fbpx
Homeการเลี้ยงลูกเลิกซะ! ถ้ารู้ตัวว่าเป็นแม่ขี้บ่น เพราะส่งผลเสียต่อลูกมากกว่าที่คิด

เลิกซะ! ถ้ารู้ตัวว่าเป็นแม่ขี้บ่น เพราะส่งผลเสียต่อลูกมากกว่าที่คิด

มีคุณแม่คนไหนที่ขี้บ่นลูกบ้าง การบ่นลูกน้อยนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้ตัวของเด็กได้รับผลกระทบใน หลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการของสมอง จิตใจ ความคิด ซึ่งคุณแม่ไม่ควรบ่นบ่อย ๆ นอกจากจะทำให้ลูกรำคาญแล้วยังทำให้ลูกต่อต้านอีกด้วย เพราะฉะนั้นแล้วหันมาพูดด้วยถ้วยคำที่อ่อนหวานน่าฟังจะดีกว่า สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงผลเสียของการเป็น  แม่ขี้บ่นให้ทุกคนได้ทราบกัน พร้อมแล้วตามมาดูกันเลย

แม่ขี้บ่น ส่งผลเสียต่อลูกอย่างไร

คุณแม่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าการเป็นแม่ขี้บ่นนั้นจะทำให้ EF ของลูกต่ำโดยไม่รู้ตัว เวลาที่คุณแม่สั่งให้ลูกทำอะไรโดยพูดไปบ่นไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้ช่วยลูกเก็บเลย หันมามองอีกทีลูกก็ยังคงนั่งเล่นอยู่เหมือนเดิมยิ่งทำให้คุณแม่อารมณ์เสียเข้าไปใหญ่ ดุเสียงดังใส่ลูกจนลูกกลัวและตกใจ การเลี้ยงลูกแบบนี้ถือเป็นวิธีที่ผิดมากจะทำให้ลูกทำอะไรไม่ถูกและอยู่อย่างหวาดระแวงว่าทำอะไรแล้วจะโดนบ่น เขาจะไม่รู้เลยว่าแม่ต้องการอะไรจากเขา กลายเป็นปัญหาที่ทำให้ลูกขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก มักจะมีอารมณ์ที่รุนแรง เพราะเหตุเกิดจากแม่ขี้บ่นนั่นเอง

วิธีแก้ไขการเป็นคุณแม่ขี้บ่น

สำหรับแม่ขี้บ่นเรามีวิธีแก้ไขง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่นั้นเลี้ยงลูกได้โดยที่ไม่ต้องบ่นอีกต่อไป รับรองว่าลูกน้อยจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามในสิ่งที่คุณแม่ต้องการได้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามการบ่นไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเด็กและตัวคุณแม่เอง การที่เราอยู่ใกล้ ๆ กับคนขี้บ่นเรามักจะมีอารมณ์ที่ลบตามไปด้วย เด็กก็เช่นกันค่ะ เพราะฉะนั้นมาเปลี่ยนอารมณ์ขี้บ่นให้กลายเป็นอารมณ์ดีน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว จะมีวิธีไหนบ้างตามมาดูกันเลย

1.พูดด้วยน้ำเสียงที่น่าฟัง

น้ำเสียงของคุณแม่มีอิทธิพลต่อลูกอย่างมาก จะสังเกตได้จากสีหน้าของลูกเมื่อคุณแม่พูดด้วยน้ำเสียงที่อ่อนหวานไพเราะลูกจะมีหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ตอบสนองกับคุณแม่ได้ดี ต่างจากการที่คุณพูดด้วยน้ำเสียงที่ดุดันลูกจะมีสีหน้าที่ตึงเครียดและไม่ตอบสนองกับคุณแม่สักเท่าไหร่ อาจจะส่งผลไปยังพัฒนาการของเด็กด้วย หากลูกทำผิดก็ให้คุณแม่สอนด้วยน้ำเสียงที่น่าฟังไม่ใช้อารมณ์มากจนเกินไป จะทำให้ลูกสามารถจดจำคำสอนได้และไม่ทำผิดอีก

2.ตอบแทนด้วยรางวัล

ในขณะที่สั่งให้ลูกทำกิจกรรมอะไรสักอย่างแล้วลูกทำได้ตามเป้าหมาย ให้คุณแม่หาของรางวัลที่พิเศษมามอบให้กับลูกจะทำให้เขาอยากทำกิจกรรมไปเรื่อย ๆ แนะนำให้คุณแม่มีส่วนร่วมด้วย เช่น วาดภาพระบายสีร่วมกับลูกสอนว่ารูปนี้คือรูปอะไรควรใช้สีไหน ลูกจะเพลิดเพลินและสามารถจดจำสิ่งที่คุณแม่สอนได้เป็นอย่างดี เพียงเท่านี้ลูกก็จะลบภาพจำแม่ขี้บ่นได้แล้วล่ะค่ะ

3.เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิด

เมื่อลูกน้อยต้องการจะแสดงความคิดคุณแม่ไม่ควรปิดกั้น เพราะอย่างน้อยจะได้รู้ว่าความคิดของลูกเป็นอย่างไรมีทิศทางที่ดีหรือไม่ หากต้องตัดสินใจอะไรบางอย่างลองให้ลูกได้เป็นคนเลือก เช่น วันนี้จะสระผมหรือแปรงฟันก่อนดี จะกินส้มหรือกล้วยดี คำถามเหล่านี้อาจเป็นคำถามที่ง่ายสำหรับเรา แต่สำหรับเด็กนั้นอาจเป็นคำถามที่พิเศษเพราะเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้เลือก

4.ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย

แน่นอนว่าเด็กไม่สามารถเข้าใจในคำพูดที่ซับซ้อนได้ คุณแม่ควรใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่ายและน่าฟังจะสื่อสารอะไรต้องมีความชัดเจน เช่น ห้ามตียุงมันบาปนะ เด็กอาจจะไม่เข้าใจในคำว่าบาปให้อธิบายว่ายุงเป็นสัตว์ที่มีชีวิตเหมือนกับเรา เขาก็รักชีวิตของเขาเหมือนกับเรา แบบนี้เด็กจะเข้าใจได้มากกว่า เพราะฉะนั้นในเรื่องของการสื่อสารก็เป็นสิ่งที่สำคัญบ่งบอกถึงความเข้าใจของเด็ก

5.อย่าใช้อารมณ์กับลูก

ลูกไม่ใช่ที่รองรับอารมณ์ของแม่ คุณจะกลายเป็นแม่ขี้บ่นแบบไม่รู้ตัว สำหรับคุณแม่คนไหนที่เหนื่อยจากการทำงานและมาลงกับลูก บอกเลยว่าไม่ส่งผลดีกับลูกแน่ คุณแม่ควรแยกแยะให้ออกว่าควรปรับอารมณ์ให้เป็นแบบไหน รู้บทบาทและหน้าที่ของตัวเอง ยิ่งคุณแม่ใช้อารมณ์มากเท่าไหร่พัฒนาการของลูกน้อยจะยิ่งแย่ลงและกลายเป็นเด็กที่เก็บกด ก้าวร้าว พูดจาไม่ไพเราะ ถ้าไม่อยากให้รู้มีพฤติกรรมแบบนี้ก็ควรเริ่มต้นที่ดีจากคุณแม่ก่อน

คำว่าแม่ขี้บ่นคงกลายเป็นคำพูดติดหูสำหรับใครหลายคน หลังจากได้อ่านบทความนี้กันมาจนใกล้จะจบแล้วคงได้ทราบกันแล้วว่าการบ่นลูกในทุก ๆ วันจะส่งผลเสียกับลูกอย่างมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้วคุณแม่ไม่ควรจะบ่นลูกบ่อย ๆ ลองนำวิธีการแก้ไขการเป็นแม่ขี้บ่นไปปรับใช้กันดู เพื่อที่การเลี้ยงลูกของคุณแม่จะง่ายขึ้น สุดท้ายนี้เราขอให้คุณแม่และลูกน้อยมีความสุขกันทุกครอบครัวนะคะ

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular