fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์ตอบข้อสงสัย 7 เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ข้องใจมากที่สุด

ตอบข้อสงสัย 7 เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ข้องใจมากที่สุด

คุณแม่มือใหม่ที่เกิดความสงสัยว่า ระหว่างตั้งครรภ์นั้นต้องดูแลอะไรอีกบ้าง หลังจากคัดสรรเมนูที่ตรงตามโภชนาการแล้ว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว มีสิ่งใดที่ควรทำเพิ่มเติมหรือไม่ และสิ่งใดที่ควรหลีกเลี่ยงอีกบ้าง กิจวัตรเดิมที่เคยทำสามารถทำได้หรือไม่ หรือส่งผลร้ายแค่ไหน ข้อสงสัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์สงสัยกันเป็นจำนวนมาก เรามาคลายข้อสงสัยเหล่านี้กันค่ะ

ตอบข้อสงสัย 7 เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ข้องใจมากที่สุด

1. น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์:

หากคุณแม่รับประทานอาหารตามคำแนะนำแล้ว(โปรตีน, วิตามิน, เกลือแร่, ไอโอดีน, แคลเซียม, โฟเลต, ธาตุเหล็ก) น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 12 – 15 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 2 กิโลกรัม แต่ในไตรมาสแรกอาจน้ำหนักลดลงได้ เนื่องจากอาการแพ้ท้องที่อาเจียนบ่อย หรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้มาก ในไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงหมดอาการแพ้ คุณแม่สามารถออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อคุมไม่ให้น้ำหนักพุ่งเร็วเกินไป ส่วนไตรมาสสุดท้ายต้องระมัดระวังซักเล็กน้อย เพราะโอกาสคลอดก่อนกำหนดมีสูงหากออกแรงทำสิ่งใดมากเกินไป ในไตรมาสสุดท้ายนี้น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มสูงที่สุด

2. หากฉีดวัคซีนต่าง ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เพราะความไม่รู้ จะเป็นอันตรายไหม:

หากวัคซีนที่รับเป็นวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ไข้หวัดใหญ่ หรือหัดเยอรมัน ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ตัวเด็กอีกด้วย ตลอดระยะเวลา 9 เดือน คุณแม่อาจต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างเหมาะสม เพื่อทารกในครรภ์เติบโตแข็งแรง และสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยค่ะ

3. วิตามินเสริม จำเป็นหรือไม่:

สารอาหารที่คุณแม่ควรรับประทานเพิ่มคือธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยสนับสนุนการทำงานของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงที่เป็นตัวนำออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์ หากคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อย และหายใจไม่สะดวกได้ง่าย ทั้งนี้การรับประทานธาตุเหล็กควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะตามที่ร่างกายต้องการ ส่วนวิตามินและสารอาหารอื่น ๆ หากรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ตามคำแนะนำของแพทย์ จะไม่ทานวิตามินเพิ่มก็ได้ แต่ควรดื่มนมเป็นประจำเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูกทารกในครรภ์ ไม่ควรรับประทานยาธาตุเหล็กควบคู่กับนม เป็นอันตรายมากกว่าให้ประโยชน์

4. สามีอดรนทนไม่ไหว ขอมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์:

การมีเพศสัมพันธ์ไม่ถือว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อทารกในครรภ์ ยกเว้นว่าฝ่ายชายมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ช่วงไตรมาสที่ 3 ขอให้คุณพ่ออดทนนิดนึง เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมาก ครรภ์ของคุณแม่ไม่ควรรับแรงสะเทือนใด ๆ เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด และเด็กจะไม่แข็งแรงได้ หากไตรมาสที่ 1 และ 2 คุณแม่ต้องสังเกตด้วยว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ อาทิ เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด มีเลือดออกจากช่องคลอด ควรยุติกิจกรรมและพบแพทย์ทันที

5. นมที่ควรดื่ม:

ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดื่มนมได้ทุกประเภททั้งนมวัว นมแพะ  หรือนมถั่วเหลือง (ไม่จำเป็นต้องเป็นนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ได้ค่ะ)และควรดื่มเป็นเท่าตัว เพราะร่างกายของคุณต้องการแคลเซียม และลูกน้อยก็ต้องการแคลเซียม เจ้าแคลเซียมยังช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ด้วยนะ

6.ก่อนใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์:

ปรึกษาสูติแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะยาบางชนิดเป็นอันตรายต่อทารก อาทิคุณแม่ที่รักษาความงามต้องการรับประทานยารักษาสิว ซึ่งยารักษาสิวบางกลุ่มทั้งชนิดทาและชนิดรับประทาน เช่น ยากลุ่มกรดวิตามินเอหรือเรตินอยด์ ได้แก่ Tretinoin, Isotretinoin, Adapaleneและ Tazarolene จัดเป็นยาอันตรายที่มีผลต่อทารกในครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความพิการได้ ดังนั้นก่อนการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ และแจ้งทุกครั้งว่าตนเองตั้งครรภ์ เพื่อได้รับการจ่ายยาที่เหมาะสม

7. มีเนื้องอกระหว่างตั้งครรภ์:

ความอันตรายขึ้นกับตำแหน่งและลักษณะของเนื้องอก เมื่อคุณแม่คลำเจอควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินเนื้องอก และทำการรักษาต่อไป อย่างไรก็ดี การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่จำเป็น เช่น ตรวจหาเนื้องอกและทำการรักษาให้หายก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยลดภาวะครรภ์เสี่ยงได้

การดูแลครรภ์อย่างเหมาะสม ตามหลักโภชนาการและคำแนะนำของแพทย์ ทารกจะเติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง เมื่อเขาเติบโตคุณจะภูมิใจที่ดูแลครรภ์ได้อย่างดี หากคุณแม่มีข้อสงสัยนอกเหนือจากนี้ การปรึกษาสูติแพทย์ผู้รับฝากครรภ์จะได้รับคำแนะนำอย่างเหมาะสม เพราะร่างกายของคุณแม่ไม่เหมือนกัน การปรึกษาคุณหมอผู้ดูแลตลอด 9 เดือน จะเข้าใจได้ดีกว่าค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular