fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์อาการท้องแข็ง ของคุณแม่ตั้งครรภ์ น่าเป็นห่วง! คุณแม่ต้องสังเกตนะคะ

อาการท้องแข็ง ของคุณแม่ตั้งครรภ์ น่าเป็นห่วง! คุณแม่ต้องสังเกตนะคะ

อาการท้องแข็ง มักพบในคุณแม่ใกล้คลอด (อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) อาการคือ เมื่อเอามือไปจับบริเวณท้องจะรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ตึงสลับกันเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ ในบางรายอาจมีการแข็งมาก-น้อยแตกต่างกันออกไป  หรือปวดเกร็งเสียวช่วงท้องน้อยด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการท้องแข็งตั้ง 10 นาทีหรือเป็นหาย ๆ นานนับชั่วโมง

สาเหตุของ อาการท้องแข็ง มีได้หลายสาเหตุ คือ

  • ทารกในครรภ์ดิ้นมากอาจไปโดนกับผนังมดลูก มดลูกถูกกระตุ้นจึงเกิดการบีบตัว
  • มดลูกเกิดการบีบตัวเองจากกล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ คลอดก่อนกำหนด หรือ แท้ง ได้
  • การกินอาหารและมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เมื่อใดก็ตามที่กินอาการลงไปเยอะ ๆ ก็อาจไปเบียดกับมดลูกจนรัดตัวได้เหมือนกัน
  • พฤติกรรมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันอื่น ๆ อาทิ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก มีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง และการกลั้นปัสสาวะบ่อย

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก

เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์แล้ว ควรลดกิจกรรมทั้งในและนอกบ้านโดยเฉพาะงานหนัก ที่ทำให้เหนื่อยและเกิดความเครียดได้ง่าย เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่กระตุ้นมดลูกให้บีบรัดตัว เช่น การจับ-ลูบท้อง การเหวี่ยงหรือขยับตัวแรง ๆ และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงใกล้คลอด หลังมื้ออาหารควรเดินเล่นหรือนั่งพักสักครู่ก่อน ไม่ควรนอนหลับทันที เพราะการย่อยอาหารอาจทำได้ไม่ดี อาจเกิดแก๊สในกระเพาะและเกิดอาการจุกจนเสียดท้องจนอาการท้องแข็งเกิดขึ้นได้

สิ่งสุดท้ายคือ คุณแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอดไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะการกลั้นปัสสาวะทำให้กระเพาะปัสสาวะโตขึ้น จนไปเบียดกับมดลูก ทำให้เกิดอาการท้องแข็งตึง หากสังเกตจะพบว่าเมื่อขับปัสสาวะออกไปแล้ว อาการท้องแข็ง ก็หายไป

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหาเวลาพักผ่อนให้มากยิ่งขึ้น โดยการนั่งอ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดอาการท้องแข็ง หากอาการเป็นหนักหรือบ่อยเกินไป โอกาสการคลอดก่อนกำหนดสูง และคุณแม่จะสะสมความเครียดไปด้วย ทำให้มีความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อทารกในครรภ์ต่อไป

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular