fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้ของลูกน้อย10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาท  เกี่ยวข้องกันกับโรคออทิสติค กลุ่มอาการดังกล่าวจะมีปัญหาเกี่ยวกับการแสดงออกทางพฤติกรรมและการพูด ซึ่งโรคนี้เป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่สำหรับเด็ก เพราะอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ดีในอนาคตได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกจะเข้าข่ายมีพฤติกรรมเป็นโรคนี้หรือไม่ดังนี้ค่ะ

10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

  1. ลูกมักชอบที่จะจดจ้องไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป จดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านั้นเป็นชั่วโมงๆโดยไม่สนใจสิ่งใดรอบข้างเลย
  2. ชอบพูดคุยกับผู้ใหญ่แบบเป็นทางการ เกินกว่าอายุของลูก และชอบพูดตามคำปราศรัยต่างๆ
  3. เข้าสังคมยาก ไม่อยากไปโรงเรียน เด็กบางคนอาจจะเข้าสังคมแต่จะไม่พูดร่วมสนทนากับเด็กคนไหนเลย เวลาจะให้ไปโรงเรียนก็ยาก ต้องเขี้ยวเข็นดื้อเงียบนั่นเอง
  4. ทำอะไรเป็นเวลา ต้องทำให้เหมือนๆกันเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น ต้องตื่นตอน 6.00น. อาบน้ำ 6.30 น. กินข้าวตอน 8.00 น. เป็นต้น ถ้าไม่เป็นไปตามนี้อาจจะทำให้เด็กสับสน วุ่นวาย และไม่สามารถจัดการกับตัวเองได้
  5. ไม่ค่อยสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และไม่ค่อยยอมทำตามคำสั่งที่ผู้ปกครองคอยสอนค่ะ
  6. ไม่เข้าใจคำพูด หรือ คำสั่งรายละเอียดปลีกย่อย เด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคนี้จะใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจประโยคต่างๆที่ผู้คนพูด หรือไม่ค่อยเข้าใจมุกตลกที่ผู้คนพูดกัน ไม่เข้าใจคำล้อเลียน ไม่เข้าใจว่าใครกำลังเล่นด้วยค่ะ
  7. ไม่ค่อยได้รับการใส่ใจอย่างเหมาะสม เด็กที่มีแนวโน้มเป็นโรคนี้ส่วนมากขาดการเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูค่ะ
  8. มีความผิดปกติออกทางร่างกายหรือสีหน้า ชอบทำท่าทางหรือสีหน้าที่ผิดปกติ เช่น ยืนจ้องมองบางสิ่งอย่างแบบจดจ่อ ทำสีหน้าเพิกเฉยต่อสิ่งที่คนพูดด้วย
  9. พัฒนาการช้ากว่าวัย เช่น เขียนหนังสือช้า ขี่จักยานช้า การที่เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าปกติก็มีแนวโน้มจะเป็นโรคนี้ได้เหมือนกันค่ะ
  10. ประสาทสัมผัสช้า เช่น การรับรู้กลิ่น ว่ากลิ่นนี้เป็นกลิ่นอะไร หรือการรับรู้การได้ยินเสียงอาจจะช้าไม่สามารถทำตามเสียงที่ได้ยินได้ค่ะ

ถ้าคุณคิดว่าลูกของคุณมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคนี้ คุณควรรีบปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง คุณจะได้รับคำปรึกษาที่ดีที่สุด และคุณก็สามารถช่วยให้ลูกหายจากอาการนี้ได้ค่ะ

Photo Credit: Flickr user rolandslakis

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular