fbpx
Homeการตั้งครรภ์มาทำความรู้จัก "สัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนระยะคลอด" กันค่ะ

มาทำความรู้จัก “สัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนระยะคลอด” กันค่ะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ควรทำความเข้าใจถึง สัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนระยะคลอด ให้ดีนะคะ จะได้ทราบว่าอาการเจ็บท้องแบบไหนที่เป็นการเจ็บเตือน และอาการเจ็บท้องแบบไหน คือ เจ็บท้องคลอด เพราะเมื่อถึงเวลาใกล้คลอดคุณแม่จะได้มีสติสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

สัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนระยะคลอด

1.ท้องลด (Lightening or subcidence)

คือการที่ระดับหน้าท้องลดลงต่ำกว่าที่เคยเป็นอยู่ในการตั้งครรภ์ปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะใกล้คลอดค่ะ ก็คือประมาณ 4 สัปดาห์ก่อนคลอด สาเหตุที่ทำให้ท้องลดเนื่องจากหัวทารกผ่านลงช่องเชิงกราน ภาวะนี้เกิดขึ้นในส่วนใหญ่ประมาณ 70% ของครรภ์แรกนะคะ แต่ครรภ์หลังจะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นไม่ชัดเจน ซึ่งภาวะนี้จะส่งผลให้คุณแม่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย เพราะหัวทารกลงไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ แต่คุณแม่ก็จะคลายความอึดอัดลงและหายใจได้สะดวกขึ้นค่ะ

2.การเจ็บเตือน (False labour pain)

เกิดได้เสมอในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีแก๊สในลำไส้ ท้องผูก เด็กดิ้นแรง และเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งเกิดขึ้นตามปกติในระหว่างตั้งครรภ์ การเจ็บเตือนคุณแม่จะรู้สึกที่เจ็บหน้าท้อง การเจ็บจะไม่สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกนะคะ ระยะเวลาและความรุนแรงของอาการเจ็บก็จะไม่สม่ำเสมอ ไม่ถี่ขึ้น ไม่ทวีความรุนแรง บางครั้งอาจเจ็บนานหลายวินาทีก็ได้ นอกจากนี้นะคะ อาการเจ็บเตือนจะไม่มีอาการอื่นของการเข้าสู่ระยะคลอดร่วมด้วย อาการเจ็บเตือนจะหายไปเองเมื่อคุณแม่เดินไปเดินมามาก ๆ หรือให้ยาระงับปวด หรือยาระงับประสาท อาการเจ็บจะทุเลาและหายได้เช่นกันค่ะ

3. เจ็บท้องคลอดหรือเจ็บท้องจริง (True labour pain) 

การเจ็บท้องของคุณแม่จะเริ่มต้นที่บริเวณหลังใกล้บั้นเอว แล้วร้าวไปข้างหน้าบริเวณท้องน้อยและหน้าขาทั้งสองข้าง การเจ็บจะเป็นจังหวะและสม่ำเสมอขึ้น จะค่อย ๆ ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ระยะเวลาการเจ็บปวดก็จะยาวนานขึ้นเป็นลำดับและความรุนแรงของการปวดก็จะทวีขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกันค่ะ  การเจ็บจะมีความสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งคุณแม่อาจมีมูกหรือมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดได้ด้วย

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular