fbpx
Homeเรื่องน่ารู้Advertorialลูกฉลาด สมองไว พ่อแม่สร้างได้

ลูกฉลาด สมองไว พ่อแม่สร้างได้

พ่อแม่รู้ไหมคะว่า ความฉลาดของลูกพ่อแม่สร้างได้ ต่อยอดได้ ซึ่งแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการศึกษาค้นคว้ากันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับสมองและความเฉลียวฉลาดที่เกิดขึ้น เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าความฉลาดเกิดขึ้นจากปัจจัยใดบ้าง แล้วเราในฐานะพ่อแม่จะส่งเสริม กระตุ้น พัฒนาศักยภาพสมองลูกอย่างไร เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความเข้าใจกับการพัฒนาการสมอง พร้อมแนวทางในการพัฒนาสมองของลูกให้มีความฉลาดสมวัยกันค่ะ

นมแม่และโภชนาการที่ดีมีผลต่อความฉลาดลูก?

ต้องบอกเลยว่านมแม่ดีที่สุดในการพัฒนาสมองและร่างกายของลูกอย่างแท้จริง เพราะในนมแม่นั้นมีสารอาหารหลักที่สำคัญคือ ไขมัน โปรตีน และแลคโตส1 รวมถึงสารอาหารอื่นๆมากมาย เช่น ดีเอชเอ โคลีน ลูทีน สฟิงโกไมอีลิน ไขมันชนิดฟอสโฟไลปิด ก็พบมากในนมแม่2 จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมจึงควรให้ลูกน้อยดื่มนมแม่นานที่สุดนั่นเอง

ทำความเข้าใจกับสมองและวงจรประสาทของลูกน้อย

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองและวงจรประสาทกันหน่อย ในสมองประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ ซึ่งวงจรประสาทก็เหมือนกับการสร้างถนนนั่นเอง โดยเซลล์ประสาทหนึ่งจะส่งแขนงประสาทนำออกไปยังเซลล์ประสาทอีกเซลล์ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณว่าต้องตอบสนองอย่างไร และเมื่อหลายเซลล์รวมกันจนเกิดเป็นวงจรประสาทที่เชื่อมสมองแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จะเกิดการทำงานของสมองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

axon_s26

การสร้างวงจรประสาทของลูกน้อยไม่ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในสมอง แต่เกิดขึ้นตามความจำเป็นในการทำงาน โดยวงจรประสาทในส่วนหน้าที่พื้นฐานเพื่อการมีชีวิตรอดจะมีการพัฒนาตั้งแต่ช่วงอยู่ในครรภ์มารดาไปจนถึงช่วงปีแรก ๆ หลังคลอด ได้แก่ วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และ วงจรประสาทของระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น การมองเห็น การได้ยิน การรับสัมผัส เป็นต้น

หลังจากนั้น วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสาร จะมีการพัฒนาตามมา โดยจะเกิดขึ้นมากในช่วงที่ลูกน้อยอายุ 3 – 5 ปี ตามมาด้วย วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขั้นสูงของสมอง (Higher brain functions) อันเป็นพื้นฐานของความสามารถทางสติปัญญา เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การยับยั้งตนเอง ความสนใจจดจ่อ การควบคุมอารมณ์ และการควบคุมตนเอง เป็นต้น โดยวงจรประสาทในด้านการทำงานขั้นสูงของสมองจะพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงวัยเรียนไปจนถึงวัยรุ่น และไปสิ้นสุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น หลังจากนั้นโครงสร้างสมองและวงจรประสาทจะค่อนข้างคงที่ แต่ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้บ้างตามการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ผู้ใหญ่ที่เรียนภาษาใหม่เพิ่มจากภาษาที่เคยรู้อยู่เดิมก็จะมีการสร้างวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับหลักภาษาใหม่ มาเชื่อมกับวงจรประสาทของภาษาเก่า ทำให้คนเราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไปได้ตลอดทั้งชีวิต เพียงแต่การปรับโครงสร้างสมองและวงจรประสาทในวัยผู้ใหญ่จะเกิดได้ยากกว่าช่วงวัยเด็ก และความสามารถในการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะยิ่งลดลงไปอีกในช่วงวัยชรา จึงเป็นที่มาว่า หากต้องการจะส่งเสริมการสร้างวงจรประสาทในส่วนใดควรต้องทำตั้งแต่ช่วงวัยเด็กนั่นเอง3,4

wyeth-cell
แสดงแขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินมาห่อหุ้ม ส่งผลให้การส่งสัญญาณเกิดขึ้นในลักษณะของการก้าวกระโดด ซึ่งจะส่งสัญญาณได้เร็วขึ้น

สฟิงโกไมอีลิน ตัวช่วยดีๆ เพื่อสมองของลูก

สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญในการสร้างไมอีลิน5 ซึ่งการมีไมอีลินจะช่วยสมองในการส่งข้อมูลผ่านเส้นใยประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ6 เส้นใยประสาทที่มีไมอีลินจะมีการส่งสัญญาณประสาท เร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า7 การได้รับอาหารหลักครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ รวมถึงสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งพบในนม ไข่ ครีม ชีส และผลิตภัณฑ์จากนม8 จะช่วยในการสร้างไมอีลิน อีกทั้งการเลี้ยงดูด้วยการชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การฟังเพลง ร้องเพลง ฟังเสียงดนตรีที่หลากหลาย และฝึกการแก้โจทย์ปัญหา ก็จะช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินให้กับลูกรักได้อีกด้วย

คุณพ่อคุณแม่ เห็นไหมคะว่าความฉลาดของลูกสร้างได้ไม่ยาก เพียงส่งเสริมลูกด้วยสารอาหารและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามวัย จะช่วยกระตุ้นให้สมองลูกสร้างไมอีลีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยกระตุ้นการส่งสัญญาณประสาทภายในสมองลูกให้ดีสมวัยได้อีกด้วย

อ้างอิง

1.Olivia Ballard, JD, et al. Human Milk Composition: Nutrients and Bioactive Factors. Pediatr Clin North Am. 2013 February ; 60(1): 49–74. doi:10.1016/j.pcl.2012.10.002.

2.Francesca Giuffrida, Cristina Cruz-Hernandez, et al. Quantification of Phospholipids Classes in Human Milk. Lipids (2013) 48:1051–1058

3.Robert Stufflebeam. Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission – The Mind Project. http://www.mind.ilstu.edu/curriculum/neurons_intro/neurons_intro.php

4.Adrienne L. Tierney, et al. Brain Development and the Role of Experience in the Early Years. Zero Three. NIH Public Access Author manuscript; available in PMC 2013 July 25

5.Siegel GJ, Agranoff BW, Albers RW, et al., editors. Characteristic Composition of Myelin. Basic Neurochemistry: Molecular, Cellular and Medical Aspects. 6th edition. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999

6.Stiles J, Jernigan TL. The Basics of Brain Development. Neuropsychol Rev. 2010;20(4):327-348

7.Susuki k.Nature Education 2010, 3(9):59

8.Vesper et al., Sphingolipids in Food and the Emerging Importance of Sphingolipids to Nutrition. 1999

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular