fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้ของลูกน้อย6 ปัญหาที่ส่งผลทำให้ลูกพูดช้ากว่าเกณฑ์

6 ปัญหาที่ส่งผลทำให้ลูกพูดช้ากว่าเกณฑ์

คุณแม่มือใหม่มักจะคอยเช็คพัฒนาการของลูกน้อยตามคู่มือที่แพทย์แนะนำมา หรืออ่านจากคู่มือแนะนำคุณแม่มือใหม่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ตั้งแต่การให้ความสนใจตามเสียงเรียก หรือรู้ว่าตนชื่ออะไร เวลาม่าม๊าเรียกจะหันหน้าเข้าหาทันที หรือพัฒนาการทางร่างกายอย่างการตั้งไข่ คลาน หรือเริ่มยืนและเดินได้แล้ว แต่สิ่งที่คุณแม่ปลื้มปิติมากที่สุดคือการที่ลูกพูด “แม่” หรือ “พ่อ” เป็นคำแรก ๆ ในการเรียนรู้การพูด

ในปัจจุบันพบว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาช้าส่งผลให้ลูกมีปัญหาเรื่องการพูดช้ามากขึ้น ทำให้พ่อแม่มีความร้อนใจว่า ลูกน้อยของตนมีความผิดปกติด้านการพูดหรือเปล่า หรืออยากทราบสาเหตุว่าการที่ลูกพูดช้าเป็นเพราะสิ่งใดกันแน่?

พัฒนาการของเด็กที่พูดช้า สังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็กที่ไม่ปกติตามอายุ อย่างเช่นในช่วงอายุ 12 เดือนแรกเด็กจะเริ่มหัดพูดได้หรือฟังเสียงบ้างแล้ว แต่เด็กที่พัฒนาการทางภาษาช้านั้นช่วง 12 เดือนแรกจะยังไม่สามารถพูดคำง่าย ๆ หรือพูดตามได้ และส่งผลถึงการเรียนรู้อื่น ๆ อีกด้วย เมื่อถึงวัยเข้าเรียนก็จะกลายเป็นเด็กที่เรียนช้าเพราะไม่สามารถสื่อสารกับเพื่อนหรือคุณครูได้

6 ปัญหาที่ส่งผลทำให้ลูกพูดช้ากว่าเกณฑ์ มีดังนี้ค่ะ

1. ความพิการทางสมองและระบบประสาท หรือสติปัญญาบกพร่อง เช่น การขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิด

2. ระบบประสาทพิการตั้งแต่แรกเกิด การมีสารเหลืองมากเกินไปจนทำลายสมอง  การใช้เครื่องช่วยหายใจตั้งแต่แรกเกิด สมองพิการหลังได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น

3. ความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เช่น หูหนวกแต่กำเนิด หูอักเสบเรื้อรัง  ความพิการของหูและใบหน้า การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

4. กลุ่มโรคของความผิดปกติทางพฤติกรรม เช่น กลุ่มอาการออทิสติก

5. พัฒนาการทางภาษาผิดปกติ มีหลายประเภท เช่น ปัญหามีคำศัพท์จำกัดใช้ไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง บกพร่องในการออกเสียงใช้เสียง พูดไม่ชัด นำภาษาไปใช้ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นต้น

6. สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู  เช่น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูขาดปฏิสัมพันธ์กับเด็ก อำนวยความสะดวกให้ทุกอย่างโดยที่เด็กไม่ต้องร้องขอ การดูทีวี การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์มากเกินไป ทำให้เด็กอยู่ในโลกส่วนตัว อยู่ลำพังหรือเล่นคนเดียวก็สนุกได้ไม่จำเป็นจะต้องสื่อสารพูดคุยกับบุคคลอื่น

การตรวจหาสาเหตุของพัฒนาการทางภาษาล่าช้าหรือการพูดช้าของลูก

แพทย์จะทำการซักประวัติ และการเลี้ยงดูทั้งความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ภาวะความผิดปกติในครอบครัว และทำการตรวจร่างกายของทารก ทำการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็ก และทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่นวัดการได้ยิน เพื่อทำการรักษาต่อไป

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular