fbpx
Homeการตั้งครรภ์เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการ ตั้งครรภ์แฝด มีกี่ชนิด มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการ ตั้งครรภ์แฝด มีกี่ชนิด มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

คุณแม่หลาย ๆ คนที่ตั้งใจว่าจะมีลูกไม่ใช่แค่เพียงคนเดียว ก็ต้องตั้งท้องสอง ท้องสามว่ากันไป  แต่ที่โชคดีแบบแจ็คพ๊อตต้องเป็นคุณแม่ลูกแฝดเลยค่ะ  เพราะท้องทีเดียวได้ลูกออกมาสองหรือสามคนเลยก็มี แต่การที่จะดูแล ครรภ์แฝด นั้นก็ไม่ใช่เรื่อง่ายเลยทีเดียวค่ะ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าการ ตั้งครรภ์แฝด นั้นมีกี่ชนิด และมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

ตั้งครรภ์แฝด

ครรภ์แฝดแบ่งออกเป็น  2 ชนิด  ได้แก่

กรณีที่ 1 แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน

เรียกว่าในประเทศไทยอัตราการเกิดแฝดไข่ใบเดียวกันประมาณ 3-5 ราย / แม่ท้อง 1.000 คน หรือ ร้อยละ 0.3 – 0.5

ความรู้เกี่ยวกับแฝดไข่ใบเดียวกัน

  • ฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน  ไม่ใช่เรื่องของพันธุกรรม
  • เกิดหลังจากอสุจิผสมกับไข่แล้วเกิดการแบ่งตัว จึงทำให้เกิดเป็นแฝดเพศเดียวกัน หน้าตาเหมือนกัน ซึ่งนับเป็นเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ นะคะ
  • สำหรับรกและถุงน้ำคร่ำนั้น ใน 3 วันแรกที่มีการแบ่งตัวหลังจากปฏิสนธิจะเกิดแฝดใบเดียวกันที่มีรก 2 รก และถุงน้ำคร่ำ 2 ถุง, ในวันที่ 4 – 8 หลังการปฏิสนธิแฝดใบเดียวกันมีรก 1 รก ถุงน้ำคร่ำ 2 ถุง และในวันที่ 8 -12 หลังการปฏิสนธิ  แฝดใบเดียวกันมีรก 1 รก และอยู่ในถุงน้ำคร่ำเดียวกัน

ในกรณีที่ไข่ใบเดียวกัน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าตัวอ่อนจะเกิดการแบ่งตัวในขั้นตอนไหน 

สำหรับแฝดสยามที่มีส่วนใดส่วนนึ่งของร่างกายติดกันนั้น ภายหลังปฏิสนธิไป 13 วันแต่ร่างกายยังติดกันอยู่  แบบนี้จึงเกิดแฝดสยาม

กรณีที่ 2 แฝดจากไข่คนละใบ

แฝดประเภทนี้พบได้ร้อยละ 1 – 2 ของแม่ท้อง แต่การรักษากรณีผู้มีบุตรยากหรือการใช้ยากระตุ้นให้รังไข่ทำงานจะทำให้เกิดทารกฝาแฝดได้สูง ส่วนใหญ่ผู้ที่มีบุตรยากจำนวนมากสามารถตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่หลายใบได้ถึง ร้อยละ 3

ความรู้เกี่ยวกับแฝดจากไข่หลายใบ

  • สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกยาก และต้องใช้ยากระตุ้นให้ไข่ตกทำให้มีโอกาสเกิด ครรภ์แฝด ได้มากกว่าปกติ
  • ถ้าเป็นในเรื่องพันธุกรรม มักจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมฝ่ายคุณแม่ ที่มีญาติหรือพี่น้องตั้งครรภ์แฝด  โดยถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะยีนเด่น (Autosomal Dominant)
  • อายุของคุณแม่ สำหรับครรภ์แฝดจากไข่หลายใบมักพบในคุณแม่ที่มีอายุมาก นั่นคือ
    • คุณแม่อายุ 15 – 24 ปี พบได้ร้อยละ 0.2
    • คุณแม่อายุ 45 – 49 ปี พบได้ร้อยละ 2

ในทางการแพทย์เชื่อว่าคุณแม่ที่มีอายุมากสามารถเกิดฝาแฝดจากไข่หลายใบ เนื่องจาก เมื่อใกล้หมดประจำเดือนรังไข่ทำงานน้อยลง ร่างกายจะปรับโดยให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน FSH (Follicle – stimulating Hormone) สูงขึ้น  ฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นให้ไข่ตกหลายใบ จึงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดฝาแฝดในคุณแม่สูงวัย

  • จำนวนครั้งที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาหลายครั้งมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ฝาแฝดไข่หลายใบได้มากกว่า เพราะยิ่งท้องหลายท้องอายุที่มากขึ้น จะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนและรังไขที่ทำงานปกติดี
  • ฮอร์โมน หากได้รับฮอร์โมนจำพวกหยุดการทำงานของรังไข่  เช่น  ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน หลังหยุดทานยาคุมกำเนิดแล้วต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน FSH (Follicle – stimulating Hormone) สูงขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ไข่ตกหลายใบ จึงมีโอกาสเกิดครรภ์แฝดชนิดไข่หลายใบได้มากขึ้นกว่าปกติ

ครรภ์แฝดมีความเสี่ยงอย่างไร

ผลกระทบต่อแม่ท้อง

1.มักจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ เนื่องจากระดับฮอร์โมน hCG ขึ้นสูงกว่าครรภ์ปกติ ซึ่งจะทำให้มีอาการแพ้ท้องมากกว่าครรภ์เดี่ยว

2.โลหิตจาง  คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสที่จะเป็นโรคโลหิตจางได้มากกว่า  ดังนั้นคุณหมอจึงมักจะให้เสริมธาตุเหล็กอย่างน้อยวันละ 60 มิลลิกรัมและโฟเลตวันละ 1,000 ไมโครกรัม เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง

3.ความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ การตั้งครรภ์แฝดครั้งแรกมีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรงมากกว่าครรภ์เดี่ยวถึง 5 เท่า

4.น้ำคร่ำมากหรือแฝดน้ำ  คือ  น้ำคร่ำจะมีมากกว่า 2 ลิตร ซึ่งคนทั่วไปที่ตั้งครรภ์เดี่ยวจะพบประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น  แต่ครรภ์แฝดพบได้ถึง ร้อยละ 12 ซึ่งมากกว่าครรภ์เดี่ยวถึง 10 เท่า น้ำคร่ำมากยังมีส่วนสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด  รกลอกตัวก่อนกำหนด  และการตกเลือดหลังคลอดอีกด้วย

5.ไม่สุขสบายตอนท้อง  เช่น  ปวดหลัง ปวดขา  เดินไม่ไหว  หายใจไม่อิ่ม  เส้นเลือดขอด  ริดสีดวงทวาร ซึ่งจะมีอัตราการเกิดได้มากกว่าคุณแม่ครรภ์เดียว

ผลกระทบต่อทารก

1.แท้ง ครรภ์แฝดมีโอกาสเสี่ยงแท้งมากกว่าครรภ์ปกติถึง 2 เท่า

2.ทารกในครรภ์เติบโตช้า  มีโอกาสสูงถึงร้อยละ 25 -33 หากเป็นมากโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตมีมาก

3.มีโอกาสเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าครรภ์ปกติ

อย่างไรก็ตาม  หากคุณหมอตรวจพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด การดูแลจะใกล้ชิดมากขึ้นและจะนัดตรวจอาการต่าง ๆ บ่อยครั้งกว่าครรภ์ปกติ  คุณแม่อย่าเพิ่งวิตกกังวลไปนะคะ เพราะคุณหมอจะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกน้อยในครรภ์

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular