fbpx
Homeการเลี้ยงลูกลูกกินข้าวยาก รับมือกับ 7 วิธี ที่จะทำให้ลูกกินข้าวง่ายขึ้น

ลูกกินข้าวยาก รับมือกับ 7 วิธี ที่จะทำให้ลูกกินข้าวง่ายขึ้น

เมื่อถึงช่วงวัยที่ลูกน้อยของคุณต้องเปลี่ยนจากการดื่มนมเพียงอย่างเดียวมาเป็นการเสริมด้วยอาหารเสริม แล้วผลัดเปลี่ยนจากนมที่เคยเป็นอาหารหลักมาเป็นอาหารที่คุณแม่เตรียมให้แทน คุณแม่หลาย ๆ บ้านจะพบกับหนึ่งปัญหาตามมานั่นก็คือการที่ลูกกินข้าวยากหรือลูกไม่กินข้าว ซึ่งในบทความนี้เราจะขอพาเหล่าคุณแม่ไปพบกับ 7 วิธีที่ช่วยให้ลูกน้อยรับประทานข้าวได้มากขึ้น

ลูกกินข้าวยาก เพราะอะไร?

เราขอเริ่มต้นพาคุณแม่มาไขข้อสงสัยว่าเหตุใดลูกกินข้าวยาก ซึ่งมีดังนี้

  1. ลูกกินข้าวยากเพราะห่วงเล่น หรือ ติดการรับชมโทรทัศน์ แล้วรู้สึกว่าการกินข้าวทำให้เสียเวลา อยากใช้ช่วงเวลานี้ไปเล่นหรือรับชมโทรทัศน์มากกว่า
  2. ลูกกินข้าวยากเพราะมีความอิ่มจากนมที่คุณแม่ให้ลูกน้อยได้ดื่มไปก่อนการกินข้าว หรือ การที่ลูกน้อยกินขนมหวานซึ่งมีส่วนกดประสาทในส่วนของความหิวของลูกน้อย
  3. ลูกน้อยกินข้าวยากเพราะคุณแม่จัดเวลาในการรับประทานอาหารของลูกน้อยในแต่ละวันในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ส่วนนี้ก็ทำให้ลูกน้อยไม่เกิดความอยากอาหารในช่วงเวลาเดิม ๆ
  4. ลูกน้อยกินข้าวยากเพราะส่วนของอาหารโดยตรง ทั้งนี้ก็เกิดมาจากการเตรียมอาหารของคุณแม่นั่นเอง ในบางครั้งอาหารที่บดจนละเอียดก็ทำให้ลูกน้อยไม่อยากทานจากลักษณะของเนื้อสัมผัส หรือ การเตรียมอาหารที่มีขนาดใหญ่เกินไปแล้วทำให้ตักรับประทานได้ยาก ทำให้ลูกน้อยเกิดความเบื่อหน่ายและนำไปสู่การไม่อยากกินในที่สุด
  5. ลูกน้อยกินข้าวยากเพราะบรรยากาศในการรับประทานอาหาร อาทิเช่น เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารก็ให้ลูกน้อยรับประทานเพียงคนเดียวทำให้ลูกน้อยไม่อยากทานได้ หรือ การที่คุณแม่ดุหรือทำโทษเมื่อลูกน้อยไม่ทานข้าวหรือเมื่อลูกน้อยอมข้าวจนทำให้ลูกน้อยเกิดความหวาดกลัว และเกิดการจดจำ ในส่วนนี้ก็ทำให้ลูกน้อยไม่ชื่นชอบช่วงเวลาที่จะต้องรับประทานอาหาร พาลให้ลูกน้อยไม่อยากรับประทานอาหารในที่สุด

7 วิธีรับมือเมื่อลูกกินข้าวยาก ไม่ค่อยกิน

เมื่อคุณแม่ได้ทราบสาเหตุกันจากหัวข้อก่อนหน้าแล้วว่าการที่ลูกกินข้าวยากเกิดจากอะไรได้บ้าง ในหัวข้อนี้เราก็จะมาเปิดเผย 7 วิธีที่จะมาช่วยรับมือลูกไม่กินข้าว ซึ่งมีดังนี้

  1. การจำกัดปริมาณนมของลูกน้อย เมื่อให้ลูกน้อยกินข้าว เพราะหากลูกน้อยของคุณยังคงดื่มนมในปริมาณเท่าเดิมจะทำให้ลูกน้อยไม่เกิดความอยากอาหาร แล้วพาลไม่กินข้าวหรือกินข้าวในแต่ละมื้อได้ค่อนข้างน้อย
  2. การสร้างบรรยากาศที่ดีบนโต๊ะอาหาร ส่วนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรรับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับลูกน้อยด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอยากร่วมโต๊ะเพื่อรับประทานอาหารของลูกน้อย และเมื่อลูกน้อยได้นั่งร่วมโต๊ะอาหารก็จะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบจากสิ่งที่เห็น อาทิเช่น การตักอาหารเข้าปากเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่ เป็นต้น
  3. เริ่มให้ลูกน้อยรับประทานอาหารด้วยตนเอง เมื่อลูกน้อยมีอายุประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความสนุกสนานให้กับลูกน้อย และทำให้ลูกน้อยได้พัฒนาส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับอาหาร ส่วนนี้จึงช่วยให้ลูกน้อยรับประทานอาหารได้มากขึ้น
  4. งดส่วนของขนมระหว่างมื้ออาหาร โดยเฉพาะขนมที่มีรสหวานอย่างเบเกอรี่ ไอศกรีม ช็อกโกแลต เพราะขนมที่มีรสหวานเหล่านี้จะทำให้ลูกน้อยมีความรู้สึกอิ่มแล้วทำให้ลูกไม่กินข้าว นอกจากนี้การที่ลูกน้อยกินขนมแล้วแปรงฟันไม่สะอาดก็จะทำให้เกิดอาการฟันผุในลูกน้อยได้อีกด้วย
  5. เมื่ออยู่ในช่วงของการกินข้าวของลูกน้อย ต้องงดทุกกิจกรรมที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อยเพื่อให้ลูกน้อยได้โฟกัสอยู่กับการกินข้าว โดยกิจกรรมที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อยก็เป็นไปได้ทั้งจากการมองหรือการรับชมอย่างการดูทีวี หรือ จะเป็นการเบี่ยงเบนจากการหยิบจับอย่างการเล่นของเล่นหรือการเล่นแท็บเล็ต เป็นต้น
  6. การจัดอาหารของลูกน้อยให้มีความดึงดูดใจลูกน้อยทั้งการส่วนของสีสันและส่วนของลักษณะอาหารที่จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถหยิบตักได้ง่าย หากเป็นอาหารประเภทเส้นก็ควรตัดให้สั้น ๆ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถตักเข้าปากด้วยตนเองได้ง่าย และส่วนที่สำคัญอีกจุดที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามในการเตรียมอาหารสำหรับลูกน้อยก็คือปริมาณอาหารในจานของลูกน้อยที่ไม่ควรมากเกินไป ควรจัดปริมาณให้เหมาะสม
  7. จัดเวลาในการรับประทานอาหารของลูกน้อย ในแต่ละวันให้เป็นช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อให้ร่างกายของลูกน้อยเกิดการจดจำ เมื่อใกล้ถึงเวลารับประทานอาหารก็จะทำให้ลูกน้อยเกิดความอยากอาหารเองโดยอัตโนมัติ

จากบทความข้างต้นนี้คงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยคุณแม่สำหรับหนึ่งกิจกรรมของลูกน้อยอย่างการรับประทานข้าวซึ่งนับเป็นหนึ่งกิจวัตรประจำวัน แต่ด้วยสาเหตุที่เราได้รวบรวมมาในบทความข้างต้นคงทำให้คุณแม่เข้าใจว่าทำไมลูกกินข้าวยาก และก็ไม่ต้องเป็นที่กังวลใจไปหาก ลูกกินข้าวยาก เพราะในบทความข้างต้นเราก็ได้รวบรวมวิธีการรับมือลูกน้อยที่กินข้าวยากมาให้แล้วถึง 7 วิธีด้วยกัน ซึ่งทั้ง 7 วิธีนี้ก็ถูกพิสูจน์มาจากหลาย ๆ ครอบครัวว่าใช้แล้วได้ผลจริง คุณแม่จึงสามารถนำไปทดลองใช้กันได้เลย

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular