fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้คุณแม่"กระบังลมหย่อน" ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นอาการนี้?

“กระบังลมหย่อน” ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นอาการนี้?

กระบังลมหย่อน เป็นภาวะที่พบได้บ่อยของผู้หญิง ซึ่งในประเทศไทยพบได้ประมาณ 70% ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้หญิงที่เคยมีการคลอดบุตรมาแล้ว ผู้หญิงที่มีอายุมาก หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยคลอดลูกมาก่อนก็มีโอกาสที่จะมี อาการกระบังลมหย่อน ได้เช่นกัน เพียงแต่ผู้หญิงทีผ่านการคลอดบุตร คลอดบุตรยาก หรือมีลูกหลายคน จะอยู่ในกลุ่มปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้ กระบังลมหย่อน

  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่แรกสาว
  • ผ่านการตั้งครรภ์และคลอดแบบธรรมชาติหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่คลอดยาก ต้องใช้แรงเบ่งคลอดเยอะ ๆ
  • การไอเรื้อรัง การเบ่งอุจจาระแรง ๆ จะเป็นการเพิ่มความดันในช่องท้อง
  • โรคอ้วน คนที่มีน้ำหนักเกิน ส่วนมากจะมีแรงดันในช่องท้องมากกว่าคนปกติ
  • ผู้หญิงที่อายุมาก วัยหมดประจำเดือน มักเกิดภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยทอง เมื่อขาดฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ความยืดหยุ่นลดหายไป หย่อนคล้อยไม่คืนรูป
  • เคยรับการผ่าตัดบริเวณอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหรือช่องคลอด

อาการของกระบังลมหย่อน

  • สำหรับคนที่มีอาการไม่มาก จะรู้สึกได้ว่ามีอาการหน่วง ๆ ที่บริเวณท้องน้อย
  • มีก้อนโผล่ออกมาที่ช่องคลอด ซึ่งอาจจะเป็นผนังช่องคลอดหรือปากมดลูกโผล่ออกมานอกช่องคลอด หรือบางรายอาจจะเป็นมากจนมดลูกออกมาอยู่นอกช่องคลอดทั้งหมด
  • มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากปากมดลูกโผล่ออกมานอกช่องคลอดและถูกเสียดสี ทำให้เกิดแผลขึ้น ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจจะเป็นเนื้อรายได้
  • มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ ขึ้นอยู่กับว่ากระบังลมนั้นหย่อนมากน้อยแค่ไหนอาการที่พบเสมอ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากกระบังลมหย่อน ทำให้ถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด จึงถ่ายปัสสาวะบ่อย หรือแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ เนื่องจากมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ๆ หรือ กลั้นปัสสาวะไม่ได้  เวลาปวดจะไหลทันทีจนเข้าห้องน้ำไม่ทัน บางรายมีปัสสาวะเล็ดโดยเฉพาะเวลาไอ จาม หรือหัวเราะ ทำให้ไม่กล้าออกจากบ้าน หรือบางรายต้องใส่ผ้าอนามัยไว้ตลอดเวลา ทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะสืบพันธุ์ตามมาอีก เป็นต้น

วิธีป้องกันภาวะกระบังลมหย่อน คือ

  • คุณควรรออกกำลังกาย: เพื่อที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหดได้ดี ทำให้การคลอดบุตรง่ายขึ้น
  • การขมิบช่องคลอด:  เป็นคำแนะนำให้ออกกำลังกายแบบไม่เสียสตางค์ การขมิบก้นต้องทำวันละหลายสิบครั้งจะได้ผล
  • การทำรีแพร์: เป็นการตัดผนังช่องคลอดที่หย่อนคล้อยออกและเย็บผนังช่องคลอดที่เหลือเข้าหากัน เพื่อป้องกันไม่ให้มดลูกเคลื่อนหรือหลุดสร้างปัญหา
  • การผ่าตัดมดลูก: ในกรณีที่มดลูกหย่อนคล้อยออกมาบริเวณปากช่องคลอดหรือออกมาข้างนอก ซึ่งขณะที่ผ่าตัดแก้ไข คุณหมอจะแก้ไขผนังมดลูก ท่อปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เพื่อให้ควบคุมการขับถ่ายได้ตามปกติ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular