fbpx
Homeผู้หญิงรู้ทัน! 5 โรคที่มากับฝน ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคได้

รู้ทัน! 5 โรคที่มากับฝน ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคได้

ย่างเข้าเดือนกรกฎาคมของทุกปี ประเทศไทยก็จะย่างเข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการทำให้เกิดความชุ่มฉ่ำเปียกปอนเกือบทั่วทั้งประเทศ นอกจากบรรยากาศแห่งความเปียกปอนแล้วหน้าฝนยังแฝงมาด้วย โรคที่มากับฝน สำหรับบทความนี้ เราขอพาทุกท่านไปรู้ทัน! 5 โรคหน้าฝน เพื่อเป็นการป้องกันและดูแลทั้งตัวเองและคนที่เรารักให้ห่างไกลจากโรคเหล่านั้นกัน

5 โรคที่มากับฝน อาการและวิธีป้องกัน

เราไปพบกับโรคที่มากับหน้าฝนยอดฮิตที่มักเกิดได้กับทุกคนพร้อม ๆ กันเลย

1.โรคไข้หวัด

โรคแรกที่เป็นโรคที่มากับฝนนี้ เป็นโรคที่เกิดได้บ่อยมาก มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้างเกิดได้ทั้งกับเด็กเล็กและผู้ใหญ่ โดยโรคไข้หวัดนี้ยังสามารถแบ่งได้เป็นโรคไข้หวัดธรรมดาหรือโรคไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) และ โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งโรคไข้หวัดธรรมดา และ โรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการที่แตกต่างกัน แต่มีวิธีรักษาและวิธีป้องกันที่เหมือนกัน ดังนี้

อาการ

โรคไข้หวัดธรรมดา  มีอาการไข้ น้ำมูก แต่จะสามารถหายได้เองหากรับการรักษาที่ถูกต้องภายใน 3 – 4 วัน

โรคไข้หวัดใหญ่  มีอาการไข้สูง มีน้ำมูก ไอร่วมด้วยอาการปวดศีรษะ หอบ กล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามร่างกายซึ่งแตกต่างจากอาการของโรคไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดทั่วไป

วิธีรักษา

  • ทำร่างกายให้อบอุ่น โดยการห่มผ้า หรือ สวมเสื้อผ้าหนาๆ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเย็นหรืออากาศหนาว
  • รับประทานยาโดยรับคำแนะนำจากแพทย์ ในส่วนนี้แพทย์มักให้ยาตามอาการประกอบไปด้วยยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาแก้ไข้ ยาคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงยาฆ่าเชื้อที่จะไปช่วยกำจัดสาเหตุของโรค ในบางรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์ก็จะให้ยาโดยการฉีดเพื่อผลการรักษาที่รวดเร็วขึ้น

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดในหน้าฝน เพราะโรคไข้หวัดธรรมดาสามารถติดผ่านละอองฝอยในอากาศได้ หากมีผู้ที่เป็นอยู่ในบริเวณที่แออัดและเกิดการแพร่เชื้อขึ้น จะทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดโอกาสในการเกิดโรค
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายและลดความรุนแรงเมื่อเกิดโรคขึ้น

2.โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s Foot) หรือ โรคฮ่องกงฟุต

เป็นโรคที่มากับหน้าฝนซึ่งมีสาเหตุมาจากการเดินลุยน้ำและมีเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes (เชื้อราสายพันธุ์เดียวกับการเกิดกลาก) ร่วมด้วย

อาการ

อาการแรกเริ่มมักมีการเปื่อย การหลุดลอกของผิวหนัง และอาการแดงบริเวณเท้า โดยอาการเหล่านี้มักเกิดบริเวณง่ามนิ้วเท้า ถัดมาเมื่ออาการรุนแรงขึ้นก็จะเกิดการอักเสบ การคัน การติดเชื้อ และกลิ่นเท้า จนกระทั่งอาการรุนแรงสุดจะมีการปวดแสบ เป็นหนอง ผิวลอกเป็นขุย หรือ บางรายก็ลอกเป็นแผ่น

วิธีรักษา

  • ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่ จากนั้นเช็ดให้แห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าแบบปิดซึ่งจะทำให้อับชื้นได้
  • ทายาป้องกันเชื้อรา และ โรยแป้งบริเวณเท้าเพื่อป้องกันความชื้น
  • หากมีการคันหรือการอักเสบร่วมด้วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ส่วนนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์และเภสัชกร

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ แต่หากมีความจำเป็นจริง ๆ ควรสวมถุงหุ้มเท้าเพื่อป้องกันเท้าสัมผัสกับน้ำโดยตรง
  • หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำและไม่สามารถหาถุงสวมเท้าได้ ควรรีบล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันทีหลังลุยน้ำเสร็จ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของเสื้อตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดโอกาสในการเกิดโรค

3.โรคไข้เลือดออก

เมื่อเกิดฝนตกก็นำมาซึ่งน้ำขัง เมื่อเกิดน้ำขังแล้วยุงลายมาไข่ ไข่นั้นก็จะเติบโตเป็นยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกได้ โรคไข้เลือดออกนี้จึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่มากับหน้าฝน โดยไข้เลือดออกก็แบ่งตามระดับความแรงได้เป็น 2 ระดับ คือ โรคไข้เดงกี (Dengue Fever)  และ โรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคไข้เดงกี และโรคไข้เลือดออก จะมีอาการที่แตกต่างกัน แต่มีวิธีรักษาและวิธีป้องกันที่เหมือนกัน ดังนี้

อาการ

โรคไข้เดงกี  จะมีอาการปวดศีรษะลามมาถึงกระบอกตา ปวดเมื่อยร่างกายลามถึงไขข้อและกระดูก รวมถึงมีผื่นขึ้นตามร่างกายคล้ายอาการของโรคหัด ในบางรายจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดร่วมด้วย

โรคไข้เลือดออก  จะมีอาการรุนแรงกว่าโรคไข้เดงกีมากโดยจะมีไข้สูงเป็นเวลา 2 – 7 วัน มีเลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ และ อุจจาระ มีการอาเจียนเป็นเลือด มีจุดจ้ำสีแดงตามร่างกาย ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านซ้ายรุนแรง บางรายที่อาการหนักสามารถช็อกและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้

วิธีรักษา

  • ให้ความอบอุ่นร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยไข้ลด
  • รับประทานอาหารอ่อน ๆ และ ดื่มน้ำรวมถึงเกลือแร่เป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ
  • รับประทานยาแก้ไข้ตามอาการ โดยให้รับประทานเป็นกลุ่มยาแก้ไข้ที่ไม่ใช่กลุ่ม NSAID เพราะยาแก้ไข้กลุ่มนี้จะทำให้เลือดออกง่ายและเร็วขึ้น
  • หากมีอาการผิดปกติ หรือ หนักเพิ่มมากขึ้น ให้รีบพบแพทย์

วิธีป้องกัน

  • ป้องกันการเกิดน้ำขัง เพื่อป้องกันแหล่งต้นตอของยุงลาย
  • ใช้สารไล่ยุงหากต้องอยู่ในที่มียุง เช่น สเปรย์ตะไคร้หอม
  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดหากต้องอยู่ในที่มียุงชุม
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

 

4.โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือ ตาแดง (Conjunctivitis)

มักเกิดจากการที่มีน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา และมักเกิดในหน้าฝน จึงเป็นอีกโรคที่มากับฝน

อาการ

มักมีอาการระคายเคืองตาต่อมามักเกิดการขยี้นำไปสู่การอักเสบ ตาบวมแดง เกิดขี้ตาทั้งแบบมูกใส หรือ แบบเหลืองที่มักเกิดจากแบคทีเรียร่วมด้วย

วิธีรักษา

  • ควรทำความสะอาด โดยผ่านตาในน้ำสะอาดหรือใช้น้ำเกลือล้างตา
  • เช็ดตาให้แห้งด้วยกระดาษหรือผ้าที่สะอาด
  • หยอดตาด้วยน้ำยาล้างตา และใช้น้ำตาเทียมช่วยหล่อเลี้ยงน้ำในตา
  • งดใช้สายตา และ งดใส่คอนแทคเลนส์ รวมถึงรักษาตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลาประมาณ 3 วัน
  • หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ของเสื้อตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดโอกาสในการเกิดโรค
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานดวงตาที่มากเกินไป เช่น การใช้สายตาปะทะแสงแดดโดยตรง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

5.โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โดยปกติแล้วโรคดังกล่าวนี้เราจะคุ้นเคยว่าเกิดในช่วงหน้าร้อน แต่อันที่จริงแล้วโรคดังกล่าวเป็นโรคที่มากับฝน

อาการ

อุจจาระเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือ อุจจาระเป็นน้ำ 1 ครั้งต่อวัน หรือ ในอุจจาระมีมูกเลือดปน 1 ครั้งต่อวัน ร่วมด้วยการอาเจียนและเป็นไข้

วิธีรักษา

การรักษาโรคที่มากับฝนโรคนี้มีวิธีรักษาเหมือนอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่เกิดในหน้าอื่น ๆ เลย คือ รับประทานคาร์บอน และ จิบเกลือแร่ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับยาฆ่าเชื้อ

วิธีป้องกัน

  • รับประทานอาหารอุ่นร้อนหรืออาหารปรุงสุกใหม่
  • งดรับประทานของสุก ๆ ดิบ ๆ
  • รับประทานผักผลไม้
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

โรคที่มากับฝนที่กล่าวมาทั้ง 5 โรคในบทความข้างต้นเป็นโรคที่เกิดได้บ่อย แต่ทุกท่านก็ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป เพราะสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ แถมหากเมื่อเป็นแล้วก็มีวิธีรักษา อย่างไรก็ดีหากอาการเพิ่มมากขึ้น ทุกท่านก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้หายเอง ควรไปพบแพทย์หรือเภสัชกรโดยด่วนเพื่อการรักษาโรคที่มากับฝนที่ทันท่วงที

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular