fbpx
Homeการตั้งครรภ์สุขภาพช่วงตั้งครรภ์โรคซิฟิลิส โรคอันตรายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

โรคซิฟิลิส โรคอันตรายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

โรคซิฟิลิส โรคอันตรายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า Treponema Pallidum ความน่ากลัวของโรคซิฟิลิสนี้คือ ผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสนี้จะไม่มีอาการแสดงออก เป็นโรคเรื้อรัง ถ้าพบเชื้อแล้วรักษาจนหาย โรคซิฟิลิสนี้ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกค่ะ..

โรคซิฟิลิส ติดต่อกันได้ดังนี้

  1. โรซิฟิลิส สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ
  2. โรซิฟิลิส สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ ทางปากแผล โดยผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก
  3. เชื้อซิฟิลิส ถ้าติดเชื้อซิฟิลิสในลักษณะนี้จะเรียกว่า ติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital Syphilis) อาการจะออกประมาณ  3-8 สัปดาห์ไปแล้ว ลักษณะของอาการจะไม่ค่อยแสดงออกมาก จะมีตุ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะมีอาการออกมากตอนโต หรือเด็กบางคนออกมาก็พิการแต่กำเนิดเลยค่ะ

 

อาการของโรคซิฟิลิส มี 3 ระยะ

ซิฟิลิสระยะที่ 1 

หลังจากได้รับเชื้อซิฟิลิสไปแล้ว ประมาณ 10-19 วัน จะเกิดตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศ  ริมฝีปาก ลิ้น ต่อมทอนซิล หัวนม ตรงบริเวณที่เชื้อเข้า แผลที่เห็นจะเป็นอยู่ 1-5 สัปดาห์ และจะหายไปเอง ถึงแม้จะรักษาหายแล้วแต่ก็ยังมีเชื้ออยู่ในสายเลือด สำหรับผู้ที่เป็นเอดส์จะมีแผลขนาดใหญ่และมีอาการเจ็บมาก

ซิฟิลิสระยะที่ 2

จะพบเมื่อได้รับเชื้อซิฟิลิสระยะที่ 1 ไปแล้ว 3- 6 สัปดาห์ เชื้อซิฟิลิสจะเข้าไปอยู่ตามต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายมีอาการปวดตามข้อเนื่องจากข้ออักเสบ อาการสำคัญที่เห็นชัด ๆ คือ ผมร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ผื่นจะมีลักษณะออกสีน้ำตาลแดง หรือที่เรียกว่า “ระยะออกดอก”  ในระยะนี้ ถ้าทำการตรวจเลือดจะพบผลเลือดเป็นบวก ผื่นและอาการต่าง ๆ จะหายได้เองแม้ไม่ได้รักษา โดยเชื้อจะไปหลบซ่อนตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และจะไม่แสดงอาการเป็นปี ๆ (อาจเป็น 5 ปี 10 ปี)  แล้วก็เข้าสู่ระยะที่ 3

ซิฟิลิสระยะที่ 3

หรือ ระยะทำลายเป็นระยะสุดท้ายของโรค เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ซื้อยากินเอง ส่งผลให้เข้าสู่ระยะร้ายแรงของโรค ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะที่ 3 ประมาณ 3-10 ปีหลังจากได้รับเชื้อซิฟิลิสระยะที่ 1 โดยผู้ป่วยระยะที่ 3 นี้อาจส่งผลทำให้ตาบอด หูหนวก สติปัญญาเสื่อม ใบหน้าผิดรูป เชื้อซิฟิลิสอาจเข้าสู่สมองทำให้เสียสติได้ บางรายเชื้อเข้าสู่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาต  ถ้าเชื้อไปสู่หัวใจ ก็ทำให้หัวใจมีความผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจมีลักษณะโป่งพอง เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้

รู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อซิฟิลิส

ถ้าต้องการทราบว่าติดเชื้อซิฟิลิส หรือไม่ สามารถทำได้โดยการนำน้ำเหลืองตรงที่มีแผล ไปส่องกล้องเพื่อตรวจหาเชื้อโรค หรือถ้าหากไม่มีแผลหรือผื่นขึ้นจะรู้ได้โดยการเจาะเลือดตรวจค่ะ

การรักษาโรคซิฟิลิส

การรักษาโรคซิฟิลิส สำหรับผู้ที่เป็นระยะเริ่มต้นสามารถกินยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อนี้ก็จะหายขาดเป็นปกติได้ ใช้เวลากินยาแล้วแต่ร่ายกายของผู้ป่วยแต่ละคน อาจใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ และหากผู้ป่วยเป็นสามีภรรยากันก็ควรรักษาไปพร้อมกันเลยค่ะ การรักษาโรคนี้อาจหายได้ แต่อย่างไรแล้วควรจะทำการตรวจเรื่อยๆ ทุก 3 เดือนจนกว่าจะครบ 3 ปี เพราะบางทีอาจจะมีเชื้อบางตัวแอบแฝงอยู่ ในขณะที่เป็นโรคนี้อยู่ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และควรงดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเพื่อป้องการเชื้อโรคไปติดผู้อื่นค่ะ

การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิส

การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งและไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยจนเกินไป สำหรับผู้ที่จะแต่งงานควรพากันไปตรวจร่างกายก่อน เพราะถ้าพบเชื้อนี้จะได้รักษาให้หายขาดก่อนแต่งงานหรือก่อนที่จะตั้งครรภ์ค่ะ

เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular