fbpx
Homeพัฒนาการเด็กลูกพูดช้า ลูกเราเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่? ให้สังเกตสัญญาณเตือนเหล่านี้

ลูกพูดช้า ลูกเราเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่? ให้สังเกตสัญญาณเตือนเหล่านี้

ตามปกติแล้วเด็กเล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะพูดไม่ค่อยชัดและไม่ถูกต้อง เรียกว่า ภาษาเด็ก หรือเด็กบางคนออกเสียงพยัญชนะบางตัวช้ากว่าเพื่อนในวัยไล่เลี่ยกัน ก็ยังถือว่าไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่หากยังพูดไม่เป็นภาษาแม้จะถึงวัยที่ควรพูดให้เข้าใจหรือพูดเป็นประโยคได้แล้ว  หรือเป็นภาษาที่คนในครอบครัวเท่านั้นที่จะเข้าใจ แต่คนข้างนอกจะฟังไม่รู้เรื่องหากปล่อยไว้แบบนี้ย่อมไม่ส่งผลดีแน่  อาจต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจสอบพัฒนาการทางด้านภาษา  ทักษะการพูด ที่สำคัญหาก ลูกพูดช้า มีความผิดปกติทางด้านภาษาจริง ๆ ควรได้รับการรักษาก่อนที่จะเข้าโรงเรียน

คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยฟังว่า ลูกเราเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่ มีปัญหาในการพูดเกินไปหรือไม่  รวมถึงการพูดคุยสื่อสารกับลูก ลูกสามารถเข้าใจและทำตามที่พ่อแม่บอกได้หรือไม่  ลูกพูดช้า ลูกเราเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่? ให้สังเกตสัญญาณเตือนเหล่านี้หากสังเกตเห็นสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้  อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า  คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อแก้ปัญหาพัฒนาการให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะก่อนลูกเข้าเรียน มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาทางด้านการเรียนต่อเนื่องและการสื่อสารกับเพื่อนเมื่อต้องไปอยู่ร่วมกับผู้อื่น

ลูกพูดช้า ลูกเราเป็นเด็กพูดช้าหรือไม่? ให้สังเกตสัญญาณเตือนเหล่านี้

สัญญาณเหล่านี้บ่งบอกว่าลูกอาจมีปัญหาพัฒนาการทางด้านภาษา

ลูกวัยแรกเกิด – 3 เดือน

  • ไม่หันมองหน้าหาหาแม้ว่าพ่อแม่จะเรียก

ลูกวัย 4 – 6 เดือน

  • ไม่หันศีรษะตามเสียง เช่น เสียงกระดิ่ง เสียงสุนัขเห่า หรือเรียกชื่อลูก ก็ไม่หันมองตาม
  • ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือออกเสียงใด ๆ เท่าที่ควร

ลูกวัย 7 – 9 เดือน

  • เมื่อคุณพ่อคุณแม่เรียกชื่อลูก ลูกก็ยังไม่หันมองหน้า
  • ไม่พยายามออกเสียง หรือ ตอบรับด้วยการส่งเสียง

ลูกวัย 9 เดือน – 1 ขวบ

  • ไม่พยายามออกเสียงหรือเลียนแบบเสียงของพ่อแม่ที่คุยกับลูก
  • ไม่พยายามพูดหรือเปล่งเสียง เปล่งคำพูดหรือออกเสียงที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ

ลูกวัย 1 – 2 ขวบ

  • ไม่สามารถชี้รูปภาพในหนังสือตามชื่อของสิ่งของต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
  • ไม่เข้าใจคำศัพท์แม้เป็นคำง่าย ๆ เช่น ลูกบอล ขวดนม  แก้วน้ำ  ตุ๊กตา
  • ลูกไม่เข้าใจคำถามง่าย ๆ ผ้าห่มอยู่ไหน กินข้าวหรือยัง  ไปเที่ยวกับแม่มั๊ย

ลูกวัย 2 – 3 ขวบ

  • ไม่เข้าใจคำศัพท์ที่ใช่บ่อยครั้ง เช่น ข้างบน ข้างล่าง
  • ยังไม่เริ่มพูดผสมคำ แบบ สองสามคำ
  • ไม่สามารถบอกชื่อข้าวของเครื่องใช้ในบ้านได้อย่างถูกต้อง
  • ไม่สามารถทำตามคำสั่งที่มีสองส่วนได้ เช่น เก็บลูกบอลมาให้แม่หน่อย เอาผ้าห่มไปเก็บไว้บนเตียงสิลูก

ลูกวัย 3 – 4 ขวบ

  • ไม่สามารถตอบคำถามง่าย ๆ ได้
  • ไม่เข้าใจคำพูดของผู้ใหญ่คนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือคนในบ้านที่คุ้นเคยได้
  • ยังพูดไม่เป็นประโยคที่ใช้คำตั้งแต่สี่คำขึ้นไป
  • พูดออกเสียง ซึ่งรวมถึงเสียงพยัญชนะต่าง ๆ และคำควบกล้ำที่ใช้บ่อย ๆ ยังไม่ได้ชัดเจน

พัฒนาการทางด้านภาษาเป็นพัฒนาการที่สำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะการสื่อสารคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันทั้งกับคนในครอบครัวและและการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมที่ขยายกว้างออกไป หากเกิดความผิดปกติใด ๆ ไม่ควรเพิกเฉยควรรีบรักษาแต่เนิ่น เพื่อกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการที่สมวัยได้มากที่สุด

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular