fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้ของลูกน้อย5ข้อเสียหากลูกติดแท็บเล็ต มือถือ อันตรายที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

5ข้อเสียหากลูกติดแท็บเล็ต มือถือ อันตรายที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้เป็นยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์ค เดินไปทางไหน นั่งที่ไหนก็เห็นคนนั่งก้มหน้าใช้โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตกันทั้งนั้น ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ เด็กอายุน้อยๆ บางคน 1 ขวบขึ้นไปก็นั่งดูแท็บเล็ตกันแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ให้ความบรรเทิงทั้งพ่อแม่และลูกแล้วมันจะมีข้อเสียอย่างไรมาดูกันค่ะ

5 ข้อเสีย หากลูกติดแท็บเล็ต ติดมือถือ

1.ร่างกายไม่พัฒนาตามวัย:

ถ้าลูกติดแท็บเล็ตลูกจะนั่งดูนิ่งๆในท่าเดิมไม่รู้จักเมื่อยหรือขยับไปทำกิจกรรมอื่นๆเลย ซึ่งเด็กวัย 1-5 ขวบเป็นวัยที่ต้องอยู่ไม่นิ่ง แขนขาจะขยับสำรวจโลกตลอดเวลาแต่ถ้าต้องมานั่งดูแท็บเล็ต จะมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตของร่างกายแน่นอน เช่น ร่างกายไม่แข็งแรง เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว เหนื่อยง่าย ป่วยบ่อยเป็นต้น ดังนั้นไม่ควรให้ลูกนั่งหน้าจอดูทีวีหรือแท็บเล็ต ควรพาลูกทำกิจกรรมอื่นๆจะดีกว่าค่ะ

2.ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หงุดหงิดง่าย:

เด็กที่ติดทีวี หรือ แท็บเล็ตจะมีอาการรอไม่ได้ ทนไม่ไหว ใจร้อน ควบคุมตัวเองไม่อยู่ หุนหันพลันแล่น เป็นเด็กขี้หงุดหงิด ก้าวร้าว เพราะหน้าจอที่ลูกดูบ่อยๆเคลื่อนไหวรวดเร็ว เป็นดังใจตามที่ลูกต้องการ จึงทำให้ลูกเป็นเด็กไม่มีความอดทน รอคอยไม่เป็นนั่นเองค่ะ

3.เข้าสังคมปกติได้ยาก:

ถ้าลูกติดอินเตอร์เน็ตมากๆจะทำให้เข้าสังคมไม่ได้ เพราะไม่ค่อยได้พบเจอเพื่อนบ้าน ไม่มีเพื่อนในหมู่บ้าน ทำให้ขาดการปรับตัวเมื่อต้องเข้าสู่สังคม ปรับตัวเข้าหาผู้ใหญ่ไม่เป็น การใช้ชีวิตพื้นฐานในการอยู่ในสังคมก็จะแย่ลง และอยู่กับคนอื่นไม่ได้ในที่สุดค่ะ

4.อาจทำให้เป็นเด็กอ้วน:

เด็กที่ติดทีวีหรือแท็บเล็ตมักจะอ้วนเกินไป เวลาจะกินข้าวก็จะนั่งดูแท็บเล็ตหรือทีวีไปด้วย จึงทำให้การกินอาหารเพลิดเพลินกินไปได้เรื่อยๆ มีพ่อแม่คอยป้อนให้กิน หรือเด็กบางคนก็ไม่ยอมนั่งกินข้าวดีๆ จะกินแต่ขนมที่กินได้ง่ายๆไม่เสียเวลาในการดู สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เด็กอ้วนเกินไปนั่นเองค่ะ

5.ขาดสมาธิ:

เด็กจะไม่มีใจจดจ่อกับกิจกรรมอะไรเลย ที่ต้องใช้สมาธิหรือสมองในการแก้ปัญหา เพราะเคยเจอแต่หน้าจอที่แสดงสีสันสดใส เคลื่อนไหวได้รวดเร็วทันใจ ถ้าต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาคิดเด็กจะทำไมได้ และจะหงุดหงิดง่ายอีกด้วย

การใช้อุปกรณ์เหล่านี้กับลูกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย พ่อแม่ที่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้กับลูกควรจะจำกัดเวลาการเล่นของลูกให้เล่นได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน และต้องใช้กับเด็กที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปีขึ้นไป หรือ ควรจะนั่งเล่นนั่งดูด้วย สอน และชวนพูดคุยกันไปด้วย ให้ลูกได้สื่อสาร โต้ตอบ ได้ทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกันกับครอบครัวและคนในสังคม จึงจะเป็นสิ่งที่ดีต่ออนาคตของเด็กมากกว่าค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular