fbpx
Homeการตั้งครรภ์อายุของแม่ตั้งครรภ์แต่ละช่วงวัย มีผลกับคุณภาพครรภ์มากน้อยเพียงใดนะ?

อายุของแม่ตั้งครรภ์แต่ละช่วงวัย มีผลกับคุณภาพครรภ์มากน้อยเพียงใดนะ?

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ทุกสิ่งในตัวของแม่เป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อคุณภาพครรภ์ได้  ไม่เว้นแม้แต่อายุ !!!! โดยเฉพาะการมีลูกถี่ห่าง  และความแข็งแรงของลูกน้อยในครรภ์นั่นเอง

มาดูกันค่ะ ว่าอายุของคุณแม่ตั้งครรภ์ในแต่ละช่วง มีผลต่อคุณภาพครรภ์อย่างไรบ้าง

แม่ตั้งครรภ์ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี

  • ร่างกายของแม่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงพอ ระยะนี้ร่างกายกำลังอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่แต่ต้องมาตั้งครรภ์แล้ว อาหารที่แม่ทานเข้าไปก็ไม่เพียงพอที่จะไปทำให้ร่างกายของคุณแม่เติบโต เพราะต้องแบ่งสารอาหารเหล่านั้นไปเลี้ยงทารกในครรภ์อีกต่อหนึ่ง
  • แม่ท้องในช่วงวัย ต่ำกว่า 20 ปี อาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายมากกว่าช่วงวัย 20 – 34 ปี เช่น มีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษเพิ่มขึ้น  มีโอกาสแท้งและคลอดก่อนกำหนดได้บ่อยกว่า
  • เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดมีโอกาสคลอดยาก คลอดลำบาก หรือต้องผาตัดคลอดมากกว่าแม่ท้องในวัย 20 -34 ปี หรือเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายที่สมบูรณ์กว่า  และถ้าการดูแลในช่วงเวลาคลอดรวมไปถึงการผ่าตัดไม่ดีแล้ว อันตรายจะเกิดขึ้นสูงกว่า

แม่ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 – 34 ปี

ในช่วงวัย 20 – 30 ปี ถือเป็นช่วงวัยที่มีความพร้อมของร่างกายที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แล้ว หากตั้งครรภ์ในช่วงอายุดังกล่าว โอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนนั้นมีน้อยนับได้ว่าเป็นช่วงอายุที่มีความเหมาะสมในการตั้งครรภ์

พอเริ่มอายุ 31-34 ปี คุณหมอก็จะเริ่มให้ความสำคัญในการดูแลครรภ์มากขึ้น เพราะเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยที่เริ่มมีความเสี่ยงกับโรคแทรกซ้อน แต่ก็ยังไม่ถึงกับน่าเป็นห่วงมากนัก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและประวัติการตั้งครรภ์ของคุณแม่แต่ละคนด้วยนะคะ

แม่ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป

สำหรับแม่ท้องที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เป็นอีกช่วงอายุหนึ่งที่มีปัญหาเริ่มน่ากังวล คุณหมอที่ฝากครรภ์อาจต้องทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะดาวน์ซินโดรม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายเริ่มมีอายุแล้ว โรคแทรกซ้อนก็อาจเกิดขึ้นได้ง่าย  เช่น มีความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน เป็นต้น เมื่อมีโรคแทรกซ้อนมากบางคนอาจต้องให้คลอดก่อนเวลาที่กำหนดต้องผ่าตัดคลอดหรือใช้เครื่องมือช่วยคลอดอันตรายก็ย่อมจะมีมากกว่า สำหรับลูกก็มีโอกาสที่ เกิดความพิการและปัญญาอ่อนได้มากกว่าลูกที่เกิดจากแม่อายุน้อย

ยิ่งถ้าอายุใกล้ 40 หรือเกิน 40 ปี โอกาสก็มีมากขึ้นความพิการชนิดนี้ไม่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ยา ดังนั้น ผู้หญิงที่แต่งงานตอนอายุมากแล้ว ถ้าอยากมีลูกจึงไม่ควรคุมกำเนิด  แต่ควรปล่อยให้มีลูกเลย  อย่าปล่อยให้เนิ่นนานไป  เมื่อตั้งครรภ์ก็รีบไปฝากครรภ์ ให้หมอดูแลรักษาให้เพื่อลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดเท่าที่จะทำได้

อย่างไรก็ตามสำหรับคู่แต่งงาน ไม่ว่าคุณจะอายุน้อยหรืออายุมากก็ตาม สิ่งสำคัญคือ  การวางแผนครอบครัว เพื่อให้มีลูกในช่วงเวลาที่เหมาะสมและเพื่อให้มีลูกตามความเหมาะสมที่จะสามารถเลี้ยงดูได้อย่างมีคุณภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ  สำคัญตรงที่หากแม่หรือพ่อมีโรคประจำตัวใด ๆ ก็ตาม  หากคิดจะมีลูก ควรตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เพื่อให้คุณหมอแนะนำการวางแผนมีลูกอย่างเหมาะสมและปลอดภัยนะคะ

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular