fbpx
Homeการเลี้ยงลูกฟันน้ำนมมีกี่ซี่ เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ และจะขึ้นครบตอนลูกกี่ขวบ

ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ และจะขึ้นครบตอนลูกกี่ขวบ

เรื่องสุขภาพปากและฟันของลูกเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะไม่ว่าจะเป็นฟันน้ำนม หรือฟันแท้ก็ล้วนแต่มีความสำคัญทั้งนั้น คุณพ่อคุณแม่หลายท่านมักจะเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการดูแลฟันน้ำนม เพราะเชื่อว่าไม่ต้องดูแลดีเท่าไหร่ก็ได้เพราะอีกหน่อยก็ต้องหลุดไปฟันใหม่ที่เป็นฟันแท้ขึ้นมาแล้วค่อยดูแล แต่ความจริงแล้วไม่ว่าฟันน้ำนมหรือฟันแท้ก็ควรดูแลให้ดีเพราะหากฟันน้ำนมหลุดเร็วไปกว่าฟันใหม่จะขึ้นมาก็ต้องใช้เวลานานและลูกจะมีปัญหาในเรื่องของการเคี้ยวอาหาร ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ และจะขึ้นครบตอนกี่ขวบ วันนี้เรามีคำตอบให้

แม่รู้ไหม ฟันน้ำนมมีกี่ซี่

เชื่อว่าคงจะมีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับฟันน้ำนมของลูกว่า ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ ฟันน้ำนมคือฟันที่จะขึ้นมาก่อนฟันจริง โดยเด็กส่วนใหญ่จะมีฟันน้ำนมทั้งหมด 20 ซี่ แบ่งเป็นซี่บน 10 ซี่ และซี่ข้างล่างอีก 10 ซี่ ก่อนที่ฟันจริงจะขึ้นเด็กจะต้องใช้ฟันน้ำนมในการขบเคี้ยวอาหารไปก่อน เพราะฉะนั้นการดูแลฟันน้ำนมจึงสำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลให้ดี หมั่นทำความสะอาด แปรงฟัน ให้กับลูกเพื่อป้องกันฟันผุ เพราะหากฟันน้ำนมผุเร็วไปกว่าฟันใหม่จะขึ้นมาก็ใช้เวลานาน ระหว่างนั้นลูกจะประสบปัญหาในการเคี้ยวอาหาร เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดอาจทำให้ท้องอืดเป็นประจำได้

ฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่

ฟันน้ำนมเป็นฟันชุดแรกที่ขึ้นสู่ปากของเด็ก โดยฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้นในช่วยเด็กอายุได้ประมาณ 5 – 6 เดือน และซี่แรกก็มักจะเป็นฟันหน้าข้างล่างและจะตามด้วยฟันซี่ข้างหน้าบน ฟันกรามและฟันเขี้ยว จนกว่าจะครบ 20 ซี่ ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ ก่อนที่ฟันแท้ที่เป็นชุดที่สองจะขึ้นหลังจากที่ฟันน้ำนมหลุดเพื่อแทนที่ตำแหน่งฟันน้ำนมที่หลุดไป ทั้งหมด 20 ซี่ จะไม่ขึ้นพร้อมๆ กันแต่จะทยอยขึ้นหลังจากที่ฟันน้ำนมค่อยๆ หลุดไปทีละซี่สองซี่ ฟันแท้จะมีทั้งหมด 32 ซี่ จะเพิ่มขึ้นมาในตำแหน่งด้านหลังของขากรรไกร และกว่าฟันกรามที่แท้จะขึ้นมาแทนกรามน้ำนมก็ต้องรอจนเด็กอายุประมาณ 10 – 12 ขวบเลยทีเดียว

ฟันน้ำนมขึ้นครบทุกซี่ตอนไหน

โดยปกติแล้วฟันน้ำนมของเด็กจะขึ้นครบทุกซี่เมื่อเด็กอายุประมาณ 2 ขวบครึ่งหรือเด็กบางคนอาจจะใช้เวลานานกว่านี้ ฟันน้ำนมกี่ซี่ โดยจะมีฟันน้ำนมทั้งหมด 20 ซี่ประกอบไปด้วยฟันข้างหน้า 8 ซี่ ฟันเขี้ยว 4 ซี่ ฟันกราม 8 ซี่ และเมื่อเด็กอายุประมาณ 4 – 6 ขวบฟันน้ำนมจะทยอยหลุดเพื่อที่ฟันแท้จะได้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งการดูแลฟันน้ำนมนั้นสำคัญมาก เพราะหากปล่อยให้ฟันน้ำนมผุ กว่าฟันแท้จะขึ้นก็ต้องใช้เวลานานระหว่างนี้ลูกจึงต้องฟันหลอหรือไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ควรสอนให้ลูกรู้จักดูแลฟันน้ำนมด้วยการไม่กินขนมหวานหรือน้ำอัดลมมากเกินไปและจะต้อง แปรงฟัน ก่อนเข้านอนทุกครั้ง จะช่วยรักษาฟันน้ำนมไว้ใช้ได้ยาวนานเพื่อรอฟันแท้ขึ้น

การดูแลทำความสะอาดฟันลูก

การดูแลทำความสะอาดฟันให้กับลูกนั้นสำคัญมาก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะฟันคือส่วนสำคัญในการเคี้ยวอาหาร และฟันก็จะอยู่กับเราไปจนแก่จนเฒ่า ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ หากฟันแท้หลุดไปแล้วโอกาสที่ฟันใหม่จะขึ้นมาก็ไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้นถึงจะเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนมก็ควรให้ความสำคัญใส่ใจมากดูแลเป็นพิเศษ วันนี้เรามีวิธีดูแลทำความสะอาดฟันลูกน้อยมาแนะนำ

1.เด็กแรกเกิด อายุ 6 เดือน

ลูกน้อยแรกเกิดถึง 6 เดือนยังไม่มีฟัน คุณแม่ควรทำความสะอาดปากให้กับลูกน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดเบาๆ บริเวณเหงือกกระพุ้งแก้มและลิ้น

2.เด็กอายุ 6 เดือน – 1 ขวบ

วัยนี้เริ่มมีฟันน้ำนมหลายซี่แล้ว ฟันน้ำนมมี่กี่ซี่ คุณแม่ไม่ควรให้ลูกดื่มนมรสหวาน หรือน้ำผลไม้โดยใช้ขวด และเมื่อฟันเริ่มขึ้นแล้วก็ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดที่เหงือกและฟันให้ รวมถึงกระพุ้งแก้มและลิ้นด้วย

3.เด็กอายุ 1 ปีครึ่ง – 3 ขวบ

ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มมีฟันกรามน้ำนมขึ้นแล้ว ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ และก็ขึ้นครบทุกซี่แล้ว คุณแม่ควรทำความสะอาดฟันให้ลูก ด้วยการ แปรงฟัน ให้ลูกวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและก่อนเข้านอน

4.เด็กอายุ 3 ปี 5 ขวบ

วัยนี้สามารถที่จะ แปรงฟัน ด้วยตัวเองได้แล้ว คุณแม่ควรฝึกให้ลูกแปรงฟัน และให้ลูกใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ โดยการเริ่มจากใส่ที่ขนแปรงเล็กน้อย แปรงเป็นประจำทั้งเช้าและก่อนนอน หากลูกแปรงไม่สะอาด คุณแม่ควรช่วยแปรงซ้ำให้เพื่อความสะอาดของช่องปากและฟัน

ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ คุณแม่ก็คงจะได้ทราบแล้ว เพราะการดูและสุขภาพปากและฟันให้กับลูกน้อยสำคัญมาก เมื่อได้ทราบแล้วว่าทั้งฟันน้ำนมและฟันจริงนั้นสำคัญไม่แพ้กันเลย คุณแม่ควรใส่ใจสุขภาพปากและฟันให้กับลูกน้อยอย่างดี ด้วยการทำความสะอาดและพาลูกไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟันกับทันตแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอทุกๆ  6 เดือนจะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพปากและฟันที่ดีป้องกันฟันผุและการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนวันอันควร

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular