fbpx
Homeการเลี้ยงลูกป้อนข้าวลูก ท่านอน อาจทำลูกสำลัก อันตรายถึงชีวิตได้

ป้อนข้าวลูก ท่านอน อาจทำลูกสำลัก อันตรายถึงชีวิตได้

เมื่อลูกอายุครบ 6 เดือนสามารถให้อาหารเสริมพร้อมกับการให้นมแม่ได้แล้ว เพราะระบบย่อยอาหารของลูกแข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากช่วง 6 เดือนคือช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ต้องการสารอาหารเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกายและสมอง คุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการป้อนอาหารลูกก็คงอยากจะทราบว่าวิธีการ  ป้อนข้าวลูก ที่ถูกต้องและปลอดภัยนั้นต้องทำอย่างไร จะป้อนท่านอนได้หรือไม่ วันนี้เราก็มีคำแนะนำมาบอกกันแล้ว

ป้อนข้าวลูก ท่านอน อันตรายอย่างคาดไม่ถึง

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะเข้าใจว่าการ ป้อนข้าวลูก ในท่านอนนั้นจะช่วยให้ลูกกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดมาก เพราะการป้อนอาหารลูกในท่านี้เสี่ยงที่จะทำให้ลูกสำลักอาหารได้ ลองนึกภาพคุณพ่อคุณแม่นอนทานอาหารจะเข้าใจว่าเด็กก็ไม่ต่างกัน โดยการป้อนข้าวลูกในท่านอนลูกจะกลืนอาหารได้ยากกว่าการนั่ง และไม่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหารอย่างแน่นอน นอกจากนี้การป้อน อาหารเด็ก ในท่านอนยังเสี่ยงที่อาหารจะลงไปในท่อหลอดลมและถ้าอาหารลงไปในหลอดลมก็จะลงไปที่ปอด ทำให้เกิดการติดเชื้อ ปอดอักเสบ เพราะฉะนั้นควรเลี่ยงที่จะป้อนอาหารลูกในท่านอนอย่างเด็ดขาด

ควรป้อนข้าวลูกท่าไหนดีที่สุด

การป้อนข้าวลูก ในท่านอน ถือเป็นท่าที่อันตรายมากเพราะเสี่ยงที่จะทำให้เด็กสำลักอาหารและอันตรายอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไหร่ก็ไม่ควรป้อนท่านอน ซึ่งการป้อนข้าวลูก ที่ดีในท่าที่เหมาะสมสำหรับเด็กทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปควรเป็นท่านั่งจะดีที่สุด เพราะไม่ทำให้เกิดการสำลักอาหารได้ง่าย  ที่สำคัญควรป้อนอย่างช้าๆ ไม่ควรรีบป้อนจนเกินไปเพราะเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเกิดสำลักอาหารลงหลอดลมได้อีกด้วย

ทำอย่างไรเมื่อลูกสำลักอาหาร

ในแต่ละปีจะมีเด็กที่เสียชีวิตจากการสำลักอาหารเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้สร้างความเสียใจให้กับคนเป็นพ่อเป็นแม่มากที่สุด เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรศึกษาวิธีปฐมพยาบาลให้กับลูกเบื้องต้นเมื่อลูกสำลักอาหาร เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสำลักอาหารในเด็ก โดยถ้าลูกมีอาการสำลัก สิ่งที่คุณแม่ควรจะทำเบื้องต้นก็จะมีดังนี้

1.อุ้มลูกไว้บนแขนในท่าที่คว่ำหน้าลง

หากป้อนข้าวลูก แล้วลูกมีอาการสำลัก เบื้องต้นคุณแม่ควรตั้งสติให้ดี จับลูกอุ้มไว้ที่แขนโดยให้คว่ำหน้าลงให้ศีรษะต่ำกว่าหน้าอกและใช้ฝ่ามือข้างที่ถนัดของคุณแม่พยุงศีรษะของลูกไว้ระวังไม่ให้มือไปปิดที่จมูกหรือปากของลูก หันศีรษะลูกไปทางเข่าของคุณแม่ ใช้เข่าคอยช่วยพยุงศีรษะและคอของลูกให้ดีและยกทุกส่วนร่างกายของลูกให้สูงขึ้น

2.ใช้มืออีกข้างตบเบาๆ ที่หลัง

เมื่อจัดท่าที่เหมาะสมอย่างในข้างต้นแล้ว จากนั้นคุณแม่ควรใช้มืออีกข้างทุบไประหว่างหัวไหล่ของลูกเบาๆ ประมาณ 4 – 5 ครั้ง การตบนี้จะช่วยให้เด็กไอหรือคลายเอาอาหารที่สำลักเข้าไปออกมา หากสามารถมองเห็นเศษอาหารให้ใช้มือควานเอาเศษอาหารที่ติดอยู่ออกมาจากปากลูก

3.หากเด็กยังหายใจไม่ออกให้เปลี่ยนท่านอนราบไปกับพื้น

หากเศษอาหารที่เข้าไปติดในลำคอของลูกยังไม่ออกมาให้คุณแม่เปลี่ยนท่าใหม่โดยการจับลูกนอนหงายไปกับพื้นราบ ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางกดลงไปที่บริเวณใต้ลิ้นปี่ของลูกประมาณ 4 – 5 ครั้ง โดยกดให้ลึกประมาณ 1.5 นิ้ว และตรวจดูสิ่งแปลกปลอมเศษอาหารในปากของลูกหากพบให้ใช้นิ้วมือควานออกมา

4.ช่วยเปิดทางในการหายใจ

การช่วยเปิดทางหายใจจะทำให้ลูกหายใจได้ง่ายขึ้น โดยการเอียงศีรษะของลูกไปทางข้างหลัง และจับคางลูกยกสูงขึ้น หรือจะใช้การผายปอดช่วย โดยการใช้ปากประกบไปที่ปากหรือจมูกของลูกจากนั้นเป่าลมและสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก ซึ่งหากเป่าได้ถูกต้องหน้าอกของลูกจะยกขึ้น จากนั้นคุณแม่ลองสังเกตดูหน้าอกของลูกว่ามีการยุบตัวหรือไม่ หากยังไม่ตอบสนองให้ลองทำวิธีนี้ประมาณสักสองครั้ง หากไม่มีการตอบสนองใดๆ ควรรีบพาไปที่โรงพยาบาลใกล้บ้านด่วน

และนี่คือวิธีปฐมพยาบาลเด็กเบื้องต้น เมื่อเด็กมีอาการสำลักอาหาร การป้อนอาหารลูกด้วยท่าที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกสำลักอาหารได้ และท่าที่เหมาะสมในการป้อนข้าวลูก ควรเป็นท่านั่งหรือยืน เพราะเป็นท่าที่เหมาะกับการป้อนอาหารมากที่สุด และไม่ควรป้อนอาหารเร็วจนเกินไป เพราะเสี่ยงที่จะทำเด็กกลืนไม่ทันอาจจะสำลักได้และอันตรายได้นั่นเอง

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular