fbpx
Homeเรื่องเด่นเช็คด่วน! ลูกมีอาการเก็บกดหรือเปล่า คุณแม่อย่ามองข้าม

เช็คด่วน! ลูกมีอาการเก็บกดหรือเปล่า คุณแม่อย่ามองข้าม

เมื่อลูกเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นพ่อแม่ก็จะเริ่มคุยกับลูกน้อยลง และเมื่อลูกเกิดปัญหาต่าง ๆ ก็มักจะไม่ค่อยพูดคุยกับพ่อแม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่หลาย ๆ บ้านต้องเผชิญ ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่าหากปล่อยไว้นาน ๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ใส่ใจลูกเลยนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิด อาการเก็บกด ได้ ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้เราเลยจะพาคุณไปเช็คกันว่าลูกกำลังเก็บกดอยู่หรือไม่ เพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างท่วงทันนั่นเอง

สังเกต! ลูกมี อาการเก็บกดหรือไม่

วิธีสังเกตว่าลูกมีอาการเก็บกดหรือไม่ คือ เมื่อพ่อแม่พูดคุยด้วยจะไม่ค่อยตอบ หรือไม่ค่อยอยากคุยและหลีกหนีอย่างเห็นได้ชัด หรือเด็กบางคนที่มีอาการรุนแรงจนแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างชัดเจน ก็คือเมื่อพูดคุย ถามไถ่จะมีอารมณ์ทันที รู้สึกไม่พอใจหรือมีการระเบิดอารมณ์ออกมา รวมถึงการอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน ๆ เช่น อยู่แต่กับหน้าจอมือถือทั้งวันไม่ยุ่งใคร ไม่พูดคุยกับใคร ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน จึงจำเป็นอย่างมากที่พ่อแม่จะต้องสังเกตอาการและพฤติกรรมของลูกบ่อย ๆ เพื่อจะได้รู้ทันปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่

ลูกเป็นเด็กเก็บกด เกิดจากอะไร

อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่าการที่เด็กเก็บกด นั้นมักจะมีหลายปัจจัยด้วยกัน โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเก็บกด มีดังนี้

1.พ่อแม่บ่นโดยไร้เหตุผล

การที่พ่อแม่บ่นบ่อย ๆ โดยไร้เหตุผลหรือบ่นโดยที่ลูกไม่ได้ทำอะไรผิด หรือบ่นเพราะต้องการให้ลูกทำในสิ่งที่ต้องการและเกิดความคาดหวังกับลูกมากจนเกินไป นี่เป็นสาเหตุที่พ่อแม่หลายคนมักจะทำกับลูกบ่อย ๆ โดยที่มองข้ามไปว่านี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขามีอาการเก็บกด เพราะเขาจะมีความรู้สึกว่าเขาไม่เคยทำอะไรถูกต้องเลยและไม่เป็นที่น่าพอใจของพ่แม่ จนเขารู้สึกไม่อยากทำอะไรเลย

2.เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น

เด็กมักจะไม่ชอบการเปรียบเทียบ ซึ่งเราที่เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ชอบการเปรียบเทียบเช่นกัน เพราะฉะนั้นการที่พ่อแม่นำลูกตนเองไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นทำให้เขามองว่าคุณไม่เห็นค่าเขาเลย และเขาก็จะกลายเป็นคนที่ไม่เห็นค่าตนเองทันที เพราะมีความรู้สึกว่าทำอะไรไปก็ไม่เป็นที่น่าพอใจของพ่อแม่ ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้เด็กมี อาการเก็บกด เมื่อมีอะไรเขาก็จะไม่อยากพูดกับพ่อแม่นั่นเอง

แก้ไขอย่างไรเมื่อลูกเก็บกด

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณสังเกตเห็นว่าลูกของคุณกำลังมี อาการเก็บกด สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำคือ พ่อแม่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองก่อน โดยหาสาเหตุว่าสิ่งที่ลูกกำลังเป็นอยู่นั้นมีสาเหตุมาจากตนเองหรือไม่  จากนั้นพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกอย่างอ่อนโยน และเปิดใจโดยใช้เหตุผล ไม่ควรกดดันลูกจนเกินไป เพื่อให้เกิดอาการผ่อนคลาย ให้เขากล้าพูด กล้าคิดและกล้าที่จะปรึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ สิ่งสำคัญในการพูดคุยคือการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการพูดคุย เพื่อให้เขามีความรู้สึกว่าเขาไม่ได้ตกอยู่ในสภาวะกดดัน แต่เขากำลังได้รับความเข้าใจ จากนั้นเมื่อทุกคนเริ่มเข้าใจกันสิ่งต่อมาที่จะต้องทำให้ได้ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อแม่ จะต้องมีสติมากขึ้น สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เมื่อมีปัญหาก็ช่วยกันคิดแก้ไข ลูกก็จะไม่เก็บกด

วิธีป้องกันลูกมีอาการเก็บกด

วิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกมีอาการเก็บกด สามารถทำได้ดังนี้

  • เมื่อลูกเริ่มโตและเข้าสู่วัยรุ่น พ่อแม่จะต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นผู้ฟังที่ดีมากขึ้น รับฟังสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกกำลังเผชิญ เพื่อให้เขารู้สึกว่าปัญญาทุกอย่างที่เขาเจอนั้นมีทางออกเสมอ และทำให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว การที่เขาได้เล่าสิ่งต่าง ๆ ออกมา โดยที่มีผู้ฟังจะทำให้เขาไม่เกิดความเครียดอย่างแน่นอน
  • พ่อแม่พร้อมที่จะอยู่เป็นเพื่อนของลูกในทุกช่วงเวลา เพื่อเป็นที่ปรึกษาและแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปพร้อมกัน หากพ่อแม่ทำได้เขาจะไม่เกิดความกังวล และไม่มีอาการเก็บกด เพราะเขารู้สึกได้ว่าเขายังมีคนที่รักและให้กำลังใจเขาอยู่เสมอ
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้พูด ได้แก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้เขามีประสบการณ์ มีความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ และไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่พ่อแม่จะต้องไม่ตอกย้ำ แต่จะต้องคอยแนะนำและพยุงให้เขาได้ทำต่อไปจนมั่นใจว่าเขาเองก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา ไม่กล้าพูดหรือมีอะไรแล้วไม่กล้าที่จะปรึกษาพ่อแม่ ก็คือการพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรก็ตาม ควรถามลูกและควรชี้แนะอย่างเหมาะสม เพื่อลูกจะได้มีแนวทางการแก้ปัญหา พร้อมกับเขาจะได้รู้ว่าพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ เขาเสมอ ทั้งนี้คุณต้องไม่มองข้ามการสังเกตบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปของลูกด้วย หากเห็นว่าเขาเริ่มอยู่อยู่เดียวเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ จนยากที่จะพูดคุย ควรพาเขาไปพบจิตย์แพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องจะดีกว่า

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular