fbpx
Homeการเลี้ยงลูกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ปัญหาเต้านมอักเสบ เรื่องที่แม่ให้นมลูก ปวดอก ปวดใจ

ปัญหาเต้านมอักเสบ เรื่องที่แม่ให้นมลูก ปวดอก ปวดใจ

เรื่องของเต้านมในช่วงที่คุณแม่ให้นมแม่แก่ลูกน้อย  ส่วนใหญ่ปัญหาหนักอกหนักใจที่มักจะหนีไม่พ้นคือ ปัญหาเต้านมอักเสบ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาการเต้านมอักเสบ พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขและป้องกันค่ะ

ทำความรู้จักเต้านมของแม่

เต้านมของแม่เป็นแหล่งผลิตน้ำนมแม่ นับว่าเป็นอาหารชั้นเลิศของลูกน้อย ตามปกติเต้านมประกอบไปด้วยต่อมน้ำนม 15 – 20 ต่อม ซึ่งภายในจะมีต่อมน้ำนมเล็กๆ อยู่อีกจำนวนมาก  บริเวณตรงปลายต่อมน้ำนมเล็กๆ นั้นจะมีถุงกระเปาะขนาดเล็กเป็นแหล่งผลิตน้ำนม โดยทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อถึงกัน   โดยท่อน้ำนมจะไปสิ้นสุดที่หัวนม ส่วนบริเวณช่องว่างระหว่างต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมจะเป็นไขมันแทรกตัวอยู่ โดยมีกล้ามเนื้อรองรับเต้านมอยู่เหนือกระดูกซี่โครงอีกชั้นหนึ่ง 

โดยปกติหลังคลอด นํ้านมแม่จะเริ่มผลิตได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงระยะหลังคลอดแล้ว 2 – 5 วัน หากมีการดูดกระตุ้นของทารก ก็จะทำให้การระบายนํ้านมออกไปทุกวัน  ส่งผลให้มีการสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นการสร้างน้ำนมทดแทนตลอดเวลา แต่หากว่าทารกหยุดการดูดนมเกิน 2 วัน    เต้านมจะเริ่มคัดและการสร้างน้ำนมก็จะลดลงไปอย่างรวดเร็วอาจส่งผลให้เกิดเต้านมอักเสบได้

เต้านมอักเสบ

เกิดจากการที่มีน้ำนมเก่าคั่งค้างในเต้านม โดยไม่ได้ระบายน้ำนมออกเท่าที่ควร หรือมีท่อน้ำนมอุดตัน และเมื่อมีการติดเชื้อผ่านทางแผลหรือรอยแตกที่หัวนม จะทำให้เกิดการอักเสบของเต้านมตามมา

อาการของแม่ที่เต้านมอักเสบ

คุณแม่จะมีอาการคัดตึงเต้านม หากน้ำนมยังไม่ได้รับการระบายออก เต้านมจะค่อยๆ แข็งตึง เมื่อกดจะเจ็บและปวดไปทั่วบริเวณเต้านม  ผิวรอบ ๆ เต้านมจะร้อน บวมแดง ซึ่งคุณแม่บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรือมีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจมีท่อน้ำนมอุดตันร่วมด้วย จะสังเกตได้ว่า ท่อน้ำนมอุดตันนั้น หัวนมแห้ง แตก และมีเชื้อโรคเข้าไปในเต้านมก่อให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อขึ้น

สาเหตุของเต้านมอักเสบ

1.ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกต้องการ

2.มีการระบายน้ำนมออกไม่สมดุลกับปริมาณน้ำนมที่ร่างกายสร้าง

3.ลูกดูดน้ำนมออกไม่เกลี้ยงเต้า ทำให้มีน้ำนมค้างในเต้านม

4.แม่ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้การระบายน้ำนมไม่ดีเท่าที่ควร

การป้องกันและแก้ไข

1.คุณแม่อย่าหยุดให้นมลูกนะคะ แม้ว่าอาจรู้สึกเจ็บปวดมาก เพราะการให้นมลูกบ่อยๆ จะช่วยให้อาการดีเร็วขึ้น เพราะน้ำนมได้ระบายออกจากเต้า ก่อนให้นมลูกควรประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัดประมาณ 3 – 5 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมของเต้านมได้ และกระตุ้นให้น้ำนมไหลสะดวกขึ้น

2.ให้ลูกดูดจากเต้าที่มีปัญหาก่อน จะทำให้น้ำนมระบายออกได้มาก โดยให้ลูกดูดนมบ่อยอย่างน้อย 8-12 ครั้ง / วัน และดูดนานอย่างน้อยข้างละ 15-20 นาที

3.การจัดท่าให้นม  ต้องจัดท่าให้ลูกดูดนมให้ถูกต้อง และจัดให้คางลูกชี้ไปบริเวณที่เป็นก้อน เพื่อให้ลิ้นของลูกช่วยรีดน้ำนมจากส่วนที่เป็นก้อนออกได้ดีขึ้น

4.ในขณะที่ให้นม  ให้คุณแม่นวดเต้านมไปเบาๆ ขณะลูกดูดนม  โดยนวดเหนือบริเวณที่อุดตัน ไล่ลงไปถึงหัวนม เพื่อดันให้ก้อนที่อุดตันหลุดออก

5.หลังให้นมลูกประคบเย็น เพื่อลดอาการปวดและบวมของเต้านม ถ้าปวดมากกินยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล

6.เลือกยกทรงที่ช่วยพยุงเต้านมได้ดี ไม่หลวมหรือรัดแน่นเกินไป

เรื่องอื่นๆ ที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular