fbpx
Homeการตั้งครรภ์การคลอดและหลังคลอดอันตรายจากการคลอดธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้นได้

อันตรายจากการคลอดธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้นได้

น้อยครั้งที่คุณแม่จะมีโอกาสได้ทำคลอดแบบธรรมชาตินอกเขตโรงพยาบาล ปกติเมื่อน้ำเริ่มเดินแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะต้องไปโรงพยาบาลเพื่อเตรียมตัวคลอดลูกน้อยแล้ว น้ำเดินเป็นสัญญาณว่าทารกอยากจะออกจากครรภ์มาเผชิญโลกใบใหม่แล้ว คุณแม่ก็ไม่รู้หรอกว่าน้องจะอยากออกมาตอนไหน การพักที่โรงพยาบาลก่อนคลอดน่าปลอดภัยมากกว่า แต่ก็มีบ้างสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องคลอดบนรถแท็กซี่ หรือคลอดภายในบ้านพักเลย ผู้ทำคลอดก็ไม่ใช่สูติแพทย์ อาจเป็นคนใกล้ตัวหรือเจ้าหน้าที่จราจร

คุณแม่น่าจะเคยมีความคิดว่า การคลอดแบบธรรมชาติคงไม่เกิดปัญหาใดตามมา เพราะเป็นวิถีธรรมชาติที่สร้างมนุษย์ขึ้นมา แต่ในอดีตที่เทคโนโลยีการแพทย์ยังไม่ก้าวไกลขนาดนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ในยุคนั้นมีโอกาสคลอดธรรมชาติด้วยตัวเองกันมาก เพราะการคมนาคมที่พัฒนาไม่ทั่วถึง และรถราที่ไม่เยอะเหมือนทุกวันนี้ การคลอดเองมีความอันตรายอยู่ด้วย หรือแม้ได้ทำคลอดในโรงพยาบาลก็ตาม ยังเกิดเหตุการณ์ที่อันตรายสำหรับการคลอดเองด้วยซ้ำไปค่ะ

อันตรายจากการคลอดธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้นได้

การเย็บแผลช่องคลอดฉีกขาดที่ผิดพลาด การแทงวิถีเข็มที่พลาดทำให้เกิดแผลทะลุจากช่องคลอดเข้าสู่ช่องทวารหนัก วิธีการรักษาคือ ล้างช่องทวารให้สะอาด และแพทย์จะเย็บเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ตั้งแต่ชั้นผนังลำไส้(Mucosa) ที่อยู่ชิดติดกับช่องคลอด, ชั้นกล้ามเนื้อช่องคลอดส่วนลึก แล้วเย็บไล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ

ช่องคลอดฉีกขาดมากไป เพราะแพทย์ต้องการรักษาชีวิตทั้งแม่และและเด็ก ในกรณีที่คลอดเองไม่สำเร็จ หรือมีความเสี่ยงที่ทารกจะขาดออกซิเจน เป็นต้น

ทารกคลอดไหล่ติด (Shoulder dystocia) ปัญหานี้อาจทำให้ทารกพิการร่างกายหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งปัญหานี้ทางการแพทย์พยายามศึกษากันมานานแล้วก็ยังสรุปไม่ได้ ว่ารายใดน่าจะคลอดติดไหล่หรือไม่ติด

กรณีมดลูกปลิ้น (Uterine inversion) มีผลทำให้คนไข้เสียเลือดและอาจนำไปสู่การตัดมดลูกเพื่อหยุดเลือด หรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโผล่ออกมาพร้อมกับริดสีดวงทวาร ลักษณะเป็นก้อนลำไส้ขนาดใหญ่จุกอยู่ตรงรูทวาร

แขนของลูกหักจากการคลอด การคลอดทารกท่าก้น เป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายต่อลูก เนื่องจากเวลาคลอดก้น ซึ่งมีความนุ่มอาจจะคลอดออกมาได้ง่าย แม้ว่าปากมดลูกจะยังเปิดไม่หมดก็ตาม แต่ศีรษะที่คลอดตามออกมาอาจจะคลอดออกมาไม่ได้ถ้าปากมดลูกเปิดไม่หมด เพราะศีรษะค่อนข้างแข็งไม่สามารถถูกบีบให้ออกมาได้ง่าย ๆ เหมือนก้น ทารกที่คลอดโดยเอาก้นออกจึงมีโอกาสหัวติดคาที่ปากมดลูกตายได้ง่าย เนื่องจากการขาดออกซิเจน

กรณีที่แม่ไม่มีแรงเบ่ง เป็นโรคหัวใจหรือโรคครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงมาก เสียงหัวใจทารกเต้นช้ากว่าปกติ ฯลฯ หากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายได้ คุณหมอก็จะใช้เครื่องมือช่วยคลอด ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ คีมช่วยคลอด และ เครื่องดูดสุญญากาศ ซึ่งการจะเลือกใช้เครื่องมือชนิดใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแพทย์และตัวคุณแม่เอง เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้หากใช้โดยหมอที่มีความชำนาญแล้วก็จะไม่มีอันตรายต่อแม่และเด็ก

จากเหตุการที่เราได้กล่าวมานั้น อยากบอกให้คุณแม่ได้ทราบว่าปัญหาที่เกิดทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดเป็นประจำทุกวันของคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติหรอกนะคะ นาน ๆ จะเกิดขึ้นที และมีไม่ถึง 1% เสียด้วยซ้ำไปค่ะ แต่พอมีเหตุการณ์เกิดขึ้นทีไรมักจะเป็นเรื่องราวใหญ่โต คือจะมีการฟ้องร้องกันเสมอ เรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นทั้งนั้นจริงไหมคะ

ปัญหาที่เกิดขึ้นตอนคลอดไม่ได้อยู่ที่คุณหมออย่างเดียว ตัวคุณแม่เอง ทารกในครรภ์เอง ก็มีส่วนด้วยกันค่ะ คุณแม่จึงควรเผื่อใจเอาไว้บ้างนะคะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular