fbpx
Homeผู้หญิงไบโพลาร์ อาการเป็นอย่างไร เช็กสัญญาณเตือน คุณกำลังเป็นโรคนี้หรือเปล่า

ไบโพลาร์ อาการเป็นอย่างไร เช็กสัญญาณเตือน คุณกำลังเป็นโรคนี้หรือเปล่า

เมื่อเราเอ่ยถึงโรคในปัจจุบันย่อมมีทั้งโรคที่เกิดขึ้นทางร่างกายซึ่งแสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนทั้งส่วนของบาดแผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามร่างกาย หรือ การที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่าปกติ หรือ แม้แต่อาการแดงหรือคล้ำขึ้นของสีผิว เป็นต้น และอีกหนึ่งประเภทของโรคก็คือโรคที่เกี่ยวข้องกับสภาพอารมณ์หรือจิตใจของเราซึ่งก็ปรากฎให้เห็นได้เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันทั้งส่วนของโรคซึมเศร้า โรคหวาดระแวง โรคกลัวที่แคบหรือแม้แต่โรคไบโพลาร์ โดยในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปพบกับโรค ไบโพลาร์ อาการ เป็นอย่างไร และเราจะขอพาทุกท่านไปร่วมเช็กสัญญาณเตือนว่าตัวคุณเองนั้นกำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่

ไบโพลาร์ อาการเป็นอย่างไร มาเช็กกันก่อน

ไบโพลาร์ หรือ Bipolar Disorder หรือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว เป็นโรคหนึ่งที่เกิดความผิดปกติของอารมณ์ในคนคนเดียวกัน ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน และการแสดงอารมณ์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะแตกต่างกันอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งเราขอเรียกว่าเป็นอาการดีมาก และ อาการร้ายมาก โดยโรคไบโพลาร์ อาการทั้งดีมากและร้ายมากมีการแสดงอาการดังนี้

  1. อาการดีมาก (Manic Episode) ของโรคไบโพลาร์ อาการดีมากจะมีพลังแบบเต็มเปี่ยมเกินล้น เริ่มตั้งแต่การพูดคุยจะสามารถหาเรื่องพูดคุยได้อย่างต่อเนื่อง และเกือบจะตลอดเวลา ร่วมด้วยส่วนของอารมณ์ที่ร่าเริงแจ่มใสอย่างผิดปกติ นอกจากนี้ในกรอบความคิดก็จะมีความเป็นปัจเจกบุคคลที่ค่อนข้างสูง ไม่ค่อยยอมใคร แต่เปี่ยมไปด้วยเรี่ยวแรงและพลังงาน ทำให้ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ อาการดีมากจะอยู่ไม่นิ่ง มีกิจกรรมทำเกือบจะตลอดเวลา และมีความคิดต่อเนื่องในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ในบางรายเมื่อมีอาการดีมากจะชอบไปช้อปปิ้งและใช้จ่ายอย่างฟุ่งเฟือย
  2. อาการร้ายมาก (Depressive Episode) หรืออาการของภาวะเศร้าอย่างเฉียบพลันรุนแรง โดยผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ อาการร้ายมากมักมีความคิดด้อยค่าตนเอง เมื่อไม่เห็นคุณค่าในตนเองก็จะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ หรือ อาการเศร้าขึ้นซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ และที่น่ากลัวก็คือเมื่อเป็นโรคซึมเศร้าแล้วมักจะมีความคิดในการฆ่าตัวตายหรือปลิดชีพตนเองได้ นอกจากนี้แล้วเมื่อผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ อาการร้ายมากจะหมดความสนใจกับสิ่งรอบข้าง เมื่อต้องตัดสินใจสิ่งใด ๆ ก็จะช้า ร้องไห้ได้ง่าย รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ร่วมด้วยการเบื่ออาหารทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ต่อด้วยการง่วงนอนอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะนอนอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

ไบโพลาร์ รักษาได้อย่างไร

ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ยังนับว่าเป็นผู้ที่มีความโชคดีอยู่ เพราะหากตรวจเจออาการของโรคต้องสงสัยว่าเป็น เข้ารับการวินิจฉัยและยืนยันจากทีมแพทย์แล้วก็จะสามารถรักษากับทีมแพทย์ให้หายขาดแบบ 100% สามารถเข้าร่วมกลุ่มสังคมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้แบบปกติกันเลย โดยมีแนวทางในการรักษาดังนี้

1.การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยยืนยันถึงการเป็น Bipolar Disorder จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

2.รับยาจากทีมแพทย์เพื่อควบคุมระดับของสารเคมีต่าง ๆ ภายในระบบชีวภาพของร่างกายมนุษย์ให้อยู่ในระดับสมดุล โดยสารเคมีในระบบชีวภาพของร่างกายมนุษย์ที่มีผลต่อการเกิด Bipolar Disorder ก็คือส่วนของสารสื่อประสาทที่แล่นอยู่เกือบทุกอวัยวะของร่างกาย

3.ทานยาที่แพทย์ให้อย่างเคร่งคัด แม้ว่า Bipolar Disorder จะมีอาการทุเลาลงก็ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะการหยุดยาจะกลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเป็น Bipolar Disorder มากขึ้นไปอีก

4.ทำการบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เพื่อให้ผู้ที่ป่วยเป็น Bipolar Disorder สามารถเข้าใจสภาวะร่างกาย สภาวะอารมณ์และสภาวะจิตใจของตนเอง ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ความสบายใจ และความเข้าใจตนเองของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

5.สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วยเป็น Bipolar Disorder ทั้งการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเครียด หรือ ความวิตกกังวลที่มากเกินไป

6.คนรอบข้างต้องมีความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ป่วย คอยช่วยเหลือและเฝ้าระวัง รวมถึงดูแลผู้ที่เป็น Bipolar Disorder อย่างใกล้ชิด แต่มีการเว้นช่องว่างในการเฝ้าระวังและดูแลเพื่อไม่ทำให้ผู้ที่เป็น Bipolar Disorder เกิดความรู้สึกอึดอัดขึ้นได้

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นไบโพลาร์

เราสามารถดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคดังกล่าวได้ ดังนี้

1.ทานยาตามแพทย์สั่ง

2.หลีกเลี่ยงสถานการณ์แห่งความเครียด

3.เลือกเข้าสังคมกัลยาณมิตร

4.พักผ่อนให้เพียงพอ

5.ทำจิตใจให้แจ่มใส พร้อมเรียนรู้สภาวะอารมณ์ของตนเอง

ใครบ้างที่เสี่ยงมีอาการไบโพลาร์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย

สำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วนี้ก็แบ่งได้เป็นสองกรณีคือกรณีที่มีประวัติของคนที่บ้านเป็นจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูง และอีกกรณีก็คือการตกอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคดังกล่าว ทั้งสิ่งแวดล้อมที่กดดัน เครียด หรือ แข่งขันสูง เป็นต้น

ด้วยการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการเร่งรีบ จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิด Bipolar Disorder ขึ้นได้ และเนื่องด้วยโรคดังกล่าวเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ เราจึงควรมีการประเมินตนเองและคนรอบข้างจากบทความข้างต้นในหัวข้อผู้ป่วยโรค ไบโพลาร์ อาการ ที่ปรากฎเป็นอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคที่รุนแรงต่อไป นอกจากนี้หากคุณพบว่าคุณหรือคนรอบข้างกำลังเป็นโรคนี้อยู่ก็สามารถรักษาได้ เพียงแค่ต้องนำเทคนิคการรักษาและการดูแลตัวเองจากบทความข้างต้นไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนนั่นเอง

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular