fbpx
Homeเรื่องน่ารู้โรคที่พบในวัยเด็กทำความรู้จักกับ โรคหัวใจในเด็ก กันเถอะ

ทำความรู้จักกับ โรคหัวใจในเด็ก กันเถอะ

ทำความรู้จักกับ โรคหัวใจในเด็ก กันเถอะ

 

เด็กสามารถเป็นโรคหัวใจได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บางรายอาจเสียชีวิตก่อนคลอด บางรายเริ่มมีอาการ หรือตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด บางรายตรวจพบเมื่อออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด หรือมีอาการหลังอายุ 1-2 เดือน หรือหลังจากนั้น โรคหัวใจในเด็กจำแนกเป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและโรคหัวใจที่เกิดภายหลังเกิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ประมาณ 50% ในกลุ่มนี้จะไม่มีอาการแสดงออกมา ที่เหลือจะมีอาการเขียว หรือหัวใจวายร่วมด้วยอย่างละเท่าๆกัน บางรายอาจเสียชีวิตโดยไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ  เด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวนหนึ่งจะไม่มีอาการ และตรวจก็ไม่พบสิ่งผิดปกติในสัปดาห์แรก

แต่ในบางรายมีความผิดปกติของอวัยวะอย่างอื่นร่วมด้วย บางรายเป็นเด็กกลุ่มอาการดาวน์ และบางรายเป็นความผิดปกติจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิด เช่นมีรูรั่วเล็กๆ ที่ผนังกั้นห้องล่าง หรือมีลิ้นหัวใจตีบเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ก็สามารถมีชีวิตเหมือนคนปกติ แต่ต้องป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่นการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจหรือบริเวณรูรั่ว

ส่วนโรคหัวใจที่เกิดภายหลังนั้น ได้แก่

  • โรคหัวใจรูมาติก ซึ่งเกิดจากโรคไข้รูมาติกซึ่งมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจ ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว หรือถ้าเป็นเรื้อรังทำให้ลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคคาวาซากิ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคนี้คือ มีการอักเสบที่หลอดเลือดแดงโคโรนา อาจทำให้มีการโป่งพองหรืออุดตันในหลอดเลือด และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
  • โรคหัวใจจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรียทุกชนิดเป็นสาเหตุของการอักเสบของหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดจากไวรัสเกือบทุกชนิดสามารถเป็นสาเหตุได้ แต่ที่พบเป็นสาเหตุบ่อย คือ ไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคหัดและโรคหัดเยอรมัน นอกจากนั้นยังพบเกิดได้จาก ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบ ซี และไวรัสโรคชิคุนกุนยา
  • การอักเสบของหัวใจจากแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียหลายชนิดทำให้เกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นไปตามจังหวะธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป อาจมีภาวะหัวใจวายได้

จาก : maerakluke.com Photo Credit : huffingtonpost.ca

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular