fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้คุณแม่โรคโลหิตจาง หรือ โรคธาลัสซีเมีย อันตรายจากพ่อแม่สู่ลูก

โรคโลหิตจาง หรือ โรคธาลัสซีเมีย อันตรายจากพ่อแม่สู่ลูก

โรคทางพันธุกรรม ไม่มีคุณพ่อคุณแม่รายใดที่อยากส่งต่อความโชคร้ายสู่ลูกน้อย ทั้งคู่ต้องการให้ลูกได้เติบโตอย่างแข็งแรง มีสุขภาพดี พร้อมจะก้าวเดินในสังคมอย่างไม่อายใคร โรคทางพันธุกรรมบางโรคมีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ อย่างโรคโลหิตจาง จากอดีตที่มีเด็กเล็กและทารกมีความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคโลหิตจาง หรือเป็นปัญหาเมื่อเติบใหญ่ แต่เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ได้พัฒนา เพื่อรักษาโรคโลหิตจางให้หายไป เพราะเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยสูง การรักษาตั้งแต่เด็ก ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้อีกมากค่ะ

ทำความรู้จักกับโรคโลหิตจาง(โรคธาลัสซีเมีย)

ธาลัสซีเมีย หรือ โรคโลหิตจาง เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านยีนด้อย ซึ่งพบมากในบ้านเรา จากประชากรไทยราว 30 – 40 % จะเป็นพาหะถ่ายทอดสู่ลูกต่อไปได้ (พาหะ จะไม่แสดงอาการของโรค หากพาหะทั้งสองมีทายาทร่วมกันแล้ว โอกาสที่ทารกจะป่วยเป็นโรคโลหิตจางก็สูงขึ้น) โดยคนที่เป็นพาหะมักไม่ทราบว่าเป็น ในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รณรงค์ให้คู่สามีภรรยาตรวจหาความเป็นพาหะ เพื่อเตรียมรับมือกับทารกที่จะเกิดในอนาคต

อาการของโรคโลหิตจา(โรคธาลัสซีเมีย)

อาการของโรคโลหิตจาง มีความรุนแรงหลายระดับ ระดับรุนแรงที่สุดคือ ทารกจะบวมน้ำและเสียชีวิตภายในครรภ์ได้ ซึ่งอาการของโรคนี้มีได้ดังนี้ ตัวซีดเหลือง, ตาเหลือง, อ่อนเพลีย, ร่างกายเจริญเติบโตอย่างไม่เหมาะสม, ม้ามและตับโต ต้องรับเลือดเป็นประจำ ทำให้มีธาตุเหล็กเกินสะสมในร่างกาย มีผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ มีการเจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของตนเองและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง

การรักษาโรคโลหิตจาง(โรคธาลัสซีเมีย)

วิธีการรักษาโรคโลหิตจางให้หายขาดคือ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากไขกระดูก เซลล์ที่ปลูกถ่ายได้และเข้ากับร่างกายของเด็กได้ดีที่สุดคือพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งพ่อและแม่ หรือค้นหาจากผู้บริจาคที่มีเอชแอลเอ (HLA) ตรงกัน ซึ่งการรักษาโรคโดยวิธีนี้ทำได้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

เด็กที่ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ต้องดูแลเรื่องอาหาร ต้องรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม และเครื่องดื่มประเภทน้ำชา น้ำเต้าหู้ จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้บ้าง และควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ผาดโผน เนื่องจากมีภาวะกระดูกเปราะและหักได้ง่าย

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular