fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์แม่ท้องควรมีน้ำหนักเท่าไร ในแต่ละไตรมาส

แม่ท้องควรมีน้ำหนักเท่าไร ในแต่ละไตรมาส

เมื่อตั้งครรภ์แล้วแน่นอนว่าความคาดหวังของคุณพ่อและคุณแม่คือ  อยากให้เจ้าตัวน้อยคลอดออกมาสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้น คุณแม่โดยเฉพาะแม่มือใหม่อาจเกิดคำถามว่า แบบนี้ต้องทานอาหารให้มากขึ้นด้วยหรือเปล่า เพราะเกรงว่าลูกน้อยในครรภ์จะได้รับสารอาหรไม่เพียงพอ  ประกอบกับช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกคุณแม่บางคนแพ้ท้องมากขนาดทานอาหารไม่ลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงก็มี  แล้วแบบนี้น้ำหนักที่พอดีและเหมาะสมของแม่ตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาสควรเป็นเท่าไร ติดตามคำตอบกันค่ะ

แม่ท้องควรมีน้ำหนักเท่าไร ในแต่ละไตรมาส

เมื่อผ่านพ้นช่วงแพ้ท้องในไตรมาสแรก หรือ 1-3 เดือนแรก พอเริ่มเข้าไตรมาสสอง ช่วง 4 เดือนเป็นต้นไป คุณแม่หลาย ๆ คน อาการแพ้ท้องเริ่มหายไปจนเกือบปกติแล้ว  อาหารที่เคยรับประทานได้น้อยก็เริ่มกลับมาทานได้ปกติและอาจจะมากกว่าปกติสำหรับหลาย ๆ คนเพราะคิดว่า ต้องกินเผื่อลูก ??? กลายเป็นว่าน้ำหนักจากที่เคยลดลงช่วงแพ้ท้องทะยานขึ้น พรวดพราดจนน่าตกใจ

น้ำหนักของแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน ที่เหมาะสมควรขึ้นประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของแม่ก่อนการตั้งครรภ์ด้วยนะคะ

วิธีการคำนวณดัชนีมวลกาย เพื่อจะได้ทราบว่าคุณแม่ควรมีน้ำหนักเท่าไรในช่วงตั้งครรภ์

ดัชนีมวลกาย   = น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร) ยกกำลังสอง

ตัวอย่าง

คุณแม่หนัก  64 กิโลกรัม  ส่วนสูง 168 เซนติเมตร

ดัชนีมวลกาย     =   64 ÷ (1.68*1.68)

=   64 ÷ 2.82

ดัชนีมวลกาย     =   22.69

สำหรับอัตราส่วนของน้ำหนักที่เหมาะสมกับอายุครรภ์และน้ำหนักตัวควรเพิ่มอยู่ที่ประมาณ

ไตรมาสแรก  1 – 3 เดือน            น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 0 – 1.5 กิโลกรัม

ไตรมาสสอง  4 – 6 เดือน            น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นอีก  4 – 5 กิโลกรัม

ไตรมาสที่สาม 7 – 9 เดือน           น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้นอีก 5 – 6 กิโลกรัม

หากคุณแม่น้ำหนักตัวเพิ่มน้อยเกินไปอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อยตามไปด้วยนะคะ แต่ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป  แบบนี้ไม่ดีแน่เพราะคุณแม่จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์ได้  อีกทั้งยังเป็นการสะสมน้ำหนักตัวมากเกินความจำเป็นแบบนี้คลอดแล้วต้องลดน้ำหนักกันขนานใหญ่เลยหละค่ะ

มาดูกันว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์นั้นมาจากส่วนใดบ้าง น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นกระจายออกเป็นสัดส่วนคร่าว ๆ ดังนี้

  • ทารกน้อยประมาณ         3,200   กรัม
  • รก                           670      กรัม
  • มดลูก                       1,120   กรัม
  • น้ำคร่ำ                      896      กรัม
  • เลือดและสารน้ำ           1,344   กรัม
  • เต้านม                      448      กรัม
  • น้ำนอกเซลล์               3,200   กรัม
  • ไขมัน                       3,500   กรัม

เมื่อเราทราบเช่นนี้แล้ว  ควรดูแลสุขภาพให้ดีรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ไม่ควรทานอาหารจำพวกไขมันและอาหารที่มีรสหวาน น้ำตาล  แป้ง  มากเกินไป

อาหารคุณภาพของคุณแม่ใน 1 วัน ควรประกอบด้วย

โปรตีนครบ                   3          มื้อ

อาหารที่มีวิตามินซี          2          มื้อ

อาหารที่มีแคลเซียม         4          มื้อ

ผักใบเขียว ผลไม้           3          มื้อ

ข้าว                          4 – 5     มื้อ

อาหารที่มีธาตุเหล็ก         2          มื้อ

น้ำเปล่า                      8 – 10 แก้วต่อวัน

ที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกายวันละนิดจิตแจ่มใสนะคะ  ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกทางหนึ่ง  ทำจิตใจให้แจ่มใส  ด้วยการฟังเพลง  อ่านหนังสือ  พูดคุยกับลูกน้อยในท้อง สิ่งเหล่านี้ส่งผลดีไม่เฉพาะกับตัวคุณแม่เท่านั้น เพราะยังส่งต่อไปยังลูกอีกด้วยค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular