส่วนที่ด้านบนของศีรษะทารก ส่วนนิ่มหน้า ก็คือ กระหม่อมหน้า ส่วนนิ่มหลังจะใหญ่กว่าก็จะเรียกว่ากระหม่อมหลัง ส่วนนิ่มทั้ง 2 ส่วนนี้เกิดขึ้นเพราะแผ่นกะโหลกศีรษะทารกยังไม่เชื่อมปิด จึงเกิดเป็นช่องว่างนิ่ม ๆ ขึ้นบนกะโหลกศีรษะ

กระหม่อมทารก หรือศีรษะทารกแรกเกิด จะเต็มหรือที่เรียกกันว่ากระหม่อมปิดนั้น จะอยู่ในช่วงที่ลูกอายุ 6-18 เดือน ซึ่งเด็กแต่ละคนกระหม่อมจะปิดช้าหรือปิดเร็วต่างกันค่ะ

กะโหลกของลูก ประกอบด้วยกระดูกแผ่น 4 แผ่นมาประกอบกัน โดยในส่วนของกระหม่อมจะอยู่ตรงด้านหน้า มีเยื่อบาง ๆ เชื่อมกระดูกทั้ง 4 แผ่นนั้นให้ติดกัน กระหม่อมของลูกจะมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ทางด้านหลังจะเล็กมากกว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตดี ๆ จะเห็นว่ากระหม่อมของทารกจะเต้นตุ๊บ ๆ ตามชีพจรของลูกนั้นเองค่ะ

กระหม่อมปิดช้า หรือ กระหม่อมปิดเร็ว ก็มีความสำคัญ

กระหม่อมส่วนหน้าจะปิดประมาณ 1 ปีขึ้นไป ส่วนกระหม่อมทางด้านหลังจะปิดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ในกรณีที่กระหม่อมปิดเร็วเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโตและการขยายของสมองทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือถ้ากระหม่อมปิดช้าเกินไปก็ให้สันนิฐานว่าอาจมีน้ำในสมอง หรือเกิดจากต่อมไทรอยด์ผิดปกติตั้งแต่กำเนิดและจะมีผลกับการพัฒนาการของเด็กค่ะ

สิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ต้องระวังคือ ในช่วงที่ กระหม่อมของลูกยังไม่ปิด ควรระวังไม่ให้มีอะไรไปกระแทก หรือ กระทบกระเทือนจนบาดเจ็บ และถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรไปจับหรือกดที่กระหม่อมของลูกค่ะ สิ่งผิดปกติที่จะเกิดกับกระหม่อม คือ เวลาที่ลูกไม่สบายหรือท้องเสียแล้วมีอาการหนัก ๆ กระหม่อมของลูกจะยุบลงมากกว่าปกติ แสดงว่าลูกเกิดอาการขาดน้ำ แต่ถ้ากระหม่อมของลูกนูนขึ้นมากกว่าปกติแสดงว่าลูกมีเลือดออกในสมองหรือมีการติดเชื้อต้องพาลูกพบแพทย์ทันทีค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular