fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เกิดจากสาเหตุอะไร?

ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เกิดจากสาเหตุอะไร?

เมื่อสัญญาณจากร่างกายของภรรยาบ่งบอกว่ามีเจ้าตัวน้อยมาอยู่ด้วยแล้ว คู่สามีภรรยาต่างเกิดความยินดีอย่างมาก และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพ่อแม่มือใหม่ ทุก ๆ ครอบครัวคงไม่ต้องการให้เกิดสิ่งเลวร้ายใด ๆ ขึ้นกับทารกในครรภ์อย่างแน่นอน แต่บางครั้งความโชคร้ายก็ได้พรากทารกไปจากคุณแม่ตั้งแต่ยังไม่ลืมตาดูโลก แม้ไม่เห็นหน้า ไม่เคยสบตากันตรง ๆ ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต่างเกิดความเศร้าโศกเสมอ เพราะความรักและผูกพันได้เกิดขึ้นแล้ว สายใยเส้นเล็ก ๆ ได้หลอมรวมครอบครัวให้สมบูรณ์มากขึ้นแล้วนั่นเอง

ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุมาก การเสียชีวิตของทารกในครรภ์แบ่ง 2 ลักษณะคือ Early fetal demise และ Late fetal demise  การแบ่งเป็น 2 ลักษณะนี้ เนื่องจากสาเหตุการเสียชีวิตแตกต่างกันไป เรามาดูความหมายของทั้ง 2 แบบกันค่ะ

1.Early fetal demise

หมายถึง ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ การที่ทารกเสียชีวิตเมื่ออายุครรภ์ยังน้อยอยู่ เกิดได้จากความผิดปกติของโครโมโซมของทารกเอง หรือจากการขาดออกซิเจนเรื้อรัง หรือ ภาวะรกเสื่อม ทำให้ทารกในครรภ์ไม่สามารถเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ ซึ่งเราถือว่าเป็นการแท้งบุตร เพราะถึงแม้ทารกยังไม่เสียชีวิตแต่ถ้าคลอดออกมาในช่วงนี้ก็ไม่สามารถช่วยให้มีชีวิตรอดได้อยู่ดี

2.Late fetal demise

หมายถึง ทารกเสียชีวิตในครรภ์เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ เมื่อร่างกายของทารกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว แต่มีปัญหาอื่นตามมา อาทิ การไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอ คุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ซึ่งส่งผลต่อทารกในครรภ์โดยตรง นอกจากนี้ยังเกิดจากการตั้งครรภ์แฝด อายุของคุณแม่ที่มากขึ้น (อายุ 30 ปีขึ้นไป) หรือเกิดจากอุบัติเหตุ คุณแม่มีความเกี่ยวข้องกับสารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 

ข้อควรสังเกตว่า ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือไม่?

  1. ให้คุณแม่สังเกตอาการของตัวเองก่อนว่า อาการของคนท้องที่เคยเป็นอยู่ก่อนหน้านี้กลับหายไป เช่น จากที่เคยแพ้ท้องอยู่ ๆ ก็หายไปเลยเพราะโดยปกติอาการแพ้ท้องต้องค่อย ๆ หายไปอย่างช้า ๆ
  2. คุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอด
  3. ขนาดของท้องหรือน้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนกลับลดลง
  4. ทารกในครรภ์ไม่ดิ้น จากปกติที่เคยดิ้นเวลานี้กลับไม่ดิ้น หรือใช้วิธีกระตุ้นแล้วลูกก็ยังไม่ดิ้น

วิธีรักษาชีวิตลูกน้อยในครรภ์ เริ่มจากการตรวจร่างกายเพื่อความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ในส่วนของคุณพ่ออาจเป็นเรื่องความแข็งแรงของน้ำเชื้อ และโรคติดต่อทางเพศต่าง ๆ ร่วมถึงโรคติดต่อทางพันธุกรรม การตรวจร่างกายของคุณแม่เพื่อดูว่า ความหนาของมดลูก โรคประจำตัวต่าง ๆ อย่างเบาหวาน โรคความดันโลหิต เป็นต้น

คุณแม่บางรายมีมดลูกที่ไม่พร้อมกับการมีบุตร หากต้องการมีทายาทด้วยตนเองจริง ๆ ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาชีวิตของทารกไว้ สำหรับโรคประจำตัวของคุณแม่ที่มีผลต่อทารกนั้น แพทย์อาจแนะนำวิธีการดูแลครรภ์เป็นพิเศษมากขึ้น เพราะบางโรคส่งผลอย่างมาก ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular