fbpx
Homeการตั้งครรภ์การคลอดและหลังคลอดส่องชีวิต!!! ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นอย่างไร?

ส่องชีวิต!!! ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นอย่างไร?

คลอดก่อนกำหนดคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ในทางการแพทย์ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์เต็มนั้น จะถือว่าคลอดก่อนกำหนด  โดยเฉพาะยิ่งคลอดเร็ว  ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกน้อยนั้นจะยิ่งมากขึ้น มาดูกันว่า  ทารกคลอดก่อนกำหนดนั้นเป็นอย่างไร

ส่องชีวิต!!! ทารกคลอดก่อนกำหนด

แน่นอนว่าการคลอดก่อนกำหนดโดยเฉพาะทารกที่คลอดเร็วมากเท่าไรนั้น  การพัฒนาและการเจริญเติบโตของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรียกได้ว่ายังไม่สมบูรณ์แทบจะทุกส่วนก็ว่าได้  เมื่ออยู่ในท้องของคุณแม่ร่างกายของลูกจะยังอยู่ในโพรงมดลูก โดยมีรกและสายสะดือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและนำพาอาหารและอากาศจากคุณแม่  ซึ่งยังไม่พร้อมที่จะออกมาใช้ชีวิตนอกครรภ์

ปอดที่บรรจุถุงลมจะมีรูปร่างสมบูรณ์และใช้งานได้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 35 สัปดาห์ และใช้เวลาที่เหลือในครรภ์เพื่อหัดหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าปอดเพื่อฝึกความพร้อมก่อนออกมาสู่โลกภายนอก ส่วนใหญ่แล้วทารกที่คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ไม่ถึง 30 สัปดาห์ ส่วนหนึ่งจะไม่รอดชีวิต

หรือหากมีชีวิตรอดก็มักมีปัญหาสุขภาพติดตัว ต้องได้รับการดูแลรักษาในระยะยาว โดยเฉพาะสมองที่ไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้ออ่อนแอ  โครงสร้างของร่างกายไม่แข็งแรง  รวมถึงอาจจะเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเนื่องจากการพัฒนาของหัวใจยังพัฒนาไม่เต็มที่

ทารกคลอดก่อนกำหนด ต้องดูแลอย่างไร

  • หากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม จะถือว่าสามารถแท้งได้ ผิวของทารกจะอ่อนแอมาก คุณหมอจำเป็นต้องใช้วัสดุคล้ายพลาสติกบางที่ใช้ปิดตรึงบนภาชนะก่อนเข้าไมโครเวฟที่เราใช้กันอยู่ (wrap) ห่อตัวไว้
  • ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าปอดจะทำงานโดยสร้างน้ำหล่อลื่นได้เต็มที่ จึงจะสามารถหายใจได้เองตามปกติ
  • สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกู้ชีพทารกคลอดก่อนกำหนดนี้ต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอเพราะอาการของทารกแต่ละคนจะแตกต่างกัน

หัวใจของคนเป็นพ่อแม่เมื่อได้ทราบเกี่ยวกับทารกที่คลอดก่อนกำหนดเช่นนี้อาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจ  ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลเพื่อศึกษาเท่านั้นนะคะ อย่าเพิ่งวิตกหรือตกอกตกใจกลัวกันไปใหญ่

โอกาสรอดของทารกคลอดก่อนกำหนด ในแต่ละช่วงอายุครรภ์

ย้อนไปในสมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่ก้าวหน้าไปมากนัก จึงทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ จะถือว่าเป็นการแท้งบุตร เพราะโอกาสที่จะช่วยเหลือทารกให้รอดชีวิตนั้นเป็นไปได้น้อยมาก แต่ในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์เรื่องการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้นมีความก้าวหน้าไปมาก จึงสามารถดูแลช่วยเหลือทารกที่มีอายุครรภ์น้อย ๆ ได้ดีขึ้น

ถึงแม้วิทยาการทางการแพทย์จะพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดยิ่งอายุครรภ์น้อยมากเท่าไร โอกาสที่จะรอดชีวิตก็น้อยมากขึ้นตามไปด้วย ดังนี้

  • อายุครรภ์ 22-23 สัปดาห์ มีโอกาสช่วยให้ทารกรอดชีวิตได้เพียง 17%
  • อายุครรภ์ 24-25 สัปดาห์ มีโอกาสช่วยให้ทารกรอดชีวิตได้อยู่ที่ประมาณ 40-50%
  • อายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ มีโอกาสช่วยให้ทารกรอดชีวิตได้อยู่ที่ประมาณ 80-90%
  • อายุครรภ์ 29-31 สัปดาห์ มีโอกาสช่วยให้ทารกรอดชีวิตได้อยู่ที่ประมาณ 90-95%
  • อายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์ มีโอกาสช่วยให้ทารกรอดชีวิตได้อยู่ที่ประมาณ 95%
  • อายุครรภ์ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป ทารกมีโอกาสรอดชีวิตได้เหมือนทารกที่คลอดตามกำหนดปกติทั่วไป คือ ประมาณ 95-98%

สัญญาณเตือนทารกคลอดก่อนกำหนด

หากพบอาการเช่นนี้ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด

1.มดลูกบีบรัดตัวเป็นจังหวะ ๆ แล้วคลาย แต่มีความถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มสร้างความเจ็บปวดให้คุณแม่มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน เช่น จาก 4 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง เป็น 8 – 10 ครั้งใน 1 ชั่วโมง และจะเจ็บปวดมากทุกครั้งที่มดลูกบีบตัว

2.ท้องน้อยเกร็ง หากลองกดดู มดลูกจะแข็งสู้มือ

3.มีตกขาวปนมูกเลือดหรือมีเลือดสีแดงสดไหลปะปนออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติ

4.ปวดหลังมาก ร้าวไปยังสะโพก

5.มีน้ำคร่ำสีใส ๆ กลิ่นคาว รั่วไหลออกมาจากช่องคลอด อาการที่กล่าวมานี้เป็นข้อสังเกตที่ส่อว่าจะเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้นคุณแม่อย่านิ่งนอนใจนะคะต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที

วิธีการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างเพียงพอและอาหารเหล่านั้นควรมีธาตุสังกะสีและแมกนีเซียม จำพวก ไข่  นม  ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชต่าง ๆ  เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้

2.สภาพจิตใจและอารมณ์ของแม่ขณะตั้งครรภ์  ไม่ควรเครียดจนเกินไป  พักผ่อนให้เพียงพอ  สำหรับคุณแม่ที่ทำงานหนักต้องเดิน ยืน  นั่ง เป็นเวลานาน ๆ ใช้แรงงานมาก หรืออยู่ในสถานที่เป็นมลพิษอาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าปกติ

3.คุณแม่ต้องรักษาระดับน้ำหนักของร่างกายให้เหมาะสม ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป

4.ป้องกันการติดเชื้อ  เช่น  เชื้อจากโรคทางเพศสัมพันธ์  โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ  ติดเชื้อในช่องปาก  ติดเชื้อในลำไส้จากอาหาร ติดเชื้อในช่องคลอดหรือถุงน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังให้มาก หากเกิดความผิดปกติใด ๆ ต้องรีบปรึกษาคุณหมอทันทีนะคะเพื่อความปลอดภัย

5.การกินยาบางชนิดโดยไม่ปรึกษาคุณหมออาจส่งผลเสียต่อทารกน้อยในครรภ์ได้โดยตรง

ในช่วงตั้งครรภ์หากเกิดความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นควรรีบปรึกษาคุณหมอโดยเร็วนะคะอย่างปล่อยทิ้งไว้  และไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันนัดตามที่ฝากครรภ์ไว้ หากเกิดความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกน้อยค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular