การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์อย่างมาก โอกาสเสียชีวิตสูงเพราะสภาพแวดล้อมในส่วนของปีกมดลูก หรือช่องท้องไม่เหมาะสมสำหรับทารกแน่นอน ส่วนใหญ่ทารกมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่ไตรมาสที่ ๒ ถ้าคุณแม่ไม่ใส่ใจก็ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ได้ การท้องนอกมดลูกในประเทศไทยพบได้ประมาณ 1 ต่อ 200 ของการคลอด และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเนื่องจากมีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานมากขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ
การป้องกันและดูแลตัวเองจาก การตั้งครรภ์นอกมดลูก
1.ไม่สำส่อนทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ด้วยความปลอดภัย โดยการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (เมื่อยังไม่พร้อมจะมีบุตร)
2.ถ้าเป็นโรคอักเสบในท่อนำไข่หรืออุ้งเชิงกราน ควรไปพบแพทย์และรักษาโรคให้หายขาด ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเกิดเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง และทำให้เกิดพังผืดมากมายในอุ้งเชิงกราน
3.ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จะได้รักษาอย่างทันท่วงที
4.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
5.ไม่ควรดื่มเหล้า สูบบุหรี่
6.การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงที่มีปัญหาท้องนอกมดลูก มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดไหล่เนื่องจากมีเลือดออกในช่องท้องแล้วไประคายเคืองที่กระบังลม อาการซีดมากแต่ประวัติเลือดออกทางช่องคลอดมีนิดเดียว หรืออาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างมากจนจะเป็นลมโดยไม่มีอาการอื่นอีก แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเมื่อร่างกายสตรีแสดงอาการ ร่วมถึงการตรวจภายในอย่างละเอียด
การรักษาเมื่อเกิดการท้องนอกมดลูก เริ่มตั้งแต่การคอยสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว, รักษาด้วยยา Methotrexate ปัจจุบันนิยมรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่มีการแตกของท่อนำไข่ หรือแตกเล็กน้อยและเลือดออกเล็กน้อยหรือหยุดไปแล้ว และการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ตรงจุดที่สุด
หากคุณเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกแล้ว หากไม่ทำการรักษาโดยลอกพังผืดออก หรือรักษาโดยการผ่าตัด โอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกก็เกิดขึ้นได้อีกนะคะ
Photo Credit :prevention.com
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
- วิธีแก้ปัญหานอนไม่หลับของคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3
- แม่แชร์ประสบการณ์! ตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง ห่างจากคนแรกเพียง 10 วัน
- 8 วิตามินสำคัญที่ควรได้รับก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์