fbpx
Homeการเลี้ยงลูกการดูแลสุขภาพเด็ก6 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยๆในการป้อนยาลูก

6 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยๆในการป้อนยาลูก

สภาพอากาศทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูก ๆ ของเราป่วยไข้ได้ ผลสุดท้ายก็ต้องให้ลูกทานยาเพื่อบรรเทาอาการ จากผลการศึกษาล่าสุดในวารสารกุมารเวชศาสตร์ ประเทศแคนนาดา เปิดเผยว่าเด็กจะได้รับยาที่ไม่ถูกต้องทุก 8 นาที และกว่าหนึ่งในสี่ของข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่าหนึ่งปี ถึงแม้ว่าข้อผิดพลาดในการได้รับยาเหล่านี้ยังไม่นำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็ตาม

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากยาน้ำบรรเทาอาการปวดลดไข้ และตามมาด้วยยาแก้แพ้ เราจึงอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ความระมัดระวังในการป้อนยาลูก และนี่คือตัวอย่างความผิดพลาดในการป้อนยาลูกที่พบมากที่สุดและเคล็ดลับที่จะช่วยให้ลูกของคุณปลอดภัย

  1. การป้อนยาในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง

เรามักจะป้อนยาลูกตามขนาดที่คุณหมอ หรือเภสัชกรเขียนมาให้บนถุงยา ซึ่งปริมาณยาอาจจ่ายให้ตามน้ำหนักของเด็กส่วนใหญ่ ซึ่งคุณแม่ควรจะคุยกับคุณหมอให้ชัดเจนว่าลูกของคุณมีอายุ น้ำหนักอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อที่จะได้รับปริมาณยาอย่างเหมาะสม ยาน้ำมักจะป้อนในหน่วยมิลลิลิตร คุณแม่ส่วนมากชอบใช้ช้อนโต๊ะหรือช้อนชาจากในครัว แท้จริงควรใช้ ไซริงค์ ถ้วยยาที่ได้จากเภสัชกรเพราะจะมีเส้นมิลลิลิตรบอกซึ่งจะมีความเที่ยงตรงมากกว่า คุณแม่อาจลองขอจากเภสัชกรตอนจ่ายยาก็ได้ค่ะ 

  1. ป้อนยาซ้ำ

เป็นข้อผิดพลาดที่พบบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทารกที่ไม่สามารถบอกคุณได้ว่าพวกเขาได้รับยาแล้ว ดังนั้นคุณควรมีตารางบันทึกสำหรับจดการป้อนยา ปัจจุบันอาจใช้แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนเข้ามาช่วยได้ และถ้ามีคนดูแลหลายคน ทุกคนจะต้องสื่อสารกันเพื่อที่จะไม่ป้อนยาซ้ำกัน หากมีการให้ยาซ้ำกัน 2 ครั้ง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทันที

  1. ป้อนยาในเวลาใกล้กัน

ควรป้อนยาตามเวลาและปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนด ไม่ควรขยับเวลากินยา หรือเพิ่มปริมาณเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

  1. ไม่เข้าใจหน่วยวัด

เภสัชกรมีหน้าที่จ่ายยาตามที่แพทย์สั่ง บางครั้งอาจมีความคลาดเคลื่อน เช่น หน่วยมิลลิกรัม มิลลิลิตร ไมโครกรัม ฯลฯ เนื่องจากแพทย์เขียนใบสั่งยาด้วยลายมือ คุณควรคุยกับเภสัชกรตอนจ่ายยาว่าเหมือนกับที่คุณหมอพูดในห้องตรวจไข้ 

  1. ให้ยาไม่ถูกต้อง

ควรอ่านฉลากสำหรับคำแนะนำและวันหมดอายุเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นยาที่เหมาะสมสำหรับอาการของเด็กและควรตรวจสอบวัดหมดอายุ อย่าถอดป้ายจากขวดยาใส่ในภาชนะบรรจุยาอื่น ๆ หรือนำยามาใส่ผสมร่วมกัน หมั่นตรวจเช็คในตู้ยาอยู่เป็นประจำ มียาหมดอายุหรือไม่ ถ้ามีให้ทิ้งทันที สำหรับยาไหนที่ไม่แน่ใจเรื่องวันหมดอายุไม่ควรรับประทานควรนำไปปรึกษาเภสัชกร

  1. ใช้ยาผิดชนิด

ยาชนิดทั่วไปจะเป็นยาทาน แต่บางครั้งอาจได้รับยาชนิดอื่นมา เช่น ว่าเป็นยาหยอดตา ยาพ่นจมูก หรือยาทาผิว ฯลฯ ดังนั้นคุณควรอ่านฉลากให้ดีก่อนทุกครั้งที่จะป้อนยาลูก

แนะนำเทคนิคการใช้ยากับลูกให้ปลอดภัย

  • เก็บรายชื่อของยาในปัจจุบันของบุตรท่าน(ไม่ว่าจะเป็นยาเสริมอาหารหรือยาสมุนไพร) ถ้าลูกของคุณมีการใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งควรตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรของคุณก่อนที่จะเริ่มทานอีกครั้ง
  • เก็บยาทุกชนิดให้พ้นมือเด็ก อย่าวางยาไว้ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ใหม่เร็ว ๆ นี้ เพื่อความปลอดภัยของลูก ๆ
  • แจ้งแพทย์ เภสัชกรทุกครั้ง ถ้ากำลังใช้ยาชนิดใดอยู่ มีการแพ้ยาหรือไม่ รวมทั้งโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ด้วย
  • ตรวจสอบให้แน่ใจในการจัดเก็บยาตามคำแนะนำบนฉลากและเภสัชกรของคุณ
  • บอกลูกของคุณว่านี่คือยา ไม่ใช่ลูกอมหรือขนม

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular