fbpx
Homeการเลี้ยงลูกวิธีเลือกนิทานเด็ก ให้เหมาะกับลูกรักวัย 1-3 ขวบ

วิธีเลือกนิทานเด็ก ให้เหมาะกับลูกรักวัย 1-3 ขวบ

กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยจัดเป็นหนึ่งกิจกรรมในครอบครัวเลยก็ว่าได้ เพราะกิจกรรมการสร้างพัฒนาการของลูกน้อยนี้จะช่วยเสริมสร้างทั้งความสัมพันธ์ในครอบครัวทั้งความใกล้ชิดระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย หรือ ความใกล้ชิดระหว่างคุณพ่อกับลูกน้อย หรือแม้แต่คนรอบตัวลูกน้อยคนอื่น ๆ นอกจากนี้กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยก็ยังช่วยให้ลูกน้อยของคุณเติบโตเป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามวัยที่ควรจะเป็นไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสมอง หรือ แม้แต่พัฒนาการทางด้านจิตใจ และหนึ่งในกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยที่เป็นที่นิยมก็คือการเล่า นิทานเด็ก สำหรับบทความนี้เราจะขอพาเหล่าคุณพ่อคุณแม่ไปพบกับวิธีการเลือกนิทานเด็กสำหรับลูกรักในวัย 1 – 3 ขวบกัน

นิทานเด็ก สำหรับวัย 1-3 ขวบ ควรเลือกอย่างไร

เราขอเริ่มจากการพาคุณพ่อคุณแม่ไปพบกับวิธีการเลือกนิทานสำหรับลูกน้อยกัน ซึ่งมีดังนี้

  1. นิทานเด็กควรมีขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสม รวมไปถึงรูปทรงและลักษณะกระดาษที่ไม่บาดทำให้ลูกน้อยบาดเจ็บได้
  2. นิทานเด็กควรมีสีสันสดใสเพื่อดึงดูดใจลูกน้อย
  3. นิทานเด็กควรมีตัวหนังสือขนาดใหญ่ ตัวหนังสือไม่มากจนเกินไป สามารถอ่านออกเสียงได้โดยง่าย

แนะนำ 5 หนังสือนิทานสำหรับเด็กวัย 1-3 ขวบ

ถัดมาเราก็ขอพาคุณพ่อคุณแม่มาพบกับ 5 หนังสือนิทานที่เหมาะสำหรับลูกรักในวัย 1 – 3 ขวบ ดังนี้

1.“คุณฟองนักแปรงฟัน”

สำหรับนิทานเด็กเรื่องแรกที่เรามาแนะนำในบทความนี้ โดยคุณฟองนักแปรงฟันเป็นนิทานจากสำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก ที่มีการแต่งเนื้อเรื่องและรังสรรค์ภาพประกอบโดยคุณชีวัน วิสาสะ นิทานเรื่องคุณฟองนักแปรงฟันนี้มีจำนวนทั้งหมด 32 หน้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวของคุณฟองที่มีกิจวัตรในการแปรงฟันให้ตนเอง จากนั้นคุณฟองก็จะออกเดินทางไปแปรงฟันให้เพื่อน ๆ ที่มีทั้งคุณหมี คุณปลา คุณฮิปโป คุณจระเข้ และ คุณช้าง พร้อมกับการร้องเพลงไปด้วยทุกครั้งในบทเพลงเดิม ๆ ที่ว่า “ฟันบนก็แปรงลงล่าง ฟันล่างก็แปรงขึ้นบน”  และในส่วนของตอนจบของเรื่องก็มีบทของคุณช้างที่ตอบคุณฟองกลับมาด้วยว่า “ตัวโตแล้วแปรงฟันเองได้แล้ว” นอกจากนี้นิทานเรื่องคุณฟองนักแปรงฟันยังมีตัวหนังสือที่มีขนาดใหญ่บนพื้นกระดาษขาวทำให้อ่านง่ายพร้อมตัวการ์ตูนสัตว์ต่าง ๆ ที่มีสีสันสดใส พร้อมแฝงนัยยะทั้งการสอนการแปรงฟันในลูกน้อย และการสอนให้ลูกน้อยแปรงฟันด้วยตัวเองจากคำพูดของคุณช้างในตอนท้ายของเรื่อง

2.“อาหารของใคร”

นิทานเด็กเรื่องที่สองซึ่งเรามาแนะนำในบทความนี้ โดยอาหารของใครเป็นนิทานจากสำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก ที่มีการแต่งเนื้อเรื่องโดยคุณสาธิตา ทรงวิทยา และรังสรรค์ภาพประกอบโดยคุณ สวนีย์ พรวิศวารักษกูล นิทานเรื่องอาหารของใครนี้มีจำนวนทั้งหมด 24 หน้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวของการตั้งคำถามเกี่ยวกับอาหารแล้วมีการตอบว่าเป็นของโปรดของสัตว์ชนิดใด อาทิเช่น “แครอทหัวนี้ใครชอบกินเอ่ย” คำตอบก็จะเป็น “เจ้ากระต่าย” ถัดมาเรื่อย ๆ ในสัตว์นานาชนิด และในส่วนของตอนจบของเรื่องก็มีคำถามที่ว่า “อาหารจานนี้ ใครชอบกินเอ่ย” และลูกน้อยของคุณก็จะตอบว่า “หนูเอง” นอกจากนี้นิทานเรื่องอาหารของใครยังแฝงนัยยะทั้งการสอนให้ลูกน้อยรู้จักกับสัตว์และอาหารของสัตว์เหล่านั้น พร้อมสอนให้ลูกน้อยชื่นชอบการกินอาหารอีกด้วย

3.“มิฟฟี่ไปโรงเรียน”

จากสำนักพิมพ์แฮปปี้ คิดส์ ที่มีการแต่งเนื้อเรื่องและรังสรรค์ภาพประกอบโดยคุณดิค บรูนา มีการแปลโดยน้านกฮูก นิทานเรื่องมิฟฟี่ไปโรงเรียนนี้มีจำนวนทั้งหมด 32 หน้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวของการไปโรงเรียนด้วยความสนุกสนานผ่านตัวละครมิฟฟี่ นอกจากนี้นิทานเรื่องมิฟฟี่ไปโรงเรียนยังแฝงนัยยะทั้งการสอนให้ลูกน้อยรักการไปโรงเรียนอีกด้วย

4.“ตด, อึ”

 จากสำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก ที่มีการแต่งเนื้อเรื่องและรังสรรค์ภาพประกอบโดยคุณชินตะ โช และคุณทาโร โกมิ มีการแปลโดยคุณพรอนงค์ นิยมค้า นิทานเรื่องตด, อึนี้มีจำนวนทั้งหมด 32 หน้าด้วยกัน ซึ่งเป็นหนังสือนิทานแนววิทยาศาสตร์ในหมวดร่างกายมนุษย์ โดยเล่าเรื่องราวของสัตว์และการตดหรืออึ ซึ่งเป็นการแฝงนัยยะทั้งการสอนให้ลูกน้อยมีวินัยในการขับถ่าย

5.“แบ่งฉันบ้างซิ”

จากสำนักพิมพ์ Pass Publishing ที่มีการแต่งเนื้อเรื่องและรังสรรค์ภาพประกอบโดยคุณศักดิ์ชัย ศรีวัฒนาปิติกุล ซึ่งเป็นหนังสือนิทานแนวภาพที่ไม่มีตัวอักษรเลย โดยเล่าเรื่องราวของผลไม้ผลหนึ่งที่ร่วงตกลงมาผ่านสัตว์ต่าง ๆ มาหยุดที่คุณแม่และลูกน้อย และผลไม้นี้ก็เป็นที่ต้องการของทั้งสัตว์และลูกน้อย คุณแม่จึงแบ่งผลไม้ตามจำนวนให้ทุกคนได้กินกัน ซึ่งเป็นการแฝงนัยยะการสอนให้ลูกน้อยมีนิสัยแบ่งปัน

จากบทความข้างต้นคุณพ่อคุณแม่ก็จะได้พบกับวิธีการเลือก นิทานเด็ก สำหรับลูกรักในวัย 1 – 3 ขวบรวมไปถึง 5 นิทานเด็กที่เราได้คัดมาเป็นตัวอย่าง ในส่วนนี้คุณพ่อคุณแม่ก็จะพบว่าการเล่านิทานให้ลูกน้อยนั้นไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยการปลูกฝังและการสอนลูกน้อยอีกด้วย และนอกจากนิทานเหล่านี้แล้ว ก็มีนิทานพื้นบ้านสั้นๆ อีกมากมายที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

 

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular