fbpx
Homeเรื่องน่ารู้Advertorialสร้างภูมิต้านทานหลังคลอดให้ลูกน้อยเติบโตด้วย “ซินไบโอติก” พร้อมกล้าเผชิญ โลกภายนอกอย่างมั่นใจ

สร้างภูมิต้านทานหลังคลอดให้ลูกน้อยเติบโตด้วย “ซินไบโอติก” พร้อมกล้าเผชิญ โลกภายนอกอย่างมั่นใจ

คุณแม่ผ่าคลอดหลายท่านอาจกังวลว่า เด็กผ่าคลอดจะมีพัฒนาการของระบบภูมิต้านทานตั้งต้นช้ากว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้ “เด็กผ่าคลอด” เสี่ยงต่อการมีภูมิต้านทานอ่อนแอเพิ่มขึ้นถึง 46% เสี่ยงต่ออาการหอบหืดเพิ่มขึ้นถึง 23% และเสี่ยงต่อโรคลำไส้อักเสบเพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับเด็กคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ เนื่องจากขาด “จุลินทรีย์สุขภาพ” ซึ่งเป็นภูมิต้านทานตั้งต้นที่ได้รับผ่านทางช่องคลอด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แต่รู้ไหมว่า? คุณแม่สามารถสร้างภูมิต้านทานชดเชยให้ลูกน้อยได้ด้วย “นมแม่”

“นมแม่” คือโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้กับลูกน้อยหลังคลอด โดยมีตัวช่วยสำคัญที่เรียกว่า “ซินไบโอติก” ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์สุขภาพ “โพรไบโอติก” และอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ “พรีไบโอติก” สร้างสมดุลในลำไส้ สร้างการพัฒนาระบบภูมิต้านทานที่ดีให้ลูกน้อยเติบโตสมวัยได้ในอนาคตและยังส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ดังนั้น คุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการให้ลูกน้อยทานนมแม่อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือนหลังคลอด และให้ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารเสริมที่ปลอดภัย มีคุณค่าและเหมาะกับอายุ ตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ขวบ หรือนานกว่า

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภูมิต้านทานตั้งต้นของเด็กผ่าคลอด

ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภูมิต้านทานของเด็กผ่าคลอดคือ การไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากช่องคลอดแม่ ทำให้มีผลต่อพัฒนาการด้านภูมิต้านทานตั้งต้นของลูกน้อยในช่วงแรกของชีวิต ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสเจ็บป่วย เป็นภูมิแพ้  ได้มากกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภูมิต้านทานตั้งต้นของเด็กผ่าคลอด ได้อีกเช่นการได้รับยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้เกิดการเสียสมดุลและส่งผลต่อพัฒนาการของภูมิต้านทานซึ่งยังพัฒนาไม่เต็มที่

และนี่คือเหตุผลว่าทำไม? เด็กผ่าคลอดควรได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมภูมิต้านทาน

เพราะ “ซินไบโอติก” ในนมแม่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานอย่างต่อเนื่อง จากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็กช่วงอายุ 1-3 ปี  หากไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำโภชนาการที่เหมาะสม เช่น มีซินไบโอติก ที่จะช่วยเสริมภูมิต้านทานได้

เพราะการได้รับ “ซินไบโอติก” คืออีกหนึ่งคำตอบ ของการส่งเสริมภูมิต้านทานอย่างต่อเนื่อง เพราะมีทั้งโพรไบโอติก และพรีไบโอติก ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้อย่างต่อเนื่องให้ลูก เพื่อให้ลูกน้อยสามารถเติบโตและพร้อมกล้าเผชิญโลกภายนอกอย่างมั่นใจ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular