fbpx
Homeพัฒนาการเด็กพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 1 ขวบ5 พัฒนาการของลูกวัย2-18เดือน ที่ถือว่าผิดปกติ ต้องพบหมอ!

5 พัฒนาการของลูกวัย2-18เดือน ที่ถือว่าผิดปกติ ต้องพบหมอ!

ในช่วงเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี จะมีพัฒนาการที่เร็ว และพัฒนาการต่าง ๆ จะเรียงลำดับกันไปอย่างต่อเนื่อง อาจมีข้ามขั้นของพัฒนาการบ้างขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและสุขภาพของเด็กแต่ละคน ส่วนเด็กบางคนก็กลับมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน จนคุณพ่อคุณแม่อาจเป็นกังวล

เรามาดูกันค่ะว่า พัฒนาการของลูก วัย 2-18 เดือน แบบไหนที่ถือว่าผิดปกติ ต้องพาไปพบคุณหมอ

5 พัฒนาการของลูก วัย 2-18 เดือน ที่ถือว่าผิดปกติ ต้องพบหมอ!

1. ลูกอายุ 2 เดือนกว่าแล้วแต่คอยังไม่แข็ง

ถ้าลูกอายุได้ 2 เดือน คอลูกต้องแข็ง ชันคอได้ แล้วนะคะ ถ้าคอเอียงไปมาไร้ทิศทาง ต้องให้คุณแม่คอยจับคอให้ตลอดแบบนี้ถือว่าผิดปกติแล้วค่ะ อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง แบบนี้ถือว่าพัฒนาการล่าช้าค่ะ

2. ลูกอายุ 3-4 เดือนแล้ว แต่มือยังหยิบจับของเล่นไม่ได้

ปกติเด็กแรกเกิดจะจับนิ้วของคุณแม่บีบได้เลย และเมื่ออายุ 3-4 เดือนเดือนจะจับสิ่งของได้ หลังจากนั้นเด็กจะใช้มือคล่องขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ แต่ถ้าหยิบจับอะไรก็ดูไม่มีแรง หยิบอะไรก็หล่น แสดงว่ากล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง ต้องหาวิธีฝึกกันหน่อยค่ะ ถ้าฝึกแล้วยังไม่ได้ต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

3. ลูกอายุ 9 เดือน แล้วยังนั่งเองไม่ได้

อันนี้พัฒนาการจะล่าช้าและส่งผลไปยังพัฒนาการขั้นต่อไป นั่นก็คือการยืนและการเดิน หากลูกของคุณยังลุกนั่งเองไม่ได้ เกิดจากปัญหากล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่แข็งแรงต้องปรึกษาคุณหมอเช่นกันค่ะ

4. ลูกอายุ 10 เดือนแล้ว ยังยืนไม่ได้

เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 10 เดือน เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถลุกยืนได้แล้วค่ะ แต่อาจจะยังไม่เดิน ไม่ก้าว ไม่เป็นไรค่ะ เพราะเด็กช่วงนี้จะช้า หรือ ไว แตกต่างกันแต่ควรจะลุกนั่ง หรือ จับสิ่งของยืนได้แล้วค่ะ

5. ลูกอายุ 18 เดือนแล้วยังเดินไม่ได้

หากลูกของคุณอายุ 18 เดือน แล้วยังเดินไม่ได้ ถือว่ามีปัญหาเรื่องการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่มากๆค่ะ โดยปกติแล้วพัฒนาการของเด็กภายในอายุ 1 ขวบครึ่ง เด็กต้องลุกและเดินได้เองแล้วนะคะ ถ้าไม่ได้ต้องปรึกษาคุณหมอด่วนเลยค่ะ

พัฒนาการของเด็ก แต่ละคนจะช้าหรือเร็วแตกต่างกันอยู่แล้วนะคะ ไม่จำเป็นต้องทำได้เหมือนกันทุกคน แต่อย่างน้อยก็ควรมีพัฒนาการให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าหรือเร็วไม่เท่ากันก็ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและสุขภาพของเด็กเองด้วยค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular