fbpx
Homeเรื่องน่ารู้โรคที่พบในวัยเด็กโรคลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

โรคลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

ตรวจทานความถูกต้องโดย ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์

โรคลมพิษในเด็ก คือ อาการผื่นแดงที่ขึ้นตามจุดต่างๆ ตามตัวลูก โรคลมพิษในเด็กหรืออาการผื่นลมพิษในเด็กมีหลายแบบ แบบที่ไม่เป็นอันตรายมากเมื่อเด็กๆ เป็นแล้วอาการผื่นแดงจะหายไปเอง แต่ก็มีบางอาการที่คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกไปหาหมอ เพื่อรับยามารักษาและอาจต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3-5 วัน ลูกน้อยถึงจะหายดีและกลับมาปกติ

โรคลมพิษในเด็ก มี 2 แบบ ดังนี้ค่ะ

  1. โรคลมพิษในเด็กแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เด็กที่เป็นลมพิษชนิดนี้ ผื่นลมพิษจะหายไปเองภายใน 1 วัน
  2. โรคลมพิษในเด็กแบบเรื้อรัง เด็กจะมีอาการเป็นๆ หายๆ เป็นอยู่ประมาณ 3-6 เดือน

สาเหตุที่เด็กเป็นลมพิษ มีดังนี้

สาเหตุที่เด็กเป็นลมพิษ

  1. เกิดจากกรรมพันธุ์ ของคนในครอบครัว คนในครอบครัวบางคนอาจมีอาการภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเป็นลมพิษ อย่างเช่น เด็กเป็นภูมิแพ้เกสรดอกไม้เมื่อโดนเกสรดอกไม้อาจทำให้ผิวของเด็กเป็นผื่นแดงและมีอาการคันได้ค่ะ
  2. เกิดจากการแพ้อาหาร เช่น นมวัว ไข่ แป้งสาลี ถั่วเหลือง ถั่วลิสงและถั่วเปลือกแข็ง อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหารบางชนิด ก็ทำให้เกิดการแพ้ได้ค่ะ
  3. แพ้ยา ยาบางชนิดสามารถทำให้เด็กมีอาการแพ้ได้
  4. ลมพิษที่เกิดจากการติดเชื้อในร่างกาย เช่น เป็นหวัด หรือ การติดเชื้อทางเดินหายใจ ทั้งจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  5. ลมพิษชนิดอนาไฟแลคสิส อาการลมพิษชนิดนี้จะรุนแรงมาก ควรสังเกตอาการลูกดังนี้ ลูกอาจมีอาการปากบวม หายใจติดขัด หน้าบวม หายใจไม่ออก งอแง หัวใจเต้นผิดปกติ กระสับกระส่าย ร้องไห้ไม่หยุด ลมพิษขึ้นทั้งตัว เด็กบางคนมีอาการช็อก ลมพิษชนิดนี้มักมีอาการบวมที่เนื้อเยื่อภายในและอักเสบจากอาการบวม ถ้าพบอาการนี้คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ

โรคลมพิษในเด็ก นอกจากจะเกิดจากกรรมพันธุ์ของพ่อแม่และคนในครอบครัวแล้ว ปัจจัยภายนอกก็ส่งผลทำให้เด็กเล็ก มักเกิดอาการผื่นแพ้ได้เช่นกัน เนื่องจากทารกส่วนใหญ่ ยังไม่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงมากพอ ทำให้เกิดการแพ้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจและหมั่นสังเกตอาการของทารกอย่างใกล้ชิด เมื่อลูกเริ่มมีอาการผิดปกติหรือร้องไห้งอแง ไม่สบายตัวหรือมีผื่นแดงคันขึ้นตามใบหน้าและตามลำตัว นี่อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกว่า ลูกน้อยอาจเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน

การรักษาโรคลมพิษในเด็ก

การรักษาโรคลมพิษในเด็ก

  1. รักษาตามอาการ ถ้ามีอาการไม่รุนแรงมาก ผิวมีผื่นแดงเล็กน้อยอาการจะหายไปเอง สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเเรื่องยาแก้แพ้ สำหรับลดอาการคันได้
  2. หยุดทำหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เป็นลมพิษ เช่น อาหารที่กิน
  3. ดูแลรักษาโรคที่อาจทำให้เป็นลมพิษ เช่น หวัด ไซนัส
  4. ถ้าพบว่ามีอาการรุนแรงต้องให้แพทย์วินิจฉัยโรคและรีบรักษาทันที เพื่อป้องกันอาการช็อกที่อาจจะเกิดขึ้นได้

คุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะนมแม่เป็นนมที่มีคุณสมบัติ Hypo-Allergenic (H.A.) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในเด็กได้ เพราะนอกจากนมแม่จะมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดแล้ว โปรตีนในนมแม่บางส่วนยังถูกย่อยจากเอนไซม์ตามธรรมชาติในนมแม่ ทำให้มีขนาดเล็กลง เป็นโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน (Partially hydrolyzed protein- PHP) รวมทั้งมีจุลินทรีย์ดี หรือโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น Bifidus BL ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่จะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า

โรคลมพิษในเด็ก อาจจะไม่ใช่อาการที่รุนแรงนัก แต่มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ก็อย่านิ่งนอนใจ ควรดูอาการลูกให้ดี อย่าปล่อยให้ลุกลาม ถ้าลูกมีอาการลมพิษ ไม่ควรไปสัมผัส กอดรัด กดทับที่บริเวณผื่นมากนัก เพราะอาจทำให้ผื่นแดงๆ ลุกลามได้ค่ะ

หากคุณแม่ต้องการเช็กเบื้องต้นว่าลูกน้อยเสี่ยงเป็นภูมิแพหรือไม่? สามารถเข้ามาทำแบบทดสอบเกี่ยวกับภูมิแพ้ในเด็ก เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้ หากรู้ก่อนแพ้ คุณแม่ก็จะสามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ของลูกน้อยได้เร็วยิ่งขึ้น

หรือคุณแม่ท่านใดที่มีความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ในเด็กและต้องการคำแนะนำในการป้องกันเพิ่มเติม สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับเราได้ที่ N Sensitive Club คลับที่คุณแม่ไว้ใจ รวมความรู้ทุกเรื่องของภูมิแพ้ในเด็ก

อ้างอิง

  1. Dallas DC, et al. J Mammary Gland Biol Neoplasia. 2015 Dec;20(3-4):133-47.

2. Dallas DC, et al. J Nutr. 2014 Jun;144(6):815-20

3. Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular