fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้ของลูกน้อยลูกคันเหงือก มาดูวิธีแก้ปัญหาอาการคันเหงือกกัน

ลูกคันเหงือก มาดูวิธีแก้ปัญหาอาการคันเหงือกกัน

ลูกคันเหงือก มาดูวิธีแก้ปัญหาอาการคันเหงือกให้ลูกน้อยกันดีกว่าค่ะ

เด็กเล็กจะเริ่มมี ฟันขึ้น ตั้งแต่อายุได้ 6 เดือนขึ้นไป เวลาที่ฟันจะขึ้น เด็กจะรู้สึกไม่สบายปาก มักมีอาการ เจ็บ และ คันเหงือก น้ำลายไหลยืด อาจมีการระคายเคืองกับผิวบริเวณคาง เนื่องจากการที่มีน้ำลายไหลมากกว่าปกติ ชอบไล่งับสิ่งของไปทั่ว หรือแม้กระทั่งหัวนมแม่  เด็กบางคนก็ร้องไห้งอแงเพราะ เจ็บเหงือก อยู่ตลอดเวลา เลยทำให้รับประทานอาหารได้น้อย  บางรายอาจมีอาการไข้ด้วย

5 วิธีแก้ปัญหา ลูกคันเหงือก มีดังนี้

1. ใช้เจลทาเหงือก

ในเจลจะประกอบไปด้วยยาฆ่าเชื้อหรือยาชาที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เจลจะช่วยทำให้เหงือกรู้สึกชาแล้วความเจ็บปวดก็จะหายไป
เนื่องจากลูกเองก็มีน้ำลายไหลมาก ดังนั้นคุณแม่ควรทายาที่เหงือกบ่อย ๆ เพื่อให้อาการเจ็บปวดได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและควรใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น

2. เพื่อช่วยลดอาการอักเสบขณะฟันขึ้น 

คุณแม่ควรทำความสะอาดเหงือกให้ลูกหลังมื้ออาหาร ถ้าเหงือกลูกไม่บวมหรือเจ็บมากให้คุณแม่ล้างมือให้สะอาดแล้วลองใช้นิ้วนวดเหงือกของลูกเบา ๆ อาจช่วยให้ดีขึ้นได้ค่ะ

3. ของเล่นยางกัด

บรรเทาอาการเจ็บเหงือกจากฟันขึ้นได้ หาซื้อได้ตามท้องตลาด แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกดูให้ดี ว่าปลอดภัยสำหรับเด็กที่จะนำเข้าปากหรือไม่ และควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังลูกกัดเสร็จ

4. ไอศครีมหรือผลไม้หั่นเป็นแท่งใส่ถุงตาข่ายแช่เย็น

ไม่ใช่แช่แข็งนะคะ เพราะแช่แข็งจะมีความแข็งมากเกินไป ลูกกัดอาจทำให้เหงือกระบมอักเสบได้ หรือให้เคี้ยวอะไรเย็น ๆ ก็ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหรือคันเหงือกเมื่อฟันขึ้นได้  เพราะของเย็น ๆ จะช่วยลดอาการบวมของเหงือกและทำให้รู้สึกชา

5. ขนมเฉพาะสำหรับเด็กวัยฟันเริ่มขึ้น

ในปัจจุบันมีการพัฒนาขนมสำหรับเด็กวัยฟันเริ่มขึ้น มาวางขายตามท้องตลาด ซึ่งขนมนี้จะมีลักษณะคล้ายข้าวเกรียบ คือเมื่อโดนน้ำจะละลายทันที ไม่ติดคอเด็ก  และมีส่วนผสมที่มีประโยชน์สำหรับเด็กมากมาย และทำให้เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้วยการถือ หรือการจับด้วยค่ะ

อาการคันเหงือก ของลูกนั้นมักจะทำให้ลูกโยเยมากกว่าปกติ ดังนั้นคุณแม่ควรเอาใจใส่และดูแลลูกน้อยมากเป็นพิเศษนะคะ คอยให้กำลังใจ กอด หอม นวดผ่อนคลาย เพื่อช่วยให้ลูกอุ่นใจและสามารถรับมือกับอาการเจ็บที่เหงือกได้ดีขึ้น ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นว่าเหงือกของลูกบวมแดงมาก มีไข้สูง หรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่น ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ทันทีนะคะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular