fbpx
Homeการตั้งครรภ์รกคืออะไร? มีหน้าที่อะไร? มีความสำคัญกับทารกอย่างไร?

รกคืออะไร? มีหน้าที่อะไร? มีความสำคัญกับทารกอย่างไร?

รก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ รกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ความจริงแล้วรกเป็นเซลล์หนึ่งที่เกิดหลังจากการปฏิสนธิ เพราะเมื่อคุณแม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นร่างกายก็จะสร้างเซลล์ตัวนี้ขึ้นมาและจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเจริญเติบโตเป็นทารก ส่วนอีกเซลล์จะไปสร้างเป็นรกนั่นเอง รกจะเกาะอยู่ตรงส่วนผนังด้านในของมดลูก แต่อยู่นอกถุงน้ำคร่ำและจะมีสายสะดือเชื่อมระหว่างรกกับทารกไว้ค่ะ

ลักษณะของรก จะมีรูปทรงแบน ๆ เป็นแผ่นๆมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-20 เซนติเมตรและมีความหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ถ้าทารกตัวเล็กรกก็จะเล็ก ถ้าทารกมีขนาดตัวใหญ่รกก็จะใหญ่ไปด้วยค่ะ

*ภาพประกอบด้านล่างนี้อาจมีเนื้อหาสร้างความตกใจเราจึงซ่อนเอาไว้ ถ้าต้องการดูเพื่อเป็นการศึกษาสามารถคลิกเพื่อดูรูปภาพได้ค่ะ

[su_spoiler title=”คลิกเพื่อดูภาพประกอบ” style=”fancy” icon=”plus-circle”]

รูปรก
รูปรก

[/su_spoiler]

หน้าที่ของรก มีดังนี้

  • ลำเลียงอาหารและออกซิเจนไปยังลูกในท้อง
  • ทำหน้าที่ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากตัวเด็ก
  • ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ให้คุณแม่
  • สร้างฮอร์โมนช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมต่อการฝังตัวของไข่
  • รกจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ ถ้าคุณแม่มีสุขภาพที่ไม่ดีการทำงานของรกก็จะมีประสิทธิภาพต่ำลง

จากที่กล่าวมา รก มีความสำคัญสำหรับทารกมาก ถ้ารกทำงานเป็นไปตามปกติ คุณแม่ก็สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ตามปกติเช่นกัน แต่สำหรับคุณแม่บางท่าน ก็มีความผิดปกติของรกที่เกิดขึ้นได้ สิ่งที่พบบ่อยมากเรื่องของ รกผิดปกติ คือ

1.รกเกาะต่ำ เกิดจากที่รกเกาะยึดติดในที่ ๆ ไม่เหมาะสม อาจจะเกาะอยู่ต่ำลงมาทางปากมดลูก หรือ คุณแม่บางคนเกาะต่ำจนปิดปากมดลูกก็มีค่ะ ส่วนมากจะเกิดกับคุณแม่ครรภ์หลัง ๆ ซึ่งอาจเกิดจากขูดมดลูก ทำแท้ง การล้วงรก มดลูกมีแผลผ่าตัด การอักเสบติดเชื้อ มีแผลจากการหลุดลอกของรกในครรภ์ก่อน และอีกหลายสาเหตุค่ะ

2.รกลอกตัวก่อนกำหนด คือ การที่รกบางส่วนหรือทั้งหมดลอกตัวออกมาก่อนถึงเวลาคลอดซึ่งเป็นอันตรายกับคุณแม่และทารกในครรภ์มาก ถ้ารกลอกตัวบางส่วนหรือทั้งหมด อาจทำให้การลำเลียงอาหารไปสู่ลูกไม่เพียงพอต่อความต้องการ ลูกจะได้รับอาหารน้อยลง แม่จะเสียเลือดมาก จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ไตวาย เลือดไม่แข็งตัว ช็อกจากการเสียเลือดมาก ส่วนลูกก็อาจเสียชีวิตจากการขาดเลือดไปเลี้ยง จะต้องทำการผ่าคลอดโดยด่วนค่ะ

3.รกฝังตัวแน่นไม่ยอมคลอด โดยปกติหลังจากคลอดลูกแล้ว รกจะคลอดตามมาประมาณ 10-15 นาที ถ้ารอนานเป็นชั่วโมงคุณแม่จะเสียเลือดไปเรื่อย ๆ ถ้าเสียเลือดมากเกินไปอาจทำให้คุณแม่ ช็อกและเสียชีวิตจากการเสียเลือดมาก ดังนั้น ถ้าดูแล้วคุณแม่ไม่มีวี่แววว่าจะคลอดรกออกมาแน่ ๆ คุณหมออาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำรกออกมาเพื่อรักษาชีวิตคุณแม่ไว้ค่ะ

ดังที่ได้กล่าวมาด้านบนว่า รก มีความสำคัญกับทารกมาก ดังนั้นถ้าคุณแม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดกับร่างกายให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทันที เพื่อคุณหมอจะได้หาทางแก้ไขได้ทันเวลาค่ะ

Photo Cr: babylovencp.com, simple.wikipedia.org

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular