fbpx
Homeการเลี้ยงลูกลูกเดินเขย่งเท้า เพราะอะไร แบบนี้ผิดปกติหรือไม่

ลูกเดินเขย่งเท้า เพราะอะไร แบบนี้ผิดปกติหรือไม่

เด็กในวัยเตาะแตะหรืออายุอยู่ระหว่าง 1 – 3 ขวบเป็นวัยที่สามารถ เดิน ยืน นั่ง ด้วยตัวเองได้อย่างมั่นคงพอสมควรแล้ว ซึ่งบางทีก็อาจจะได้รับการช่วยเหลือจากคุณแม่ที่พยายามให้ลูกเดินได้เองอย่างมั่นคงก้าวไปทีละก้าวข้างหน้า แต่ปัญหา ลูกเดินเขย่งเท้า ในเด็กวัยนี้ถือว่ายังเป็นเรื่องปกติที่บางทีลูกก็อาจจะเคยชินกับการเดินมาตั้งแต่เด็ก หรือพยายามให้คุณแม่อุ้มเพื่อยึดเกาะและพยุงตัว แต่ถ้าลูกเดินได้คล่องแล้วแต่ยังมีพฤติกรรมเดินแบบนี้จนเลยอายุ 3 ขวบนี่อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจค่ะ

สาเหตุที่ทำให้ลูกเดินเขย่งเท้า9

หากลูกน้อยของคุณแม่มีพฤติกรรม ลูกเดินเขย่งเท้า ทั้งที่สามารถเดินได้อย่างมั่นคงแล้ว นี่อาจจะเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังมีอาการผิดปกติในการเดินซึ่งอาจเกิดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1.เอ็นร้อยหวายสั้น

เมื่อเด็กมีการเจริญเติบโตขึ้นร่างกายของเด็กก็จะมีการยืดตัวหรือเรียกว่าภาวะยืดตัวในเด็ก ซึ่งรวมถึงกล้ามเนื้อและเอ็นร้อยหวายด้วย แต่ในเด็กบางคนกลับไม่เป็นเช่นนั้น เอ็นร้อยหวายของพวกเขาไม่สามารถยืดตามร่างกายได้ ส่งผลให้เด็กต้อง เดินเขย่งเท้า ไม่สามารถเดินได้ถนัดหรือเดินเท้าแตะพื้นได้เต็มที่นั่นเอง

2.สมองพิการ

สาเหตุนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้แต่ก็เป็นไปได้ สมองพิการซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้สมองของเด็กพิการได้ อย่างเช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการเลือกออกในสมองจนทำให้สมองพิการ ส่งผลให้ ลูกเดินเขย่งเท้า เพราะเมื่อสมองพิการอาจทำให้กล้ามเนื้อมีความผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง กล้ามเนื้อมีความตึงผิดปกติ จนไม่สามารถควบคุมได้ และเสียการทรงตัวในการเดินนั่นเอง

3.อาจจะเป็นนิสัยของเด็กเอง

อาการเด็ก เดินเขย่งเท้า บางครั้งก็หาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ถึงแม้จะพาลูกไปตรวจเพื่อให้หมอทำการวินิจฉัยดูความผิดปกติอย่างละเอียด โดยหมออาจดูถึงข้อต่อและกล้ามเนื้อแต่ก็ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่เจอ ซึ่งอาการและพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะมาจากพฤติกรรมของเด็กเองได้เช่นกัน

4.โรคออทิซึม

เด็กที่มีการเดินผิดปกติหรือเดินเขย่งส้นเท้า อาจเกิดจากพัฒนาการทางร่างกายช้า เช่น พูดช้า ไม่ฟังคำสั่ง ทำตามที่บอกไม่ได้เก็บตัวไม่เข้ากลุ่ม มีพฤติกรรมชอบหมกมุ่น ไม่สบตาไม่เล่นกับเพื่อน จะสนใจในสิ่งที่ตัวเองชอบเท่านั้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเดินที่ผิดปกติได้เช่นกัน

ลูกเดินเขย่งแบบไหนไม่ปกติ

เด็กก่อนวัย 3 ขวบอาจมีพฤติกรรมเดินเขย่งส้นเท้าบ้างซึ่งก็ดูเหมือนเป็นอาการปกติทั่วไป แต่ถ้าคุณแม่สังเกตและเห็นอาการที่ ลูกเดินเขย่งเท้า ที่ดูแล้วไม่ปกติดังกรณีต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

  1. หากคุณแม่พบว่าลูกอายุเลย 3 ขวบมาแล้วแล้วยังมีอาการ เดินเขย่งเท้า ทั้งที่เคยเดินปกติมาก่อน อาการแบบนี้ลูกอาจมีอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากเซลล์ประสาทสมองเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากทางพันธุกรรมคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อนก็ได้
  2. เอ็นร้อยหวายมีอาการตึงมากกว่าปกติทำให้ ลูกเดินเขย่งเท้า ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิดแล้วและมักมีอาการเจ็บตรงบริเวณเอ็นร้อยหวายเป็นประจำ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากคนในครอบครัว
  3. คุณแม่คลำเจอก้อนเนื้อบริเวณหลังเข่าของลูกน้อย ซึ่งเป็นเนื้องอกไปรบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อขาทำให้ลูกมีอาการเดินผิดปกติ ถ้าเป็นแบบนี้คุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจควรพาลูกไปพบหมอเพื่อทำการรักษา
  4. ตรวจพบว่ามีความผิดปกติของกระดูกสันหลังของลูก มีปานขึ้นเป็นจำนวนมากตามผิวหนังของร่างกาย หรือมีเนื้องอกที่ผิวหนัง
  5. อาการ ลูกเดินเขย่งเท้า มักพบในเด็กที่มีอาการเป็นโรคทางจิตเวช ออทิสติก หรือจิตบกพร่อง ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้ทำให้การเดินของลูกผิดปกติได้
  6. มีประวัติคลอดก่อนกำหนด คลอดยากหรือสมองขาดออกซิเจนตอนคลอด ซึ่งมักมีปัจจัยอื่นที่ผิดปกติร่วมด้วย

หากคุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการผิดปกติและมีประวัติโรคเหล่านี้ร่วมด้วย คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติและหาวิธีรักษาให้ถูกต้อง

ทำอย่างไรเมื่อลูกเดินเขย่งเท้าบ่อยๆ

ในกรณีที่ ลูกเดินเขย่งเท้า โดยไม่ได้เกิดจากอาการป่วยทางร่างกายหรือสมองและจากกรรมพันธุ์ ทางครอบครัวก็มีวิธีรักษาอาการเดินได้ ซึ่งคุณแม่สามารถทำตามด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อที่จะช่วยให้ลูกกลับมาเดินได้ตามปกติ

1.ยืดน่อง

ให้ลูกได้ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยยืดกล้ามเนื้อโดยฝึกให้ลูกนอนหงายกับพื้นเหยียดขาให้ตรงและงอปลายเท้าขึ้นให้มากที่สุด จากนั้นพักและเปลี่ยนทำอีกข้างสลับไปมาข้างละ 10 ครั้ง

2.ยืดเอ็นร้อยหวาย

ให้ลูกนอนหงายยกขาขึ้นแล้วงอเข่าเข้ามาโดยที่เกร็งให้ปลายเท้าชี้ขึ้น ทำแบบนี้เบาๆ ค้างไว้ข้างละ 15 วินาที หรือพยายามทำให้นานที่สุดเท่าที่ลูกจะทำได้ จากนั้นพักที่ตำแหน่งเดิมและทำซ้ำอีกเรื่อยๆ ประมาณ 10 ครั้ง

หากลูกน้อยไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ ทั้งทางร่างกายและสมองการที่คุณแม่พาลูกออกกำลังกายโดยการพายืดเส้นแบบนี้ให้ลูกเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอไม่นานอาการ ลูกเดินเขย่งเท้า ก็จะหายไปและลูกก็จะกลับมาเดินเท้าแตะพื้นได้ปกติแล้วค่ะ

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular