fbpx
Homeโรงเรียนการเรียนของลูกลูกควรจะเข้าโรงเรียนตอนอายุเท่าไหร่ และโรงเรียนแบบไหนดี???

ลูกควรจะเข้าโรงเรียนตอนอายุเท่าไหร่ และโรงเรียนแบบไหนดี???

ปัจจุบันมีแนวโน้มที่เด็กจะต้องไปโรงเรียนเร็วขึ้น เรียนหนังสือมากขึ้น และดูเหมือนว่าการเรียนก็ยากมากขึ้นด้วย

โดยตามพัฒนาการของเด็ก ควรรอให้เด็กมีวุฒิภาวะที่พร้อมในการเรียนรู้ก่อนการไปโรงเรียนจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

เช่น สามารถเดินวิ่งได้คล่อง พูดได้เป็นประโยค บอกความต้องการได้ ช่วยเหลือตนเองง่ายๆได้ เริ่มต้องการทักษะทางสังคมที่มากขึ้น ถึงวัยที่ต้องฝึกการเล่นกับเพื่อนและอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ   แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆทำให้พ่อแม่พยายามส่งลูกไปโรงเรียนเร็วขึ้น

อะไรบ้างเป็นปัจจัยที่ควรนำมาประกอบการพิจารณาว่าลูกควรไปโรงเรียนหรือไม่

  1. ที่บ้านมีคนที่พร้อมสอนสิ่งต่างๆหรือไม่ ถ้าไม่ควรไปโรงเรียน

2. คนที่พร้อมสอนมีความเข้าใจพัฒนาการด้านต่างๆของลูกหรือไม่ ถ้าไม่ควรไปโรงเรียน

3. ลูกมีความสามารถเกินสิ่งที่คนที่บ้านจะสอนได้หรือไม่ ถ้าใช่ควรไปโรงเรียน

4. ที่บ้านมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของลูกหรือไม่ เช่น มีผู้ใหญ่ที่ดูทีวีทั้งวัน ปล่อยให้ลูกเล่นหรือดูทีวีตามอัธยาศัย ไม่มีกฎระเบียบ สถานที่คับแคบทำให้ขาดโอกาสการเรียนรู้ ถ้ามีควรไปโรงเรียน

5. พ่อแม่มีความจำเป็นในการให้ลูกไปโรงเรียนหรือไม่ เช่น แม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องทำงาน

ถ้าใช่ควรไปโรงเรียนโรงเรียนแบบไหนดี?

1.ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก

2.ลักษณะโรงเรียนแบบต่างๆ เลือกแบบที่เหมาะกับลูก

    • อนุบาล-ประถม อินเตอร์ /สองภาษา /บูรณาการ วิชาการ

ในระดับอนุบาลถ้าลูกไม่มีปัญหาเรื่องภาษา สามารถเลือกโรงเรียนที่มีหลายภาษาได้ แต่ถ้าลูกมีพัฒนาการด้านภาษาช้าแนะนำให้เลือกโรงเรียนที่มีภาษาเดียวก่อน

โรงเรียนบูรณาการเหมาะกับการเรียนรู้ในช่วงเริ่มต้น เพราะสนับสนุนให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจผ่านกิจกรรมต่างๆ มีโอกาสสัมผัสจับต้องสิ่งที่ได้เรียนรู้ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นพร้อมกับความสนุก และช่วยให้เกิดความสงสัย อยากรู้ อยากเรียน มากกว่าโรงเรียงแนววิชาการ

    • มัธยม อินเตอร์/ สอง-สามภาษา /วิชาการ

ควรเลือกโรงเรียนที่เหมาะกับการเรียนรู้ของลูก ในช่วงนี้เราจะเริ่มเห็นทิศทางและแนวโน้มความชอบความถนัดของลูกมากขึ้น ช่วงนี้ควรวางแผนการเลือกโรงเรียนให้ดีเพราะเป็นผลต่ออนาคตของลูกอย่างมาก

  1. หลักสูตรการเรียนการสอนสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกหรือไม่ (จำ เข้าใจ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำไปใช้)

4. จำนวนคุณครูต่อนักเรียนในห้อง ถ้านักเรียนจำนวนมากเกินไป อาจทำให้คุณครูดูแลได้ไม่ทั่วถึง.

5. ระบบการประเมินผลและการดูแลเมื่อมีปัญหา มีการวางแผนการช่วยเหลือร่วมกับผู้ปกครองหรือไม่ ทั้งในเรื่องการเรียนและปัญหาอื่นๆ

6. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร พ่อแม่ควรวางงบประมาณระยะยาวในการดูแล เช่น อนุบาล-ประถม ประถม-มัธยม

 

ข้อควรระวัง

  • อย่าเปลี่ยนโรงเรียนบ่อยโดยไม่จำเป็น เพราะโรงเรียนคือสังคมของลูก การปรับตัวของเด็กมีผลต่อการเรียนรู้อย่างมาก หากมีปัญหาควรค้นหาสาเหตุและพยายามแก้ไขปัญหาก่อน
  • วางเป้าหมายให้ชัดเจน อย่าสับสนกับความคิด แรงเชียร์ ค่านิยมของคนอื่น

 

การเลือกโรงเรียนเหมือนการลงทุน เพราะฉะนั้นเราควรต้องรู้ถึงความคุ้มค่าในการลงทุนนั้นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อลูกมากที่สุด

พ่อแม่แบบไหน

อาจารย์อลิสา รัญเสวะ

นักจิตวิทยาคลินิก โรงพยาบาลพระรามเก้า

FB: จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นโดยนักจิตวิทยา

#สร้างลูกให้ฉลาดได้ด้วยมือคุณ

#กว่าจะถึงอนุบาลก็สายไป

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular