fbpx
Homeการเลี้ยงลูกทำความรู้จักกับยาที่ใช้บ่อยๆในเด็กกันดีกว่าค่ะ

ทำความรู้จักกับยาที่ใช้บ่อยๆในเด็กกันดีกว่าค่ะ

ในวัยเด็กส่วนมากนั้นสภาพร่างกายอาจไม่แข็งแรงนัก ยังสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆได้ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ ดังนั้นเด็กๆมักจะป่วยไม่สบายจนต้องรับประทานยาอยู่บ่อยๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่เองควรทำความรู้จักกับยาที่ใช้กับเด็กเอาไว้ด้วยนะคะ ว่ายาแต่ละชนิดใช้สำหรับอะไรและมีข้อควรระวังในการใช้ยาแต่ละชนิดอย่างไรบ้าง

 

มาทำความรู้จักกับยาที่ใช้บ่อยๆในเด็กกันค่ะ

 

  • ยาลดไข้ บรรเทาปวด หรือยาในกลุ่มพาราเซตามอล ปลอดภัยที่สุดในการใช้ลดไข้ บรรเทาปวด  ส่วนใหญ่เป็นยาน้ำเชื่อม มีขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปด้วยค่ะ หาซื้อง่ายไม่จำเป็นต้องรอแพทย์สั่ง ยาชนิดนี้ จะใช้เมื่อมีอาการเท่านั้นค่ะ ตามปริมาณที่ระบุในฉลากไม่ควรใช้ยานี้เกินขนาดนะคะ เพราะยาอาจมีผลทำลายตับได้

 

  • ยาลดน้ำมูก เป็นยาที่ทำให้น้ำมูกใสๆมีความข้นเหนียวมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้น้ำมูกหมดไปนะคะ การใช้ยาลดน้ำมูกควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น หากใช้เกินขนาด จะทำให้เสมหะเหนียวข้นมาก อาจไปกดทางเดินหายใจ ทำให้ลูกชักได้ค่ะ

 

  • ยาแก้ไอสำหรับเด็ก ในเด็กเล็กๆมีอาการไอได้บ่อยครั้ง ยาแก้ไอก็มีแยกไปตามลักษณะของการไอ เช่นไอแห้ง  ไอแบบมีเสมหะ หรือไอเรื้อรัง การให้ยาแก้ไอกับลูกคุณแม่ควรแยกได้ว่าลูกมีลักษณะการไอแบบไหนนะคะ หรือถ้าลูกเริ่มมีอาการไอ ให้ดื่มผึ้งผสมมะนาวอุ่นๆ งดของเย็นๆ อยู่ในที่อากาศถ่ายเท ก็จะช่วยให้อาการไอหายได้โดยไม่ต้องใช้ยานะคะ

 

  • ยาปฏิชีวะนะ หรือยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อแบคทีเรียค่ะ เมื่อลูกมีอาการคอแดงคุณแม่ต้องแยกให้ออกว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสนะคะ เพราะหากเกิดจากเชื้อไวรัส ใช้ยาปฏิชีวนะไปก็ไม่ได้ผลค่ะ อาจทำให้ลูกดื้อยาและแพ้ยาได้นะคะ ทางที่ดีควรให้แพทย์สั่งดีกว่าค่ะ

 

  • ยาน้ำขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยาเป็นน้ำ  มีฤทธิ์เป็นด่าง ไปทำสมดุลกับกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น

 

  • ผงเกลือแร่ จะใช้ในเด็กที่มีอาการท้องเสียค่ะ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป ลูกจะไม่ช็อคจากการขาดน้ำนะคะ

 

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบแล้วว่ายาแต่ละชนิดนั้นเอาไว้ใช้ตอนไหนบ้าง ต่อไปเมื่อลูกไม่สบายขึ้นมาจะได้จัดเตรียมยาให้ลูกรับประทานได้ถูกต้องนะคะ แต่ที่สำคัญหากลูกทานยาเหล่านี้ไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นคุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอาการดูอีกทีนะคะ..


จาก : แม่รักลูก Photo Credit :  redorbit.com

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular