fbpx
Homeเรื่องน่ารู้เรื่องน่ารู้ของลูกน้อยลูกของคุณสมาธิสั้นหรือไม่ เช็คด่วนทางนี้เลยค่ะ

ลูกของคุณสมาธิสั้นหรือไม่ เช็คด่วนทางนี้เลยค่ะ

อาการสมาธิสั้นของเด็ก เป็นเพียงการเสียความควบคุมตัวเองเพียงเล็กน้อยเช่น  ทำงานไม่ค่อยสำเสร็จ หรือไม่ค่อยตั้งใจเรียนเท่านั้น สามารถรักษาได้ และอาจต้องใช้เวลาในการรักษาสักหน่อยเท่านั้นค่ะ วิธีการสังเกตว่าลูกของเราเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ง่าย ๆ ดังนี้

วิธีการสังเกตว่าลูกของเราเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่

  1. ทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งไม่สำเร็จ
  2. ขาดสมาธิในการเล่น ในการเรียน หรือทำการบ้าน
  3. เมื่อมีกิจกรรมที่ต้องทำเหมือนไม่ตั้งใจฟัง เก็บรายละเอียดที่พ่อแม่หรือครูบอกไม่ค่อยได้
  4. ทำงานหรือการบ้านที่พ่อแม่หรือครูสั่งผิดพลาดบ่อย ๆ
  5. เป็นเด็กไม่มีระเบียบ
  6. ไม่ชอบงานที่ต้องใช้สมาธิ
  7. ทำของใช้ส่วนตัวหายบ่อย ๆ
  8. ขี้ลืม
  9. ซนตลอด ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง นั่งไม่ติด ลุกเดินบ่อย ๆ
  10. ชอบวิ่ง ปีนขึ้นบันไดหรือโซฟา
  11. ชอบเล่นเสียงดัง
  12. พูดมาก
  13. พูดแทรกโดยยังฟังไม่ทันจบ ชอบแทรกเวลาที่คนอื่นพูดเสมอ ๆ
  14. ไม่รู้จักการรอคอย

ถ้าลูก ๆ ของคุณมีอาการดังที่กล่าวมาสัก 6 อาการ แสดงว่าลูกมีความเสี่ยงที่จะเป็นเด็กสมาธิสั้นค่ะ พ่อแม่หรือคุณครูสามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ได้โดยจัดระบบกิจกรรมใหม่ให้เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้

  1. หากิจกรรมให้ทำในแต่ละวัน สั่งงานกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำเป็นขั้นเป็นตอน
  2. ให้เด็กพูดทวนคำสั่ง
  3. จัดกิจกรรมในสถานที่เหมาะสม ไม่มีสิ่งรบกวนเช่น ในห้องรับแขกไม่ควรเปิดทีวีเพราะจะดึงสมาธิเด็กได้ค่ะ
  4. อย่าลงโทษลูกเมื่อลูกทำกิจกรรมที่ให้ทำผิดพลาด
  5. ควรชมเชยเมื่อลูกทำกิจกรรมนั้น ๆ สำเร็จ
  6. ถ้าอยู่โรงเรียนควรนั่งโต๊ะหน้า ๆ หรือใกล้ ๆ คุณครู อย่าให้นั่งใกล้หน้าต่างเด็ดขาด
  7. ควรสั่งการบ้านเด็กด้วยการเขียน เด็กจะได้จำได้ หรือ กลับมาบ้านยังมีพ่อแม่ช่วยอ่านให้ทำการบ้านได้สำเร็จ
  8. ถ้าเรียนอยู่แล้วเด็กเบื่อๆควรหากิจกรรมอย่างอื่นให้ทำแทนไปก่อน เช่น ลบกระดานดำ แจกหนังสือ แจกสมุดเพื่อน(ต้องเป็นคุณครูที่ใส่ใจเด็กด้านนี้เป็นพิเศษด้วยค่ะ)

เด็กที่สมาธิสั้นส่วนมากเกิดจากการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวว่ากิจกรรมในแต่ละวันเด็กทำอะไรบ้าง จะมีส่วนน้อยที่มีเด็กอาการสมาธิสั้นที่เกิดจากการเจ็บป่วย แต่อาการสมาธิสั้นไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง สามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ โดยพ่อแม่เป็นคนกำหนดการเลี้ยงดูให้กับลูกค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular