พ่อแม่กลุ้มใจทำไมลูกกินยาก

22248
- Advertisement -

ลูกกินยากเป็นปัญหาที่ต้องกังวลใจ สำหรับพ่อแม่ในหลาย ๆ ครอบครัว เพราะเมื่อ ลูกกินยาก  เลือกกิน สารอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายก็น้อยลง และอาจะไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการการเจริญเติบโต  ส่วนสูงและน้ำหนักตัวไม่เป็นไปตามเกณฑ์  แต่สิ่งสำคัญ อาจจะสงผลต่อการเจ็บป่วย และพัฒนาการต่าง ๆ ด้วย

เด็กกินยาก

พ่อแม่ทำความเข้าใจ ทำไมลูกกินยาก

ลูกกินยากเกิดจากหลายสาเหตุ  มาดูกันค่ะว่า ลูกกินยากนั้น เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเตาะแตะประมาณ 9 -10 เดือน  ลูกน้อยจะเริ่มเป็นเด็กช่างเลือกมากขึ้น  และจะเริ่มฉายชัดเมื่ออายุประมาณ 1 – 3 ขวบ ลูกน้อยจะเริ่มจิ้ม ๆ เขี่ย ๆ สำรวจอาหารแต่ไม่ยอมกินเสียที บางมื้ออาจจะกินเพียงคำหรือ 2 คำเท่านั้น โดยอาการเหล่านี้มีสาเหตุคือ

1.เกิดจากพัฒนาด้านร่างกายในช่วงวัยเตาะแตะจะช้าลงมากเมื่อเทียบกับช่วงขวบปีแรก ทำให้ความต้องการอาหารน้อยลง

2.เด็กวัยนี้เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ เริ่มพูดคำว่า “ไม่” เพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่เพราะลูกไม่หิว เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการรับประทานกับครอบครัว จะกระตุ้นให้ลูกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น

  1. “ติดอาหาร” หมายถึง ในวัยนี้ลูกมักชอบกินอาหารที่ตัวเองชอบเพียงอย่างหรือสองอย่างเท่านั้น 

สารอาหารอะไรบ้างที่ลูกต้องการ

  1. กรดอะมิโน จำเป็น 9 ชนิด

กรดอะมิโนจำเป็น  (Essential Amino Acids) คือ  หน่วยเล็ก ๆ ของโปรตีน ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้  เป็นสารสื่อประสาท และ เป็นตัวช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบใยประสาทให้ทำงานได้ดี  ส่งผลให้สมองมีประสิทธิภาพซึ่งมี 9 ชนิดดังนี้

  • ทริปโตเฟน (Tryptophan) ช่วยส่งเสริมการนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ทรีโอนีน (Threonine) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ช่วยเสริมความจำ
  • เมไธโอนีน (Methionine) ช่วยในการย่อยสลายไขมัน
  • ลิวซีน (Leucine) ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อ และช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรงขึ้น
  • ไลซีน (Lysine) ช่วยเสริมสมาธิ ช่วยป้องกันโรคเริมและโรคกระดูกพรุน
  • วาลีน (Valine) ช่วยกระตุ้นสมรรถนะของสมองและช่วยการประสานกันของกล้ามเนื้อ
  • ไอโซลิวซีน (Isoleucine) ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ช่วยพัฒนาการเรียนรู้
  • ฮิสทิดีน (Histidine) ช่วยให้การส่งผ่านและการรับรู้ของระบบประสาทดีขึ้น

สำหรับเด็กในวัยเจริญเติบโต  หากได้รับกรดอะมิโนไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง โดยกรดอะมิโน จะมีมากใน นม เนื้อสัตว์ ไข่ และ ถั่ว

  1. โอเมก้า

กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3,6 และ 9 เป็นกรดไขมันจำเป็น (Essential fatty acids) 

ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เองจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น  พบได้ในอาหารจำพวก ปลาแซลมอน ปลาทูน่า  รวมทั้งปลาน้ำจืดบางชนิดของไทยเราอย่าง เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาดุก รวมถึงอาหารชนิดอื่น ๆ ได้แก่  บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ เต้าหู้ ผักขม ถั่วเหลือง เป็นต้น ประโยชน์ของกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า มีความสำคัญในการพัฒนา ระบบประสาท ระบบสายตา และระบบสมอง รวมทั้งพัฒนาการทำงานของสมองและจิตใจ เพิ่มสมาธิ ความจำระยะสั้น จนถึงทักษะในการอ่านของลูกได้อย่างดี ดังนั้น ขาดไม่ได้เลยนะคะ สำหรับกรดไขมันโอเมก้า เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ของร่างกายและการทำงาน ของสมองนั่นเอง

ลูกกินยาก

สัญญาณเตือนเมื่อลูกขาดสารอาหาร

1.ลูกมักร่างกายไม่แข็งแรง จะเป็นหวัดบ่อย ๆ การได้ทานอาหารที่ดี มีประโยชน์เป็นส่วนสำคัญช่วยป้องกันอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้ นอกจากอาการป่วยแล้ว อาจจะสังเกตได้จากอาการอื่น เช่น ผิวหนังแห้งและปัญหาเส้นผมต่าง ๆ

  1. ส่วนสูงและน้ำหนักของเด็กไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมของช่วงอายุ ที่สำคัญการพัฒนาด้าน น้ำหนักและส่วนสูงมีแนวโน้มลดลงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ อาการดังกล่าว ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กกำลังได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  2. ลูกมีอาการซึมเศร้า และวิตกกังกลบ่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสั่งการของสมอง และเป็นผลกระทบ จากการขาดสารอาหาร เช่น การขาดโปรตีน

4.เด็กบางคนมีอาการกระสับกระส่ายอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร และส่งผลให้ร่างกายดูดซึมอาหารได้น้อยลง

การปรับพฤติกรรมการกินของลูก

1.รับประทานอาหารพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ลองให้ลูกนั่งรับประทานอาหารพร้อมกับคุณพ่อ คุณแม่ เพราะเด็กจะชอบเลียนแบบผู้ใหญ่

2.งดรับประทานอาหารขบเคี้ยวระหว่างมื้อ เช่น ขนม หรือน้ำหวาน เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้ จะทำให้ลูกไม่อยากอาหารอื่นอีก

3.คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการกินอาหารให้กับลูก เช่น ถ้าอยากให้ลูกกินผัก ผลไม้ ดื่มนม หรืออาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรรับประทานสิ่งเหล่านั้น อย่างเต็มใจให้ลูกเห็น แล้วบอกกับพวกเขาว่าอาหารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด

  1. สร้างสรรค์เมนูที่น่ารับประทาน โดยอาจจะให้น้องหนูมีส่วนรวมในการทำอาหารด้วย
  2. ปรับพฤติกรรมเด็ก เพื่อให้รู้ว่าเมื่อเค้าเลือกกิน หรือ ไม่ยอมกินอาหารในแต่ละมื้อ เค้าจะไม่ได้กินอย่างอื่นแทนจนกว่าจะถึงมื้อถัดไปและเค้าจะพบการอาการหิว คุณพ่อคุณแม่ห้ามใจอ่อนให้ขนมแทนเด็ดขาดนะคะ

6.หากลูกมีพฤติกรรมเลือกกิน โดยกินอาหารเฉพาะบางอย่าง เช่น กินข้าวเปล่า ไม่ทานกับข้าว เขี่ยอาหารที่ไม่ชอบทิ้ง แนะนำว่าควรให้อาหารเสริมที่มีคุณค่าสารอาหารสูง เช่น นม เพราะมีรสชาติที่อร่อย ดื่มง่าย พกพาง่าย

คุณแม่ควรใส่ใจและเลือกอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีสารอาหารจำเป็นครบถ้วนเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ ให้ลูกดื่มนมเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารจำเป็นครบถ้วน เลือกนมที่มีส่วนประกอบของ กรดอะมิโน และโอเมก้าให้ลูกได้รับประทานทุกวัน เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์และพัฒนาการทางสมองที่ดีสมวัยค่ะ

foremost_omega_369

โฟร์โมสต์โอเมก้า 369 มีกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก  Link : https://goo.gl/efzh28

- Advertisement -