fbpx
Homeการตั้งครรภ์พัฒนาการตั้งครรภ์อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างไร

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างไร

เวลาผ่านไปไม่นานก็เริ่มเข้าสู่ช่วง การเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ แล้วนะคะคุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลาย ซึ่งก่อนหน้านี้ลูกยังเป็นเพียงตัวอ่อนและโครงสร้างต่าง ๆ ของลูกยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก แต่เมื่อถึงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ลูกไม่ใช่ตัวอ่อนอีกต่อไปแล้วค่ะ เพราะเราจะสามารถเห็นรูปร่างของลูกได้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิมค่ะ

การเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ มีอะไรบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ในช่วงนี้เราจะไม่เรียกลูกว่าตัวอ่อนอีกแล้ว

คุณแม่สามารถเรียกลูกว่าทารกได้แล้วนะคะ เพราะว่าโครงสร้างร่างกายของลูกสร้างเกือบจะสมบูรณ์แล้วค่ะ ส่วนหัวของลูกจะใหญ่กว่าส่วนตัวประมาณ 3 เท่า คาง หน้าผาก จมูกเห็นได้ชัดเจน เหง้าฟันของลูกจะเริ่มก่อตัวขึ้นในเหงือกแล้วค่ะ กระดูกและซี่โครง เล็บมือ เล็บเท้าเริ่มแข็งแล้วเนื่องจากมีแคลเซียมสะสมอยู่มาก

หัวใจของลูกจะเต้นช้าลง

หัวใจของเขาจะเริ่มทำหน้าที่สูบฉีดเลือดปริมาณมากไปทั่วร่างกาย

ลูกน้อยเริ่มทำหน้าย่น และเริ่มหันซ้ายขวาได้ในเดือนนี้

ลูกน้อยในครรภ์เริ่มมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับเค้าโดยการลูบสัมผัสบริเวณหน้าท้องคุณแม่ ใช้ไฟฉายเล็ก ๆ ส่องที่ท้อง หรือเปิดเพลงเบา ๆ ให้ฟัง ลูกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ลูกจะขยับตัวแรงขึ้น

เพราะเริ่มเหยียดตัวและหดตัวได้ทำแขนขายืดออกได้แล้ว บางครั้งลูกสะอึก และดิ้นไปมา หลบสิ่งต่างๆที่มากระทบตัวแม่ แต่คุณแม่ก็จะยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นนะคะ เพราะลูกยังตัวเล็กอยู่ค่ะ

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ รกจะมีความสำคัญกับลูกมาก 

เพราะจะทำหน้าที่คอยลำเลียงอาหารและออกซิเจนจากคุณแม่ผ่านไปสู่ลูก ลูกน้อยเริ่มฝึกจังหวะการหายใจได้แล้ว รกจะมีพัฒนาการเร็วมาก เพื่อให้ทันกับการเจริญเติบโตของลูกที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สายสะดือก็มีความสำคัญไม่ต่างกันเนื่องจากเป็นตัวเชื่อมโยงอาหารและออกซิเจนจากคุณแม่ไปเลี้ยงลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์โดยตรง

ลูกสามารถกลืนน้ำคล่ำและถ่ายปัสสาวะได้แล้ว 

ลูกน้อยของคุณแม่เมื่ออยู่ในครรภ์จะลอยอยู่ภายในน้ำคร่ำอย่างสุขสบายลอยไปมาได้อย่างอิสระ ในน้ำคร่ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิในร่างกายของคุณแม่เล็กน้อยค่ะ

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ลูกตาของลูกจะเคลื่อนเข้ามาใกล้กันมากกว่าเดิม 

ลูกตาของทารกจะเคลื่อนที่เข้ามาใกล้กันมากขึ้น ส่วนของขนอ่อนจะขึ้นปกคุมทั้งร่างกายของลูกในช่วงเดือนนี้ ความยาวของลูกจะอยู่ที่ประมาณ 9 เซนติเมตร และหนักประมาณ 48 กรัมค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular