fbpx
Homeการเลี้ยงลูกการดูแลสุขภาพเด็กขี้เทาในทารก คืออะไร แม่มือใหม่ต้องรู้ และการสังเกตอุจจาระแบบไหนไม่ปกติ           

ขี้เทาในทารก คืออะไร แม่มือใหม่ต้องรู้ และการสังเกตอุจจาระแบบไหนไม่ปกติ           

ภาวะ ขี้เทาในทารก คืออะไร คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้ เพราะ อุจจาระทารก สามารถบอกถึงสุขภาพ และความสมบูรณ์ของเด็กได้ คุณแม่หลาย ๆ คนจึงมักสังเกตสีและลักษณะอุจจาระที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกช่วงวัย แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าอุจจาระแบบไหนบ้างที่ปกติหรือไม่ปกติ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝาก จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปดูกันเลยดีกว่า

ขี้เทาในทารก คืออะไร?

ขี้เทาในทารกคือ อุจจาระของทารกในครรภ์ โดยลักษณะของขี้เทาจะมีสีเขียวขี้ม้าปนดำ มีลักษณะหนืดแหละเหนียว ในขี้เทาจะประกอบไปด้วยสสาร ที่ถูกย่อยในระหว่างทารกยังอยู่ในครรภ์ ถึงแม้ว่าตอนอยู่ในครรภ์ ทารกจะยังไม่ได้กินอะไรก็ตาม แต่สิ่งนึงที่เข้าไปอยู่ในลำไส้ของทารกก็คือ น้ำคร่ำ ผนังลำไส้เล็ก ขนอ่อน เมือก น้ำดี และน้ำ โดยขี้เทาในทารก นี้แทบจะไม่มีเชื้อโรคเลยก็ว่าได้ ต่างจากการขับถ่ายตามปกติ สำหรับขี้เทาในทารก จะมีการขับถ่ายออกมาเพียงไม่กี่วันแรก นับจากวันคลอดเท่านั้น

ภาวะ ขี้เทาในทารก จะมีประมาณกี่วัน

การขับถ่ายขี้เทาในทารก จะหมดไปภายใน 1-3 วัน ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับ การได้รับนมของทารกด้วย หากทารกได้รับนมแม่ก็จะมีส่วนช่วยในการขับขี้เทาได้ดีขึ้น และทำให้การขับถ่ายออกมาหมด ภายในเวลาไม่นาน แต่สำหรับทารก ที่ยังไม่ได้กินนมแม่ ก็อาจจะมีขี้เทานานกว่าปกติ แต่จะไม่เกิน 3 วัน และหากยังขับถ่ายขี้เทาในทารกออกมาไม่หมด ทารกอาจจะเข้าสู่ภาวะตัวเหลืองได้

การขับถ่ายแบบไหนของทารกที่ไม่ปกติ

การสังเกตสี อุจจาระทารก ในทุก ๆ วัน ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากขี้เทาในทารก จะบ่งบอกอะไรหลาย ๆ อย่างได้แล้ว อุจจาระทั่วไปใจทุก ๆ วัน ก็ยังสามารถบ่งบอกถึง สัญญาณสุขภาพทารกที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้ด้วย แล้วการขับถ่ายแบบไหนบ้างของทารก ที่บ่งบอกถึงความไม่ปกติ เราสามารถสังเกตได้จาก ลักษณะของอุจจาระที่แตกต่างกันได้ ดังนี้

1.อุจจาระสีดำ

อุจจาระทารก สีดำ จะเกิดขึ้นกับเด็กทารกแรกเกิด หรือที่เรียกว่าขี้เทาในทารก โดยประกอบไปด้วยเซลล์ผิวหนังต่าง ๆ เมือก น้ำคร่ำ ที่ทารกย่อยระหว่างอยู่ในครรภ์ อุจจาระแบบนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2 – 3 วัน หลังเด็กทารกเกิด บางครั้งสีของขี้เทาในทารก อาจเป็นสีเขียวเข้ม อย่างไรก็ตาม อุจจาระสีดำ จะผิดปกติ เมื่อเกิดขึ้นกับลูกน้อยหลังจากเลยช่วง 2 – 3 วันหลังคลอดไปแล้ว ร่วมกับอุจจาระสีดำที่มีเลือดปน หากเป็นลักษณะนี้ ควรรีบพาลูกน้อย ไปพบแพทย์ทันที

2.อุจจาระสีแดง

อุจจาระสีแดง เป็นอุจจาระที่คุณแม่จะต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจจะมีการติดเชื้อในลำไส้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากอาการแพ้นม หรือทวารหนักเป็นแผล หากเกิดขึ้นกับลูกน้อยที่อยู่ในช่วงที่เริ่มกินอาหารเสริม ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เกิดจากอาหารเสริมที่มีสีแดงเข้ม เช่น น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น จึงควรสังเกตความผิดปกติให้ดี

3.อุจจาระสีส้ม

อุจจาระสีส้ม หากเมื่อไหร่ก็ตาม ที่คุณแม่สังเกตเห็นว่าอุจจาระที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสีส้ม อาจเกิดจากเม็ดสีที่สะสมในทางเดินอาหารของเด็กทารกก็เป็นไปได้ ซึ่งสามารถเกิดได้ ในเด็กทารกที่กินนมแม่ และนมผง

4.อุจจาระสีเหลือง

อุจจาระทารกสีเหลืองฟักทอง หรือเหลืองมัสตาร์ด เป็นลักษณะของอุจจาระทารก ที่คลอดออกมาแล้วประมาณ 3-4 วัน หลังจากที่ ขี้เทาในทารก หมดไป โดยอุจจาระของลูกที่เป็นสีเหลือง จะมีลักษณะเหลว ในช่วงนี้ลูกน้อยจะอุจจาระประมาณ 6-10 ครั้งต่อวัน หรือทุกครั้งหลังจากกินนมแม่ สำหรับเด็กทางรกบางคน อาจจะยังไม่ขับถ่ายเป็นอาทิตย์ได้เช่นกัน การที่ทารกขับถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีเหลือง  ถือว่าเป็นอุจจาระที่ปกติดี

5.อุจจาระขาวซีด

หากคุณแม่พบว่า อุจจาระของลูกมีสีขาวซีด นั่นอาจเกิดจากความผิดปกติของตับ หรือถุงน้ำดีก็เป็นได้ หากมีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นกับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด เพราะถือเป็นการขับถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ และหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยได้

6.อุจจาระทารกเป็นสีเขียวเข้ม

สำหรับ การมีอุจจาระของลูกสีเขียวเข้ม และมีลักษณะข้นเหนียว ถือว่าเป็นการขับถ่ายอุจจาระที่ปกติ เพราะการที่ลูกน้อยมีอุจจาระสีเขียวเข้ม อาจเกิดจากการที่ คุณแม่กินผักใบเขียวในช่วงให้นมลูก หรืออาจเกิดจากการที่ คุณแม่กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก จึงส่งผลทำให้อุจจาระของลูกน้อย มีสีเขียวเข้มขึ้น ซึ่งจะหาย และกลับมาเป็นอุจจาระสีเหลืองปกติ ในเวลาไม่นาน

ขี้เทาในทารกแรกเกิด เป็นภาวะปกติ ที่ต้องพบในทารกทุกคน ซึ่งจะหายไปภายใน 2-3 วันเท่านั้น แต่หากมีความผิดปกติร่วมด้วย ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular