fbpx
Homeการตั้งครรภ์การคลอดและหลังคลอดคุณแม่ใกล้คลอด เมื่อเข้าห้องคลอดแล้ว เกิดอะไรบ้าง

คุณแม่ใกล้คลอด เมื่อเข้าห้องคลอดแล้ว เกิดอะไรบ้าง

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอดเข้าไปในห้องคลอด หรือ ห้องเตรียมคลอดแล้วพยาบาลจะเป็นผู้เตรียมตัวคุณแม่ให้พร้อมสำหรับการคลอดลูก สิ่งที่จะเกิดขึ้นในห้องคลอดหลังจากนี้นั้นมีอะไรบ้าง ดูได้ดังนี้ค่ะ

คุณแม่ใกล้คลอด เมื่อเข้าห้องคลอดแล้ว เกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่บ้าง?

1. ตรวจภายใน

การตรวจภายใน เป็นสิ่งจำเป็นที่คุณแม่ใกล้คลอดทุกคนต้องได้รับการตรวจ เพราะการตรวจภายในจะทำให้รู้ว่า ปากมดลูกเปิดกี่เซนแล้ว น้ำคร่ำแตกหรือยัง เด็กอยู่ในท่าไหน มีส่วนนำเป็นหัวหรือไม่ เรื่องพวกนี้จำเป็นและสำคัญมาก ๆ ค่ะ

2.ติดตั้งเครื่องฟังเสียงหัวใจเด็ก

การติดตั้งเครื่องฟังเสียงหัวใจเด็ก เรื่องนี้ก็สำคัญมากเพราะคุณหมอต้องฟังว่าหัวใจของทารกเต้นเป็นปกติหรือไม่ โดยปกติแล้วหัวใจของเด็กทารกจะเต้นเร็วกว่าของผู้ใหญ่ 110-160 ครั้ง/นาที ค่ะ

3.การเตรียมช่องคลอด

ถ้าคุณหมอดูแล้วว่าคุณแม่มีอาการเจ็บท้องจริงจะมีการ สวนอุจจาระ หรือ โกนขนบริเวณอวัยวะเพศ เพื่อความสะอาดและสะดวกต่อคุณหมอตอนทำคลอดค่ะ แต่การทำทั้ง 2 อย่างนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโรงพยาบาลและการตัดสินใจของคุณแม่ค่ะ

4.งดน้ำงดอาหาร

ถ้าคุณแม่ปากมดลูกเปิดมากแล้ว อาจให้งดน้ำงดอาหารเพื่อเตรียมตัวคลอดได้ตลอดเวลา เพราะถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินอาจต้องพิจารณาผ่าคลอด จึงต้องเตรียมพร้อมเรื่องนี้ไว้ค่ะ (เพราะถ้ามีอาหารขณะผ่าคลอดคุณแม่อาจสำลักอาหารเข้าไปในปอดได้ค่ะ)

5.ประเมินความถี่ของการเจ็บครรภ์

คุณหมอและพยาบาลจะทำการประเมินความถี่ของการเจ็บครรภ์ ว่าเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่ มดลูกแข็งตัวดีไหม ต้องใช้ยาเร่งหรือไม่ ดูว่าระยะรอคลอดว่านานเกินไปหรือไม่

6.การใช้ยาลดอาการปวด

ในระหว่างเจ็บครรภ์รอคลอดคุณแม่จะรู้สึกเจ็บปวดที่สุดในชีวิต ซึ่งบางคนก็อาจทนไม่ไหว จึงต้องพิจารณาให้ยาเพื่อลดอาการเจ็บปวด

7.ประเมินการคลอด

คุณหมอจะดูว่าการรอคลอดเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ในช่วงแรก ๆ ที่รอคลอดปากมดลูกจะเปิดเพียง 2-5 เซนติเมตร เปิดไปอย่างช้า ๆ จนกว่าจะครบ 10 เซนติเมตร แต่ถ้าคุณแม่ที่น้ำเดินหรือน้ำคร่ำแตก คุณหมอจะพิจารณาให้ใช้ยาเร่งคลอดทันที เพราะถ้าปล่อยให้น้ำเดินไปนาน ๆ เด็กอาจเกิดการติดเชื้อได้

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนการคลอดจริง เมื่อถึงเวลาที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร และมดลูกก็บีบถี่ขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ ระยะของการคลอดจริงค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular