fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์ปอดของลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง แต่ละสัปดาห์ มีพัฒนาการอย่างไร

ปอดของลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง แต่ละสัปดาห์ มีพัฒนาการอย่างไร

ปอดของลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง พัฒนาการอย่างไร

ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้อง ปอดจะทำให้ลูกหายใจเองได้ตั้งแต่แรกคลอด เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ก่อนที่ปอดจะทำงานสมบูรณ์จะหายใจเองไม่ได้จึงทำให้ทารกเสียชีวิตในที่สุด การทำงานของพัฒนาการของปอดตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มีการพัฒนา ดังนี้

พัฒนาการของปอดทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

สัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ ปอดทั้ง 2 ข้างของลูกสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวและยังทำงานไม่ได้

สัปดาห์ที่ 11 ของการตั้งครรภ์ ปอดของลูกมีการเคลื่อนไหวแล้วถ้ามองจากการอัลตร้าซาวด์จะขยับขึ้นลงได้

สัปดาห์ที่ 14-16 ของการตั้งครรภ์  ปอดของลูกมีการเคลื่อนไหวเหมือนกับหายใจแล้ว จะเป็นลักษณะถอนหายใจเกิดขึ้นประมาณ 1-4 นาที และเหมือนการหายใจ ต่อเนื่อง 30-70 ครั้ง/นาที

สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์ มีถุงลมในปอดเพิ่มตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ

สัปดาห์ที่ 30 ของการตั้งครรภ์ ถุงลมในปอดยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการหายใจเองหลังคลอด

สัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์ ในสัปดาห์นี้สารที่ชื่อว่า เลซิติน เป็นสารที่ลดแรงตึงของถุงลมจะมีประมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้ถุงลมสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้อย่างสมบูรณ์ ลูกจะหายใจได้เองหลังคลอด แต่ถ้าสารเลซิตินมีอยู่น้อยจะทำให้ลูกคลอดออกมาหายใจเองไม่ได้ค่ะ

สัปดาห์ที่ 40 ของการตั้งครรภ์ ปอดของลูกทำงานได้สมบูรณ์แล้วหลังจากคลอดลูกสามารถหายใจได้เอง หายใจครั้งแรกคือการนำอากาศเข้าไปแทนที่น้ำคร่ำ พอหายใจได้ประมาณ 5 ครั้ง  อากาศก็จะเข้าไปเต็มปอดลูกเลยค่ะ

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญมากในร่างกายของลูก เพราะเป็นอวัยวะที่ลูกใช้หายใจ ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์คุณแม่สามารถดูแลปอดของลูกได้โดยการไม่สูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะ 2 สิ่งนี้จะส่งผลเสียกับการทำงานของปอดลูก ทำให้การหายใจของลูกหายใจช้าลง การพัฒนาต่าง ๆ ก็ช้าลงนั่นเองค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular