fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์ภาวะทารกในครรภ์บวมน้ำคืออะไร และมีสาเหตุจากอะไร?

ภาวะทารกในครรภ์บวมน้ำคืออะไร และมีสาเหตุจากอะไร?

ภาวะทารกในครรภ์บวมน้ำ คือ การที่มีของเหลวอยู่ในอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายของทารกในครรภ์มารดา เช่น น้ำในปอด น้ำในช่องท้อง น้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ น้ำในผิวหนัง ในบางครั้งอาจพบร่วมกับการบวมน้ำของรก และสายสะดือ โดยที่รกอาจบวมบางส่วนหรือทั้งหมด หรือไม่บวมก็ได้ ทารกบวมน้ำ อาจเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงของการตั้งครรภ์ พูดง่าย ๆ คือ สามารถเกิดได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกจนถึงครรภ์ครบกำหนดเลยทีเดียว

สาเหตุที่ทำให้ทารกบวมน้ำมี 2 ลักษณะ ดังนี้

1.ทารกบวมน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาอิมมูน (immune hydrops fetalis; IHF)

เกิดจากภาวะที่มีปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด ซึ่งมาจากของมารดากับตัวเม็ดเลือดแดงของทารก ทำให้ทารกมีภาวะซีด และเกิดปัญหาภาวะบวมน้ำตามมา ส่งผลให้เกิดภาวะโปรตีนในกระแสเลือดต่ำ และภาวะหัวใจวาย

2.ทารกบวมน้ำที่ไม่เกี่ยวกับปฏิกิริยาอิมมูน (non-immune hydrops fetalis; NIHF)

เกิดจากความผิดปกติของทารกเอง เช่น โรคหัวใจพิการ cystic hygroma หรือ โครโมโซมของทารกผิดปกติ ในบางรายก็อาจเกิดจากการติดเชื้อจากในครรภ์

อาการบวมน้ำในทารกเกิดจากการไม่สมดุลกันของปริมาณน้ำในกระแสเลือด  เนื่องจากมีการลดลงของการไหลเวียนเลือดที่ตับ ส่งผลให้การสร้างอัลบูมินจากตับลดลง ภาวะที่มีอัลบูมินต่ำลงจะทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเหลว แต่ลำพังภาวะอัลบูมินต่ำเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำให้เกิดภาวะทารกบวมน้ำได้ แต่จะต้องมีการสะสมของของเหลวแบบผิดปกติอย่างน้อย 2 แห่งขึ้นไปในทารก เช่น บวมตามผิวหนังทั่วตัว บวมน้ำในช่องท้อง เป็นต้น

 

อาการบวมน้ำจะเกิดขึ้นกับร่างกายของทารกดังนี้

  1. บวมตามผิวหนังทั่วตัว : คุณหมอสามารถตรวจสอบได้จากความหนาของผิวหนัง ศีรษะ และหน้าอก
  2. บวมน้ำในช่องท้อง : ถ้ามีอาการบวมน้ำในท้องจะเห็น ลำไส้ ขอบของตับ กระเพาะปัสสาวะ ม้าม และกระบังลมของทารกได้ชัดเจน
  3. น้ำคั่งที่เยื่อหุ้มหัวใจ : เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวจากการทำงานของหัวใจผิดปกติ บางรายงานพบว่าเป็นอาการแสดงอย่างแรกของภาวะทารกในครรภ์บวมน้ำ ที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด
  4. บวมน้ำในช่องปอด : อาจมีอาการบวมน้ำทั้ง 2 ปอดหรือเพียงข้างใดข้างหนึ่ง การบวมน้ำในช่องปอดทำให้เด็กเสียชีวิตมากที่สุด
  5. รกหนาผิดปกติ : อาการนี้พบบ่อยในทารกในครรภ์ สามารถทราบได้ว่ามีอาการโดยการตรวจสอบรก ถ้าหนาเกิน 6 เซนติเมตร ขึ้นไปจะวินิจฉัยว่า มีภาวะบวมน้ำค่ะ
  6. ภาวะน้ำคร่ำน้อย : ถ้าพบว่าเด็กในครรภ์มีอาการบวมน้ำ ส่วนมากจะมีภาวะน้ำคร่ำน้อยตามไปด้วย ซึ่งภาวะน้ำคร่ำน้อยนี้สามารถเกิดได้ในระยะต่างๆของโรค
  7.  ตับ ม้าม โต : เกิดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงนอกไขกระดูกเพิ่มขึ้น เพื่อการตอบสนองภาวะเลือดของทารก

อาการบวมน้ำของทารกในครรภ์ ถือว่าเป็นภาวะที่เสี่ยงและอันตรายมากสำหรับทารกในครรภ์แม่ คุณแม่ที่มีอาการนี้บางคน ต้องหยุดการตั้งครรภ์เมื่อตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีอาการบวมน้ำขั้นรุนแรง ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว คุณแม่ต้องไปพบหมอทุกครั้งตามนัด เพราะคุณหมอจะประเมินทารกในครรภ์ของคุณแม่ทุกครั้งว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular